การดูแลสุขภาพด้วยระบบอัจฉริยะเป็นกระแสใหม่ที่กำลังมาแรงในแวดวงการดูแลสุขภาพทั่วโลก ซึ่งไต้หวันก็ได้พัฒนาการดูแลสุขภาพอัจฉริยะมาเป็นเวลาหลายปี อย่างไรก็ดี ไต้หวันก็ยังคงเผชิญกับความท้าทายมากมายเช่นเดียวกับไทย ประเด็นหลัก ๆ ของการประชุมประจำปีนี้ จึงเน้นไปที่เรื่องของนวัตกรรมและความท้าทายในยุคใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพด้วยระบบอัจฉริยะ อีกทั้งยังมีการแบ่งปันประสบการณ์และความท้าทายที่เกิดขึ้นจากการผลักดันการดูแลสุขภาพแบบอัจฉริยะในไต้หวันและไทยอีกด้วย เช่น การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในอุตสาหกรรมการแพทย์ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 ของไทย การประชุมครั้งนี้จึงเพียบพร้อมไปด้วยหัวข้อและประเด็นที่น่าสนใจมากมาย และมีความสำคัญต่อการพัฒนาวงการการดูแลสุขภาพเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งยังเป็นเรื่องที่มีประโยชน์และใกล้ตัวทุกๆ คน
การประชุมครั้งนี้จะเป็นการรวมตัวกันของเหล่าผู้เชี่ยวชาญจากวงการแพทย์และการดูแลสุขภาพทั้งจากไต้หวันและไทย ซึ่งรวมถึงเหล่ามืออาชีพด้านการแพทย์ การดูแลสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ บรรดาผู้บริหารและผู้ประกอบการด้านการแพทย์ ตัวแทนจากภาครัฐและเอกชน คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 150 ราย ส่วนวิทยากรในงานเป็นวิทยากรทั้งจากไต้หวันและไทย โดยมี ดร. กัว โส่วเหริน หนึ่งในคณะผู้อำนวยการของ CCH นำทีมคณะวิทยากรจากไต้หวัน เช่น ดร.สวี่ หมิงฮุย ที่ปรึกษาแห่งกระทรวงสุขภาพและสวัสดิการไต้หวัน และดร.หลี่ กั๋วเหวย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหยวนหลินคริสเตียนมาร่วมงานประชุม ส่วนวิทยากรจากไทยประกอบด้วย ดร.พลวรรธน์ วิทูรกลชิต ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของกระทรวงสาธารสุข และดร.อภิชัย ไชยโรจน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาล BNH
ในโอกาสนี้ วิทยากรทั้งจากไต้หวันและไทยได้มาพร้อมกับหัวข้อเสวนาที่น่าสนใจมากมาย อาทิ การเสวนาเรื่อง "ความท้าทายจากการเปลี่ยนผ่านสู่การดูแลสุขภาพแบบอัจฉริยะ" ดำเนินรายการโดยดร.หลี่ กั๋วเหว่ย ผู้บริหารโรงพยาบาลหยวนหลินคริสเตียน ซึ่งเป็นการพูดถึงปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในวงการการดูแลสุขภาพแบบอัจฉริยะทั้งในไต้หวันและไทย และการเสวนาเรื่อง "การนำเทคโนโลยีระดับนวัตกรรมมาปรับใช้ในการให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ" ดำเนินรายการโดย ดร. อภิชัย ไชยโรจน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาล BNH ซึ่งเป็นการเสวนาเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีสร้างสรรค์ไปใช้กับการบริหารและจัดการโรงพยาบาล โดยมีผู้บริหารโรงพยาบาลต่าง ๆ ในไทยเป็นผู้ร่วมการเสวนาในหัวข้อนี้
ส่วนอีกหนึ่งสีสันของงานประชุมครั้งนี้ก็คือ การจัดแสดงสินค้าและบริการด้านการดูแลสุขภาพอัจฉริยะ โดยมีบริษัทจากไต้หวันรวม 10 แห่งที่จะมาร่วมจัดบูธเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีอัจฉริยะใหม่ล่าสุดของบริษัท ซึ่งบริษัททั้ง 10 แห่งประกอบด้วย บริษัท ACRO Biomedical Co., Ltd. บริษัท BIONIME บริษัท Chriskey Biomedical Technology Corporation บริษัท eZoom Information, Inc. บริษัท HIWIN Technologies Corp. บริษัท Holding TOP INFO. CO., Ltd. บริษัท imedtac Co., Ltd. บริษัท Medimaging Integrated Solution Inc. (MiiS) และบริษัท New Kinpo Group, Q.S. Control Corp ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีสุดล้ำที่สามารถนำไปใช้ในการดูแลสุขภาพรวมถึง หุ่นยนต์เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์(AI)รุ่นใหม่ของบริษัท New Kinpo Group ที่มาพร้อมกับระบบจดจำใบหน้าและคำพูด และลูกเล่นอื่น ๆ ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการ ซึ่งจะสามารถช่วยสนับสนุนงานบริการที่เคาน์เตอร์ได้เป็นอย่างดี และหุ่นยนต์ให้บริการของบริษัท imedtac ที่สามารถโต้ตอบกับมนุษย์ได้ด้วยคำพูด อีกทั้งยังมีระบบนำทางภายในอาคารด้วย หรือแม้กระทั่งหุ่นยนต์ผ่าตัดของบริษัท HIWIN ซึ่งจะถูกนำมาจัดแสดงในฐานะเทคโนโลยีล่าสุดสำหรับวงการการดูแลสุขภาพแบบอัจฉริยะ
ทั้งหมดที่กล่าวไปนี้ได้สะท้อนให้เห็นว่า งานประชุมการดูแลสุขภาพอัจฉริยะไต้หวัน-ไทยประจำปี 2561 เป็นงานที่สำคัญและเป็นประโยชน์แก่หลายภาคส่วน และไม่ได้ถูกจัดขึ้นบ่อยนักในประเทศไทย งานครั้งนี้ยังถือเป็นโอกาสอันดีสำหรับการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพแบบอัจฉริยะและเหมาะสำหรับการจับคู่และติดต่อกันทางธุรกิจเป็นอย่างยิ่ง นับเป็นอีกงานที่ไม่ควรพลาด ผู้ที่มีความสนใจที่จะเข้าร่วมงานสามารถลงทะเบียนได้ที่ลิงค์ https://vtgo.io/ttshc18W
ข้อมูลเกี่ยวกับงานประชุม
วันที่: วันอังคารที่ 28 สิงหาคม 2561
เวลา: 08:30 - 17:30
สถานที่: ห้องบอลรูม I & II โรงแรมเชอราตัน แกรนด์ สุขุมวิท กรุงเทพมหานครฯ
เว็บไซต์: https://ttshc.visionthai.net/
ลิงค์สำหรับลงทะเบียน: https://vtgo.io/ttshc18W
ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชน กรุณาติดต่อ
VISION THAI
เกี่ยวกับ VISION THAI
VISION THAI คือสื่อภาษาจีนเกี่ยวกับประเทศไทยที่ทรงอิทธิพลที่สุด มีจุดเด่นด้านส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (UI) ที่ใช้งานง่ายและเป็นมิตรกับผู้ใช้ รวมถึงช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย มอบข้อมูลภาษาจีนคุณภาพสูงแก่กลุ่มเป้าหมายในจีน ฮ่องกง ไต้หวัน มาเลเซีย นำเสนอมุมมองใหม่เกี่ยวกับประเทศไทย พร้อมกันนั้นยังทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมต่อลูกค้าไทยที่ต้องการเข้าสู่ตลาดผู้ใช้ภาษาจีนอีกด้วย