กยท. เปิดโต๊ะเจรจาร่วมสถาบันเกษตรกรฯ เปิดล็อตแรกขายยางแผ่นรมควัน 3,000 ตัน

พุธ ๒๒ สิงหาคม ๒๐๑๘ ๑๐:๒๐
เมื่อเร็วๆนี้ กยท. จัดประชุมการพัฒนาการค้า การลงทุน สำหรับผู้ผลิตและแปรรูปยางแผ่นรมควัน มีผู้แทนจากสถาบันเกษตรกรฯ ภาคใต้ จำนวน 27 สถาบัน เข้าร่วม กยท.พร้อมรับฟังความเห็นและทำความเข้าใจในเรื่องการตลาด ราคา และต้นทุนในการผลิต ณ ห้องประชุมการยางแห่งประเทศไทย จ. ตรัง

นายเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ รักษาการผู้ว่าการ กยท. กล่าวว่า การประชุมการพัฒนาการค้า การลงทุน สำหรับผู้ผลิตและแปรรูปยางแผ่นรมควัน ระหว่าง กยท. และสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางภาคใต้ จำนวน 27 สถาบัน เป็นการหารือถึงแนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อดำเนินการค้าร่วมกัน ในการรวบรวมยางของเกษตรกรชาวสวนยางที่อยู่ในกลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มสถาบันเกษตรกรผู้ผลิตยางแผ่นรมควัน ทั้งยางแผ่นรมควัน มาตรฐาน GMP หรือยางแผ่นรมควันทั่วไป เพื่อขายให้ผู้ค้าต่างประเทศโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นโรงงานหรือผู้ซื้อในฐานะพ่อค้าคนกลาง ทั้งนี้ เพื่อระดมความคิดและทำความเข้าใจ ในเรื่องกำลังการผลิต การขนส่ง และต้นทุน ซึ่ง กยท. จะเป็นผู้แทนในการรวบรวมยาง เพื่อส่งให้ผู้ค้าจากต่างประเทศ และทำหน้าที่วิเคราะห์สถานการณ์ตลาด ราคายาง ให้สามารถซื้อขายยางในแต่ละช่วงเวลาของปีได้อย่างเหมาะสม ผลักดันให้ราคายางสูงขึ้นในราคาที่เกษตรกรชาวสวนยางคุ้มการลงทุน

นายเยี่ยม กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนการเปิดซื้อขายล็อตแรก จะเป็นยางแท่ง STR20 โดย กยท. มีโรงงาน 4,5 และ 6 ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รับซื้อยางก้อนถ้วยจากเกษตรกรในพื้นที่เพื่อนำมาผลิต ซึ่งขณะนี้ได้มีบริษัทจากประเทศจีนติดต่อขอซื้อมาจำนวน 2,000 ตัน และทางภาคใต้ซึ่งเกษตรกรมีการผลิตยางแผ่นรมควันเป็นส่วนใหญ่ ขณะนี้ก็มีบริษัทจากจีนติดต่อมาซึ่งให้ความสนใจสั่งซื้อยางแผ่นรมควัน ปริมาณ3,000 ตัน ในโอกาสนี้จึงได้มาทำความเข้าใจในเรื่องของยางแผ่นรมควัน ทั้งแบบธรรมดาและแบบที่ผ่านมาตรฐาน GMP ที่หลายคนอาจยังไม่เข้าใจว่าหัวใจสำคัญของการทำยางแผ่นรมควัน GMP จะได้ประโยชน์อย่างไร เพราะที่ผ่านมาหลายคนคิดว่าการทำยางแผ่น มาตรฐาน GMP จะเพิ่มขั้นตอนการทำงาน ต้องลงทุนมากขึ้นในการปรับเปลี่ยนโรงงาน แต่หากเข้าใจในขั้นตอนอย่างแท้จริงจะทราบว่า การทำยางแผ่น GMP จะสามารถลดต้นทุนการผลิตในระยะยาว เพราะจะได้ยางแผ่นที่มีมาตรฐานเดียวกันและสามารถขายได้ในราคาที่เหมาะสมเท่ากันทุกแผ่นโดยไม่จำเป็นต้องมาคัดชั้นอีก

"กยท. มองว่าการขายยางที่มีคุณภาพให้กับผู้ใช้โดยตรงเป็นเรื่องที่ดี โดย กยท.ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการรักษาเสถียรภาพราคายาง ทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ จะเป็นผู้แทนในการรวบรวมและตรวจสอบมาตรฐานยางก่อนถึงมือผู้ซื้อ ซึ่งหากทำได้ต่อไปราคายางก็จะมีเสถียรภาพ และมีการแข่งขันในเรื่องของราคามากยิ่งขึ้น จะสามารถกำหนดราคาขายเองได้โดยไม่ต้องอิงตลาดภายนอก เช่น ตลาดเซี่ยงไฮ้ ตลาดโตคอม ตลาดไซคอม อีกต่อไป โดยในครั้งนี้ กยท.จะเสนอขายยางในราคา F.O.B ที่มีพื้นฐานจากต้นทุนการผลิตของชาวสวนยางที่แท้จริงบวกกำไรที่เหมาะสมเป็นธรรมต่อเกษตรกรชาวสวนยาง ซึ่งเป้าหมายการร่วมค้าระหว่าง กยท. และสถาบันเกษตรกรเพื่อให้สามารถขายได้ในราคาเป็นธรรมในระยะยาว โดยความร่วมมือของสมาชิกของสหกรณ์จะต้องมีความเข้มแข็ง เพราะการลงทุนทำธุรกิจย่อมมีความเสี่ยง แต่ถ้าหากการบริหารจัดการที่ดีจะสามารถประสบความสำเร็จได้" รักษาการผู้ว่าการ กยท. กล่าวทิ้งท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ