ธรรมศาสตร์เปิด “งานวิจัยเพื่อให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายของบางกอกคลินิกนิติธรรมศาสตร์” เสนอแนะทุกภาคส่วนที่ดูแลคนไร้สัญชาติที่ตกเป็นคนต่างด้าวเทียมในไทย

จันทร์ ๒๗ สิงหาคม ๒๐๑๘ ๑๖:๔๑
- ธรรมศาสตร์ จัดงานเสวนา "การจัดการสิทธิอันจำเป็นของทายาทรุ่นสองจากเมียนมา ผ่านกรณีศึกษา หม่อง ทองดี" เปิดพื้นที่การเรียนรู้ สะท้อนปัญหาผู้ไร้สัญชาติ

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิด "งานวิจัยเพื่อให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายของบางกอกคลินิกนิติธรรมศาสตร์" เพื่อเสนอแนะทุกภาคส่วนที่ดูแล คนไร้สัญชาติหรือทายาทรุ่นสองของผู้อพยพ ผู้มีปัญหาด้านกฎหมายและสิทธิในประเทศไทย จนตกเป็นคนต่างด้าวเทียมในประเทศไทย โดยเจ้าของปัญหาที่เป็นกรณีศึกษาจากการวิจัย ตลอดจนผู้สนับสนุนทางสังคม นักกฎหมาย และผู้รักษาการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ มธ.จัดเวทีเสวนา "การจัดการสิทธิอันจำเป็นของทายาทรุ่นสองจากเมียนมา ผ่านกรณีศึกษา หม่อง ทองดี" เพื่อทบทวนองค์ความรู้ ในการจัดการสิทธิอันจำเป็นของผู้ไร้สัญชาติ ซึ่งมีปัญหาการรับรองสถานะบุคคลตามกฎหมาย อันจะนำไปสู่การปฏิรูปกฎหมายและนโยบายของรัฐไทยเพื่อดูแลเด็กและเยาวชน ซึ่งเกิดจากบุพการีต่างด้าวที่อพยพจากรัฐต่างประเทศ ตลอดจน สร้างความตระหนักรู้ทางกฎหมายในการจัดการสิทธิอันจำเป็นของเหล่าเจ้าของปัญหาและภาคที่เกี่ยวข้อง เมื่อเร็ว ๆ นี้ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่งานสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โทรศัพท์ 02-564-4493 หรือเว็บไซต์ www.tu.ac.th/news

รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนจิตรา อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) และนักวิชาการด้านสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า เราย่อมตระหนักได้ว่า ในประเทศไทย บุคคลที่มีปัญหาการรับรองสถานะบุคคลตามกฎหมาย ซึ่งอาจจะเป็น "คนไร้รัฐไร้สัญชาติ" หรือ "คนเสมือนไร้รัฐไร้สัญชาติ" จำนวนมากที่สุดมาจากสหภาพเมียนมา เพราะผู้อพยพจากเมียนมาในราว พ.ศ.2530 - 2540 มักเป็นคนไร้รัฐไร้สัญชาติ เนื่องจากความไม่สงบในประเทศไทย ตลอดจนความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในเมียนมา ทำให้การจดทะเบียนคนเกิดในทะเบียนราษฎรเมียนมาเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ และเมื่อบุตรหลานมาเกิดในประเทศไทย ทายาทรุ่นสองนี้ก็มักตกเป็นคนไร้รัฐโดยสิ้นเชิง หากเกิดนอกโรงพยาบาล ในขณะที่ทายาทกลุ่มที่เกิดในโรงพยาบาล แม้จะเป็นผู้มีรัฐ แต่ยังคงประสบปัญหาความไร้สัญชาติ

"หม่อง ทองดี" เป็นตัวอย่างหนึ่งของบุตรหรือทายาทรุ่นที่สอง ที่เกิดในประเทศไทยจากผู้อพยพจากประเทศเมียนมา ในช่วงเวลาที่เกิดความไม่สงบในประเทศดังกล่าว แต่เป็นการเกิดนอกโรงพยาบาล เขาจึงตกเป็นคนไร้รัฐไร้สัญชาติโดยสิ้นเชิง แต่อย่างไรก็ตาม เมื่ออำเภอไชยปราการได้ทำหนังสือรับรองสถานที่เกิดให้แก่เขาในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ.2551 ตามคำขอของบิดาของเขา จึงเป็นการจดทะเบียนคนเกิดย้อนหลัง เขาจึงมีสถานะเป็นคนในทะเบียนราษฎรซึ่งเกิดในประเทศไทย แต่ยังตกเป็นคนไร้สัญชาติ เพราะไม่อาจสืบสิทธิในสัญชาติตามบิดาและมารดาที่เป็นผู้มีสถานะคนไร้รัฐ และเมื่อบุพการีไม่มีเอกสารรับรองสถานะคนสัญชาติของรัฐใดรัฐหนึ่ง และเป็นคนเข้าเมืองไทยแบบผิดกฎหมาย การกำหนดสิทธิในสัญชาติโดยหลักสืบสายโลหิตก็จะทำไม่ได้ ในขณะที่การใช้สิทธิในสัญชาติไทยก็ทำไม่ได้เช่นกัน เพราะกฎหมายไทยว่าด้วยสัญชาติไทยรับรองสิทธิในสัญชาติไทยให้แก่บุตรที่เกิดในประเทศไทยของผู้อพยพจากเมียนมา "แบบมีเงื่อนไข" กล่าวคือ หากไม่มีมติคณะรัฐมนตรีกำหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ใช้สิทธิในสัญชาติไทย คนดังกล่าวก็จะไม่อาจใช้สิทธิในสัญชาติไทยได้เลย คนดังกล่าวจึงประสบปัญหาความไร้สัญชาติ ตกเป็นคนไร้สัญชาติที่เกิดในประเทศไทย

รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กล่าวเสริมว่า อย่างที่เราทราบกันดีว่าเมื่อปลาย พ.ศ.2552 "น้องหม่อง ทองดี" ในขณะนั้นถูกปฏิเสธสิทธิเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น เพื่อเข้าร่วมการแข่งร่อนเครื่องบินกระดาษพับ ตลอดจนมีปัญหาทางกฎหมายอีกหลายประการ ซึ่งปัญหาดังกล่าวเริ่มมีการคลี่คลายไปในทางที่ดีโดยการช่วยเหลือของ "บางกอกคลินิกนิติธรรมศาสตร์" ซึ่งรับผิดชอบดูแลให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่น้องหม่องมาตลอดกว่า 10 ปี จนนำไปสู่การทำงานวิจัยหัวข้อ "ต้นแบบการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย" แก่บุตรที่เกิดในประเทศไทยของคนต่างด้าวที่อพยพย้ายถิ่นเข้ามาตั้งรกรากในประเทศไทย หรือ "ทายาทรุ่นสองของผู้อพยพ (Second Generation of Migrant People)"

ด้วยองค์ความรู้จากการศึกษาวิจัยเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่คนที่มีปัญหาการรับรองสถานะบุคคลตามกฎหมาย เป็นงานสำคัญหนึ่งในสิ่งที่นักวิชาการในประชาคมวิชาการธรรมศาสตร์ทำมาอย่างช้านาน เราจึงมีความรู้และทักษะในการจัดการสิทธิอันจำเป็นของมนุษย์ที่ตกอยู่ในสถานการณ์ความไร้รัฐไร้สัญชาติ ดังนั้น "บางกอกคลินิกนิติธรรมศาสตร์" จึงพร้อมและมีความมุ่งมั่นในการช่วยเหลือผู้ที่ยังคงประสบปัญหา "ไร้สัญชาติหรือเสมือนไร้สัญชาติ" อย่างสุดความสามารถ เพียงแต่ยังคงติดปัญหาใหญ่ประการหนึ่ง คือการไม่สามารถทราบได้ว่าผู้ใดบ้างที่ประสบปัญหาดังกล่าวอยู่บ้าง จึงไม่สามารถติดตามตัวและดำเนินการเพื่อคลี่คลายปัญหาได้ รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กล่าวต่อ

อย่างไรก็ตาม ด้วยความมุ่งมั่นของ "บางกอกคลินิกนิติธรรมศาสตร์" จึงได้ร่วมมือกับหลายภาคส่วนทั้งองค์กรรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปัญหาด้านสัญชาติและการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน ตลอดจนสื่อมวลชนจากหลายสำนัก ในการจัดงานเสวนาธรรมศาสตร์สู่สังคมครั้งที่ 4 เรื่อง "การจัดการสิทธิอันจำเป็นของทายาทรุ่นสองจากเมียนมาผ่านกรณีศึกษา หม่อง ทองดี" ที่เปรียบเสมือนพื้นที่การเรียนรู้และสร้างความเข้าใจในอีกหลากหลายมิติที่ยังคงเข้าใจผิด ตลอดจนเพื่อทบทวนองค์ความรู้ ในการจัดการสิทธิอันจำเป็นของผู้ไร้สัญชาติ ซึ่งมีปัญหาการรับรองสถานะบุคคลตามกฎหมาย อันจะนำไปสู่การปฏิรูปกฎหมายและนโยบายของรัฐไทยเพื่อดูแลเด็กและเยาวชน ซึ่งเกิดจากบุพการีต่างด้าวที่อพยพจากรัฐต่างประเทศ นอกจากนี้ งานเสวนาดังกล่าวยังคงเปรียบเสมือนกระบอกเสียง เพื่อส่งต่อไปให้ถึงทายาทรุ่นสองของผู้อพยพ ที่ประสบปัญหาไร้สัญชาติในไทย ให้เข้ามาร่วม "รักษา" ปัญหาและอุปสรรคด้านสิทธิและข้อกฎหมายที่ต้องพบเจอ ตลอดจนเป็นพื้นที่ในการรับฟังปัญหาต่าง ๆ ของคนกลุ่มนี้ ที่อาจเป็นปัญหาใหม่และไม่เคยพบเจอมาก่อน เพื่อการหาแนวทางในการแก้ไขร่วมกัน รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กล่าวทิ้งท้าย

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดงานเสวนาธรรมศาสตร์สู่สังคมครั้งที่ 4 เรื่อง "การจัดการสิทธิอันจำเป็นของทายาทรุ่นสองจากเมียนมาผ่านกรณีศึกษา หม่อง ทองดี" เพื่อทบทวนองค์ความรู้ ในการจัดการสิทธิอันจำเป็นของผู้ไร้สัญชาติ ซึ่งมีปัญหาการรับรองสถานะบุคคลตามกฎหมาย อันจะนำไปสู่การปฏิรูปกฎหมายและนโยบายของรัฐไทยเพื่อดูแลเด็กและเยาวชน ซึ่งเกิดจากบุพการีต่างด้าวที่อพยพจากรัฐต่างประเทศ ตลอดจนเป็นกระบอกเสียงให้ผู้ประสบปัญหาดังกล่าวร่วมเข้าคลี่คลายปัญหา เข้าร่วมเสวนาโดย กลุ่มทายาทรุ่นสองจากเมียนมา จีน และสหรัฐอเมริกา นักกฎหมาย สื่อมวลชน องค์กรรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง อาทิ นายหม่อง ทองดี ต้นแบบการวิจัยให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย ตลอดจน คนไร้สัญชาติในสถานการณ์เดียวกันอีก 3 คน เมื่อเร็ว ๆ นี้ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยมีนักศึกษา คณาจารย์ ตลอดจนผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่งานสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โทรศัพท์ 02-564-4493 หรือเว็บไซต์ www.tu.ac.th/news

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๐ คปภ. เปิดตัวคู่มือการทำประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR) และการประกันอัคคีภัย แนะแนวทางการกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยอย่างเหมาะสม
๑๖:๒๖ SiteMinder เผย โรงแรมไทยเติบโต ก้าวเป็นผู้นำตลาด หลังนักท่องเที่ยวต่างชาติหลั่งไหลเข้าประเทศ
๑๗:๕๙ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งให้การต้อนรับ เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ณ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พลับพลาไชย กรุงเทพฯ
๑๖:๐๐ fintips by ttb เผยเคล็ดลับ รถใหม่ป้ายแดงหรือรถมือสอง เลือกแบบไหนให้เหมาะกับเราที่สุด
๑๖:๐๐ มาแล้ว! เปิดตัว Samsung Galaxy S25 ซีรีส์ใหม่ล่าสุด มาพร้อม Galaxy AI ผู้ช่วยส่วนตัวคนใหม่ของคนไทย ตอบโจทย์รู้ใจทุกความต้องการเฉพาะคน
๑๖:๐๐ กทม. เดินหน้ากำจัดปลาหมอคางดำ ลดผลกระทบเกษตรกร-แปรรูปสร้างรายได้
๑๖:๐๐ เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ พระราม 9 ร่วมฉลองเทศกาลตรุษจีนยิ่งใหญ่ Chinese Market 2025 ช้อปสินค้ามงคล เสริมดวงโชคดีมั่งมี
๑๖:๐๐ SNPS ต้อนรับ คณะผู้บริหารและนักวิจัยสภากาชาดไทย
๑๕:๒๔ BEST Supply Chain ยกระดับจัดการคลังสินค้ายุคใหม่ ชู BEST Fulfillment เพิ่มประสิทธิภาพจัดการสินค้า จบครบในที่เดียว
๑๕:๐๐ เด็กซ์ซอนผนึกกำลังภาคีเครือข่าย TCCA ตอกย้ำความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืน มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero