กรมส่งเสริมสหกรณ์ สรุปภาพรวมความสำเร็จโครงการธนาคารสินค้าเกษตรของสหกรณ์ทั่วประเทศ ช่วยเกษตรกรลดต้นทุนการผลิตลงกว่า 17 %

อังคาร ๒๘ สิงหาคม ๒๐๑๘ ๑๒:๑๗
กรมส่งเสริมสหกรณ์เผยผลสำเร็จการขับเคลื่อนโครงการธนาคารสินค้าเกษตรของสหกรณ์ 200 แห่งทั่วประเทศ เผยช่วยเกษตรกรลดต้นทุนการผลิตได้ 17% คาดขยายผลส่งเสริมเกษตรกรจนกว่าจะสามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายที่กำหนด

นายเชิดชัย พรหมแก้ว รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ สรุปผลความก้าวหน้าโครงการธนาคารสินค้าเกษตร ซึ่งเป็นนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มอบหมายให้ดำเนินการตั้งแต่ปี 2560 ว่า โครงการดังกล่าวมีเป้าหมายยกระดับธนาคารสินค้าเกษตรให้สามารถบริการได้หลากหลาย โดยให้ธนาคารเปิดบริการรับฝาก ถอน ให้ยืม แลกเปลี่ยนปัจจัยการผลิต อุกปกรณ์การเกษตร การตลาด รวมถึงสินค้าอุปโภคและบริโภคเพื่อให้บริการแก่สมาชิก ซึ่งปีนี้เป็นปีที่ 2ที่กรมส่งเสริมสหกรณ์และอีก 5 หน่วยงานร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว จากการประเมินผลสำเร็จของโครงการนี้ พบว่า ธนาคารสินค้าเกษตรเป็นโครงการที่ดีสามารถช่วยเกษตรกรลดต้นทุนในการผลิตพืชผลทางการเกษตรได้เป็นอย่างดี ซึ่งได้ตั้งเป้าว่าจะต้องลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรในแต่ละอาชีพให้ได้ 20% แต่ขณะนี้แล้ว 17% และจะพัฒนาต่อยอดต่อไป

ทั้งนี้ ในการใช้บริการธนาคารสินค้าเกษตร ต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าธรรมเนียมรายปี เพื่อแจ้งความประสงค์ในการเข้าร่วมกิจกรรมจึงจะใช้บริการได้ ซึ่งในภาพรวมถือว่าโครงการนี้ประสบความสำเร็จอยู่ใน เกิน 80% โดยวัดจากเป้าหมายของการใช้บริการและความพึงพอใจของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกที่มาใช้บริการ ส่งผลทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ ซึ่งทุกอย่างเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ต้องการให้สหกรณ์มีความเข้มแข็งช่วยสนับสนุนสมาชิกลดต้นทุนการผลิต และเข้าถึงปัจจัยการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังสามารถเสริมสร้างในด้านอื่น ๆ ด้วย เมื่อเกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ ก็ช่วยให้มีรายได้เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งเป็นเหตุและผลไปพร้อม ๆ กัน

ส่วนปัญหาอุปสรรคเท่าที่พบคือต้องส่งเสริมการให้บริการแก่เกษตรกรมากขึ้น บางธนาคารต้องพึ่งพางบประมาณซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด เช่น ธนาคารปุ๋ยอินทรีย์ ต้องไปซื้อน้ำยาทำปุ๋ย ธนาคารประมง ต้องซื้อพันธุ์ปลา มาเพาะเลี้ยง ธนาคารโคกระบือ ต้องไปซื้อโคกระบือ ขณะที่ปัญหาอุปสรรคที่สำคัญอีกหนึ่งเรื่อง คือ คนภายนอกมองว่าเกษตรกรทุกคนไม่ได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง ทั้งที่ความจริงแล้วเกษตรกรจะต้องเข้ามาเป็นสมาชิกและเข้ามาทำกิจกรรมร่วมกันก่อนจึงจะเข้ามาใช้บริการได้ ซึ่งมีขั้นตอนการปฏิบัติชัดเจน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีการจัดตั้งแล้ว 7 ธนาคาร ประกอบด้วย ธนาคารปุ๋ยอินทรีย์ ธนาคารโคกระบือเพื่อเกษตรกร ธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน ธนาคารโคนมทดแทน ธนาคารข้าวในสถาบันเกษตรกร ธนาคารหม่อนไหม และธนาคารประมง ซึ่งแต่ละกรมฯจะดูแลในส่วนของตัวเอง ส่วนธนาคารสินค้าการเกษตรขณะนี้มีทั้งหมด 200 แห่งทั่วประเทศ แต่ละปีจะขยายผลไปเรื่อย ๆ ขึ้นอยู่กับว่า เมื่อเจ้าหน้าที่เข้าไปส่งเสริมในสหกรณ์แล้วจะมีผู้สนใจหรือไม่ ถ้ามีผู้สนใจเขาก็ไปส่งเสริมให้ทำแล้วก็ขยายผลต่อยอดให้เพิ่มขึ้น

สำหรับกิจกรรมของธนาคารยังดำเนินการอย่างต่อเนื่องไป ปัจจุบันโครงการเริ่มนิ่งและเดินต่อไปได้ ไม่มีสิ่งที่น่ากังวล แต่อาจจะมีการขยายเพิ่มขึ้น เพราะในเบื้องต้นที่เริ่มทำกิจกรรม ก็ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องออกไปให้คำแนะนำให้ความรู้กับสมาชิก เมื่อรวมตัวเป็นกลุ่มแล้ว ก็พัฒนาให้เป็นต้นแบบเพื่อให้เกษตรกรรายอื่น ๆ มาศึกษาดูงาน ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์เพื่อให้เกิดการขยายตัวกว้างขึ้น โดยที่ส่วนราชการเพียงแค่ทำหน้าที่ในการสนับสนุนแนะนำเท่านั้น ที่เหลือให้เกษตรกรเชื่อมโยงพึ่งพาอาศัยกันเอง ถือว่าโครงการนี้ตอบโจทย์คุณภาพชีวิตของเกษตรกรอย่างแท้จริง และทำให้เกษตรกรได้มีการดูแลซึ่งกันและกันและส่งเสริมให้สหกรณ์เป็นที่พึ่งพาของเกษตรกร โดยจะขับเคลื่อนนโยบายนี้อย่างต่อเนื่องและกำหนดเป็นแผนงานปกติของหน่วยงานต่าง ๆ ต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๓๘ บางจากฯ ร่วมสร้างสีสัน ส่งต่อสุขภาพดี ชวน เมย์ รัชนก ร่วมแข่งกีฬา Econmass Sport Day 2024
๑๖:๐๐ จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม เอิ้นหาพี่น้องโค้งสุดท้าย! ชวนมาม่วนซื่นส่งท้ายปี สูดอากาศดีกลางทุ่งดอกไม้บาน ชมงานศิลป์สุดอลัง พร้อมกิจกรรมม่วน ๆ ทั้งครอบครัว 2 สัปดาห์สุดท้าย
๑๕:๓๘ MediaTek เปิดตัว Dimensity 8400 ชิป All Big Core รุ่นแรกสำหรับสมาร์ทโฟนพรีเมียม
๑๕:๕๔ เปิด 10 เทรนด์ฮิตชีวิตดิจิทัลปี 2024 ปีแห่งความหลากหลายด้านป๊อปคัลเจอร์ โดย LINE ประเทศไทย
๑๕:๒๕ สุรพงษ์ ส่งมอบความสุข ขยายเวลาให้บริการสายสีแดง ถึง ตี 2 ในคืนเคานต์ดาวน์ เป็นของขวัญปีใหม่มอบให้แก่ประชาชน
๑๕:๐๗ เอ็นไอเอคัด 8 ผู้ประกอบการไทยสายการแพทย์ - สุขภาพ คว้าโอกาสบุกตลาดเยอรมนี - ยุโรป พร้อมโชว์จุดแข็งในงาน Medica 2024 ตอกย้ำไทย
๑๕:๒๖ EGCO Group คว้าหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ปี 2567 ระดับ AA ตอกย้ำความมั่นใจนักลงทุนต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
๑๕:๕๖ เมืองไทยประกันชีวิต จับมือ แมกซ์ โซลูชัน ส่งมอบความสุขและความอุ่นใจ ต้อนรับเทศกาลปีใหม่แก่สมาชิก Max Card ผ่าน กรมธรรม์ประกันภัยปีใหม่สุขกายสุขใจ
๑๕:๔๘ แอสตร้าเซนเนก้า ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) กับ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพื่อขับเคลื่อนการวิจัยทางคลินิกในไทย
๑๕:๓๒ ซีเอ็มเอ็มยู มุ่งผลิตบุคลากรชั้นนำผ่านนวัตกรรมการศึกษาและงานวิจัยระดับโลก พร้อมจุดประกายภาคเศรษฐกิจ - สังคม เปลี่ยนแหล่งเรียนรู้สู่ พาร์ทเนอร์การเรียนรู้