ฝนหลวงฯ เร่งปฏิบัติการเพื่อให้มีปริมาณน้ำต้นทุนเพียงพอต่อการเกษตร

อังคาร ๒๘ สิงหาคม ๒๐๑๘ ๑๕:๑๖
กรมฝนหลวงและการบินเกษตรประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมวิเคราะห์สถานการณ์น้ำรองรับการใช้น้ำเพื่อการเกษตรในอ่างเก็บน้ำที่ยังคงมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอในหลายพื้นที่

วันที่ 28 สิงหาคม 2561 เวลา 12.00 น. นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ (WMSC) ครั้งที่ 24/2561 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม 2561 กรมฝนหลวงและการบินเกษตรได้รับการประสาน ให้เร่งปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักให้กับพื้นที่ลุ่มรับน้ำของเขื่อนและอ่างเก็บน้ำต่างๆ เนื่องจากการตรวจสอบพบว่ายังมีปริมาณแหล่งน้ำในอีกหลายพื้นที่มีไม่เพียงพอต่อการทำการเกษตรของประชาชน ส่วนใหญ่จะมีปริมาณน้ำต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ น้ำต้นทุนไม่เพียงพอสำหรับหล่อเลี้ยงพืชที่กำลังจะให้ผลผลิตอย่างทั่วถึง โดยเขื่อนและอ่างเก็บน้ำที่มีความจำเป็นต้องเพิ่มปริมาณน้ำ อาทิ พื้นที่เขื่อนแม่กวงอุดมธารา จ.เชียงใหม่ เขื่อนลำแซะ เขื่อนลำตะคอง เขื่อนลำปลายมาศ จ.นครราชสีมา เขื่อนลำนางรอง จ.บุรีรัมย์ อ่างเก็บน้ำทับเสลา และอ่างห้วยยาง จ.สระแก้ว นอกจากนี้ได้พบปัญหาการ ขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคและการเกษตร ในพื้นที่ท้ายน้ำของเขื่อนจุฬาภรณ์ เนื่องจากไม่สามารถปล่อยน้ำได้เพราะมีโครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำ และในเขต อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด มีปริมาณน้ำไม่เพียงพอจึงต้องบริหารจัดการปล่อยน้ำให้ประชาชนในพื้นที่เป็นช่วงเวลา ทั้งนี้ในที่ประชุมฯ ได้ขอบคุณกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ที่ปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ อ.ท่าตะโก และพื้นที่ใกล้เคียงของ จ.นครสวรรค์ อย่างต่อเนื่องตลอดมา

นายสุรสีห์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า เมื่อวานนี้หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ได้เร่งทำ ฝนหลวงเพื่อหล่อเลี้ยงพื้นที่การเกษตรที่ประสบภัยแล้ง โดยปฏิบัติการฝนหลวง ทั้งสิ้น 7 หน่วย จำนวน 27 เที่ยวบิน (37:45 ชั่วโมงบิน) ใช้สารฝนหลวง จำนวน 22.6 ตัน เพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรตามที่ได้รับการร้องขอที่ อ.ดอยสะเก็ด จ. เชียงใหม่ อ.มัญจาคีรี อ.โคกโพธิ์ไชย อ.ชนบท อ.บ้านไผ่ อ.บ้านแฮด อ.โนนศิลา อ.เปือยน้อย จ.ขอนแก่น อ.โกสุมพิสัย อ.กุดรัง อ.บรบือ อ.นาเชือก อ.นาดูน อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม อ.ชุมพวง อ.เมืองยาง อ.ลำทะเมนชัย จ.นครราชสีมา อ.คูเมือง อ.แคนดง อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ อ.ชุมพลบุรี อ.ท่าตูม อ.จอมพระ อ.รัตนบุรี อ.สนม จ.สุรินทร์ อ.พยัคฆภูมิพิสัย อ.นาตูน จ.มหาสารคาม อ.เกษตรวิสัย อ.ปทุมรัตน์ อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด อ.ลานสัก อ.สว่างอารมณ์ อ.บ้านไร่ อ.ทัพทัน อ.หนองขาหย่าง อ.ห้วยคต อ.เมืองอุทัยธานี จ.อุทัยธานี อ.แม่เปิน อ.แม่วงก์ อ.ชุมตาบง อ.ลาดยาว อ.โกรกพระ อ.พยุหะคีรี อ.เมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ อ.เมืองสุพรรณบุรี อ.อู่ทอง อ.ด่านช้าง อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี อ.หนองมะโมง อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว ทำให้มีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางในพื้นที่เป้าหมาย และสามารถช่วยเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักให้กับพื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จ.เชียงใหม่ อ่างเก็บน้ำทับเสลา จ.อุทัยธานี และอ่างเก็บน้ำห้วยยาง จ.สระแก้ว

อย่างไรก็ตาม กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้มีการติดตามสถานการณ์น้ำและวิเคราะห์สภาพอากาศ ในทุกพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้การบริหารจัดการน้ำมีประสิทธิภาพ ประชาชนและเกษตรกรสามารถแจ้งขอรับบริการฝนหลวงได้ที่ ตัวแทนอาสาสมัครฝนหลวงในแต่ละพื้นที่ หรือแจ้งกับเจ้าหน้าที่ประจำหน่วย/ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงทั้ง 5 ภูมิภาค และสามารถติดตามข่าวสารได้ทาง www.royalrain.go.th เพจ Facebook กรมฝนหลวงและการบินเกษตร และการรายงานข่าวการปฏิบัติการฝนหลวงประจำวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ