ผศ.ดร. นภดล มณีรัตน์ หัวหน้าโครงการ สมาร์ท ซิตี้ สตาร์ท อัพ ดิเวลลอปเม้นท์ กล่าวว่า "การดำเนินโครงการ ฯ ตั้งแต่ปี2560 และมาถึงช่วงเวลาของเดือนกันยายน 2561 เป็นช่วงเวลาของการส่งมอบงานและพร้อมที่จะปฏิบัติการจริง ในโครงการ ฯ มีนักวิจัยที่ได้รับทุน 20 โครงการ ทั้ง 20 โครงการ ที่ได้เปิดบริษัทเพื่อรองรับธุรกิจที่เกิดโครงการนี้แล้ว มีผู้ร่วมลงทุน 10 ราย ส่วนผลงานของทีมนักวิจัยที่เหลือกำลังอยู่ระหว่างการเจรจากับนักลงทุน"
"จากการที่เราได้จัดโครงการ สมาร์ท ซิตี้ สตาร์ท อัพ ฯ นั้น ทำให้เราได้โครงการที่จะพัฒนาเมืองให้เกิดชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ได้โครงการมาทั้งหมด 20 โครงการ ก่อนที่จะเริ่มโครงการวิจัย ทางสถาบันพระจอมเกล้า ฯ ได้ลงพื้นที่ เพื่อสอบถามความต้องการของเมืองว่า แต่ละเมืองต้องการนวัตกรรมอะไร เพื่อที่จะไปใช้ได้จริง จึงคิดโครงการออกมาตามความต้องการ โดยทุกโครงการที่ผ่านการคัดเลือกมามีศักยภาพในการพัฒนาเมือง พัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของคนให้มีชีวิตที่สะดวกสบายยิ่งขึ้น เพื่อลดปัญหาในด้านต่าง ๆ อย่างเช่น โครงการระบบจัดการขยะอันตรายชุมชนอัจฉริยะ เพื่อกำจัดขยะอันตรายอย่างถูกต้อง และปลูกฝังจิตสำนึกเรื่องการแยกขยะ ซึ่งจะมีโจทย์มีจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย โครงการถังขยะฝาเปิดอัตโนมัติปลอดเชื้อโรค เพื่อทำให้ถังขยะมีกลิ่นหอม เพื่อฆ่าเชื้อโรคและทำให้บริเวณที่ทิ้งขยะไม่เป็นที่น่ารังเกียจ โครงการ QUE Q ระบบคิวอิสระสำหรับโรงพยาบาล จองและจัดการคิวผ่านบริการคลาวด์และโมบายแอพลิเคชั่น ช่วยลดความแออัดและเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ โครงการชุดพัฒนาซอร์ฟแวร์และแลกเปลี่ยนข้อมูลตามมาตรฐานแลกเปลี่ยนข้อมูลการประมง ทำทุ่นเพื่อตรวจจับน้ำเสียเพื่อการเพาะเลี้ยงหอยแมลงภู่ โครงการตาคู่ใจ มีโจทย์จากสมาคมคนตาบอด ฯ เพราะอยากให้คนตาบอดใช้ชีวิตโดยที่ไม้ต้องพึ่งพิงคนอื่น และเพื่อก่อการใช้ชีวิตเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม โครงการเมืองอัจฉริยะและปลอดภัยด้วยกล้องวงจรปิดแบบอัจฉริยะด้วยระบบเตือนภัยและระบบสร้างโมเดลวัตถุต้องสงสัย โครงการ เอส ชายด์ S Child ) เป็นกระบวนการแตะบัตรเพื่อนับจำนวนเด็กที่ขึ้นลงจากรถโรงเรียน โครงการตรวจจับมลพิษทางอากาศ และยังมีอีกหลายๆ โครงการที่น่าสนใจ และเหมาะที่ต่อยอดธุรกิจ"
คุณปริญญา วัฒนนุกูลชัย ผู้ก่อตั้งบริษัท อินโนเวชั่น เบรนด์ จำกัด หนึ่งในผู้ร่วมโครงการ สมาร์ท ซิตี้ สตาร์ท อัพ ดิเวลลอปเม้นท์ พร้อมทีมมีความคิดเห็นคล้าย ๆ กับอีกหลาย ๆ ทีมที่เข้าร่วมโครงการ สมาร์ท ซิตี้ สตาร์ท อัพ ที่นำเสนอโครงการเกี่ยวกับการคัดแยกขยะ เพราะต้องการสร้างสิ่งแวดล้อมให้มีคุณภาพดี สิ่งแวดล้อมจะดีได้ ย่อมต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของคนในสังคมที่ร่วมด้วยช่วยกัน จึงนำเสนอโครงการที่เป็นรถรับซื้อบรรจุภัณฑ์เพื่อนำไปรีไซเคิล ที่สามารถรับซื้อบรรจุภัณฑ์ได้ 3 ชนิด ขวดพลาสติก อลูมิเนียม แล้วก็ขวดแก้ว ซึ่งเป็นโมเดลธุรกิจรายแรกของประเทศไทยแล้วก็เป็นรายแรกของเอเชียด้วย
คุณปริญญา วัฒนนุกูลชัย ผู้ก่อตั้งบริษัท อินโนเวชั่น เบรนด์ จำกัด กล่าวว่า "เราได้ทำรถขึ้นมาหนึ่งคันที่มีระบบการรับซื้อขยะ 3 ประเภท เมื่อเราทำรถเสร็จแล้วเราได้ไปทดลองวิ่งที่ชายหาดบางแสน เพราะบางแสนเป็นเครือข่ายของโครงการนี้ และบางแสนเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยว จึงมีเศษขยะบนชายหาด ซึ่งเราพยายามจะเปลี่ยนพฤติกรรมคนให้ทิ้งให้ถูกที่ เพราขยะพวกนี้นำไปรีไซเคิลได้ เมื่อนักท่องเที่ยวเจอรถเราก็จะนำขยะมาทิ้งด้วยวิธีการสแกน เมื่อเครื่องอ่านค่าแล้ว ก็จะบอกว่า ขยะที่ท่านนำมาทิ้งมีมูลค่ากี่บาท ก็รับเงินจากเครื่องไป เพราะเป็นหลักการตลาดของเรา ถ้าเจ้าของบรรจุภัณฑ์อยากให้ราคาของตัวเองสูงกว่าแบรนด์อื่นๆ ก็เข้ามาพุดคุยกัน
ถ้าเป็นขวดพลาสติกกับ อลูมิเนียม เครื่องจะทำการบีบให้เป็นวัตถุชิ้นเล็ก ๆ ขยะที่สามารถทิ้งได้ ก็ต้องมีบาร์โค้ดก่อน ถ้ามีบาร์โค้ดที่ถูกต้องแปลว่าสินค้าที่ดื่มเข้าไปมีเลข อ.ย ถูกต้อง และก่อนทิ้งต้องเทน้ำออกให้หมดก่อน เพราะจะมีผลกับน้ำหนัก เพราะ ในระบบได้คำนวณขวดเปล่าน้ำหนักขวดเปล่าไว้แล้ว กระบวนการทำงานของซาเล้ง 4.0 ไม่ได้หยุดแค่นั้น ทาง อินโนเวชั่น เบรนด์ ต้องนำขยะกับไปขายให้กับผู้รับซื้อหรือผู้ที่รับทำรีไซเคิลก่อนจึงจบกระบวนการ จากการที่เรานำรถไปจอดตามที่ต่าง ๆ ทางบริษัท ก็ไม่มีกำไร แต่เราจะได้รายได้มาจากการที่เราหาสปอนเซอร์มาสนับสนุน ซึ่งมีบริษัทหลายรายสนใจ คาดว่าภายในสิ้นปีนี้คงจะเห็นตู้รับซื้อบรรจุภัณฑ์ตั้งอยู่ตามไฮเปอร์มาร์เก็ตตามหัวเมืองต่าง ๆ
ด้วยความหลากหลายของทีมนักวิจัยที่ทางสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง ได้คัดเลือกมาร่วมโครงการ ทำให้ได้พบนักวิจัยที่มีความชำนาญเรื่องปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งได้นำปัญญาประดิษฐ์มาช่วยผู้ด้อยโอกาสทางการมองเห็น ที่สิจัยขึ้นมาเพื่อให้การใช้ชีวิตที่เท่าเทียมกันในสังคม
นายจารุบุตร อัศวเรืองชัย และ นางสาวกันตินันท์ กิจจาการ ผู้ก่อตั้ง บริษัท เอ.ไอ.เบรน จำกัด และเจ้าของโครงการ ตาคู่ใจ หนึ่งในผู้พัฒนาโครงการภายใต้สมาร์ท ซิตี้ สตาร์ท อัพ ดิเวลลอปเม้นท์ กล่าวว่า "แนวคิดการใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์เพื่อผู้พิการทางสายตานี้ เริ่มมาจากโจทย์จากทางสมาคมคนตาบอดว่า อยากให้คิดสิ่งที่ช่วยคนตาบอดให้ใช้ชีวิตที่เท่าเทียมกับคนตาดีเพื่อความเท่าเทียมกันในสังคม คนตาบอดอยากรู้ว่า วัตถุที่ตั้งอยู่ตรงหน้า เป็นวัตถุอะไร คนที่อยู่ตรงหน้าเป็นใคร ตอนนี้อยู่ที่ไหน รถเมลล์สายไหนมาแล้ว รับธนบัตรมาถูกหรือเปล่า หยิบธนบัตรอะไรออกไปจากกระเป๋า หรือด้านหน้ามีประตูหรือไม่ เพื่อความรู้สึกไม่กังวลในการหยิบจับสิ่งของ และการเดินทางที่ไปไหนมาไหนได้ถูกต้อง ลดอุบัติเหตุในการเดินทาง เช่นจะทราบว่า ประตูทางออก ทางเข้า ลิฟท์ บันได จะได้ไม่ก้าวพลาด และช่วยลดการพึ่งพิงผู้อื่นในการต้องคอยสอบถามว่ารถสายไหนมา ใครที่เดินเข้ามาในห้องแล้ว หรือเราหยิบธนบัตรถูกต้อวหรือไม่ ซึ่งปัจจุบันเวลาคนตาบอดหยิบจับธนบัตรนั้น ก็จะใช้วิธีการลูบคลำ เป็นการฝึกและสอนต่อ ๆ กันมาซึ่งสำหรับคนตาบอดที่ไม่คุ้ยเคย อาจจะมีการหยิบธนบัตรผิดพลาดทำให้ถูกมิจฉาชีพบางกลุ่มโกงได้ ทางทีมงานฯ คือนายจารุบุตร ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านระบบปัญญาประดิษฐ์ มีประสบการณ์ทำระบบปัญญาประดิษฐ์ให้กับองค์กรระดับใหญ่มานาน จึงคิดค้นโครงการตาคู่ใจออกมา เพื่อขอรับการสนับสนุนจากงาน Startup Pitching สมาร์ท ซิตี้ สตาร์ท อัพ ดิเวลลอปเม้นท์"
"การใช้งานของแอพพลิเคชั่นนี้ เป็นการใช้งานผ่านกล้องมือถือ เราใช้กล้องมือถือแทนแทนดวงตา และใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์เป็นเสมือนประสาทตาให้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ และบ่งบอกถึงสิ่งของหรือบุคคลรวมถึงสถานที่เชิงลึกที่อยู่เบื้องหน้า เพราะคนตาบอดก็มีการใช้ชีวิตประจำวันเฉกเช่นเดียวกับคนปกติทั่วไป ต้องมีการนัดประชุม การรับประทานอาหาร การทำงาน การเดินทาง เมื่อจะนัดเจอกัน คนตาบอดก็อยากทราบว่าคนที่นัดมาถึงมาถึงแล้ว หรือหากมีการพลัดหลง ก็อยากจะสามารถสื่อสารบอกเพื่อนได้ว่าขณะนี้กำลังยืนอยู่ตรงจุดไหน ซึ่งในการใช้งาน แอพพลิเคชั่นก็จะทำได้โดยได้จากการเพิ่มรูปเพื่อนและใส่รายละเอียดต่าง ๆ เช่น ชื่อ, กลุ่ม เข้าไปในแอพพลิเคชั่นก่อนเพื่อบันทึกข้อมูลไว้ จากนั้นเมื่อมีการใช้กล้องส่องไปยังบุคคลนั้น แอพพลิเคชั่นก็จะอ่านออกเสียงออกมา สำหรับในกรณีสิ่งของ สถานที่ และฟังก์ชั่นอื่นสามารถใช้งานโดยเปิดกล้องไว้ จากนั้นระบบปัญญาประดิษฐ์จะออกเสียงประเภทของสิ่งของหรือชื่อสถานที่นั้น ๆ เป็นต้น ปัจจุบันฟังก์ชั่นการใช้งาน สามารถใช้ได้ 8 หมวดหมู่ ได้แก่ หน้า รถเมล์ เพื่อน เงิน สัตว์เลี้ยง อาหาร สถานที่ และทั่วไป
กันตินันท์ กิจจาการ กล่าวถึงการใช้งานว่า "ได้นำแอพพลิเคชั่นไปให้คนตาบอดได้ทดลองใช้ ก็ได้ผลตอบรับที่ดีโดยเฉพาะหมวดหมู่ที่ตอบโจทย์มาก ๆ คือสายรถประจำทาง เนื่องจากปัจจุบันทุกครั้งที่เดินทางจำเป็นต้องอาศัยการสอบถามจากบุคคลรอบข้าง เพื่อให้สามารถขึ้นรถโดยสารได้ถูกคันหรือต้องให้ผู้คนรอบข้างคอยบอกว่ารถโดยสารที่ต้องการขึ้นมาถึงแล้ว ทำให้เกิดความรู้สึกว่าต้องพึ่งพาผู้อื่นอยู่เสมอ เมื่อมีแอฟพลิเคชั่นตัวนี้ขึ้นมา ทำให้สะดวกมากขึ้นในการเดินทางด้วยตนเอง ทั้งนั้น ปัจจุบัน แอพพลิเคชั่นกำลังอยู่ในขั้นตอนของการนำขึ้น แอพสโตร์ ( App Store ) มีความตั้งใจไว้ว่าจะพัฒนาแอพพลิเคชั่นนี้ไปถึงการอ่าน อาจจะมีแอพที่เป็นการอ่านโดยที่คนไทยเป็นผู้พัฒนา และทางทีม ฯ คิดไปถึงการอ่านฉลากที่มีสัญลักษณ์ที่ยาก ๆ เพื่อไม่ให้มีการหยิบยาผิด หยิบสารเคมี และอ่านวิธีการใช้ได้ ขณะนี้ได้มีบริษัทเอกชนมาสอบถามถึงการนำแอพนี้ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจอื่น เช่น หากอยากจะให้แอพนี้ช่วยตรวจสอบงานด้าน Inspection ต่าง ๆ เป็นต้น"
"และเมื่อแอพพลิเคชั่นตาคู่ใจ ได้ลงในแอพสโตร์ ( App Store ) จนมีความเสถียรแล้ว ก็จะนำแอพมาลงในแอนดรอยด์ (Android ) เพื่อให้เข้าสู่คนหมู่มากได้และใช้กับผู้สูงอายุได้อีกด้วย" กันตินันท์ กิจจาการ กล่าวตอนท้าย
ผศ.ดร. นภดล มณีรัตน์ กล่าวใสตอนท้าย "หลังจากจบโครงการ ฯ นี้ไปแล้ว ทางสถาบัน ฯ ก็ยังคงทำหน้าที่ให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง หากมีโครงการที่ต้องการปรึกษาก็ยังสามารถที่จะติดต่อเข้ามาทางสถาบันได้ตลอดเวลา"