โซเชียลมีเดีย ถังข้อมูล Big Data ที่แท้จริง

พฤหัส ๓๐ สิงหาคม ๒๐๑๘ ๑๔:๔๔
หากจะพูดถึงปริมาณข้อมูลในโลกโซเชียลในปัจจุบันที่มีปริมาณข้อมูลมหาศาลทั้งภาพถ่าย วีดิโอ และข้อความ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและสิ่งนี้นำไปสู่บิ๊กดาต้า ซึ่งจะต้องมีการบริหารและเตรียมรับมือกับปริมาณรวมถึงข้อมูลของภาครัฐด้วยเพราะจะเชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาและขยายบริการแก่ประชาชน

ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ DGA เปิดเผยว่า มุมมองด้านข้อมูลในโลกดิจิทัลที่ปรากฏการณ์โพสต์บนสื่อโซเชียลมีเดียมีมากมาย ทั้งเหตุการณ์น้ำท่วม เด็กติดในถ้ำ ซึ่งเหตุการณ์มีทั้งข้อมูลที่เป็นภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว ไปจนถึงข้อความที่มีการติดแฮชแท็กซึ่งใน 1 วันมีปริมาณมหาศาล นั่นคือ ข้อมูลบิ๊กดาต้า (Big Data) อย่างแท้จริงเลย เพราะมีทั้งมิติในด้านขนาดของข้อมูลมโหฬารมาก อีกทั้งยังมีความหลากหลายในรูปแบบต่างๆ บางอย่างไม่มีโครงสร้างที่แน่นอนและยังรวมถึงเวลาของข้อมูลนั้นๆ มีนัยสำคัญมากอีกด้วย

สำหรับความยากของการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่หรือบิ๊กดาต้านั้น จากกรณีข้างต้นคือ จะต้องมีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ ตั้งแต่การจัดเก็บ การวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อนำไปสู่การทำความเข้าใจข้อมูลเหล่านี้ที่สามารถตอบโจทย์ปัญหาต่างๆ ได้อย่างตรงจุด ทันท่วงที และนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อจะนำไปสู่การคาดการณ์เหตุการณ์ล่วงหน้าได้และเตรียมแผนรับมือ ลดการสูญเสียและความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นไม่มากก็น้อย

นอกจากนี้ข้อดีของการนำข้อมูลจากสื่อโซเชียล มีเดียมาใช้วิเคราะห์นั้นไม่ยาก เนื่องจากมีระบบรองรับการนำไปต่อยอดอยู่แล้ว แต่สิ่งสำคัญจะต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลให้เหมาะสม ดังนั้นการตรวจสอบข้อมูลจากหลายๆ แหล่ง เพื่อให้แน่ใจว่าข้อเท็จจริงถูกต้องหรือไม่ ถือเป็นหัวใจของการวิเคราะห์ การตีความหมายของข้อมูลที่เป็นภาพ หรือภาพเคลื่อนไหวให้กลายเป็นสารสนเทศที่นำไปใช้ในการวิเคราะห์ต่อที่เหมาะสม จำเป็นต้องมีการพัฒนาแบบจำลอง (Model) ที่มีประสิทธิภาพเพียงพอและใช้ได้ในทุกกรณี เหล่านี้หมายความว่า ต้องมีการเตรียมการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถให้พร้อมด้วย

ทั้งนี้การบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ดังกล่าวจะมีต้องมีการจัดตั้งทีมบิ๊กดาต้าภายในองค์กร เพื่อบริหารจัดการข้อมูลที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญไม่ว่าจะเป็น นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) นักสถิติ ผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ ดังนั้นเมื่อเริ่มใช้ข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับภาครัฐ หัวใจสำคัญคือ การสร้างคนภาครัฐ ให้เข้าใจว่า บิ๊กดาต้าคืออะไร ลำดับต่อมาคือ การวิเคราะห์จากข้อมูลในลักษณะนี้จะนำมาใช้ทำอะไร อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นเป็นการทำ Small Data หรือ Big Data หัวใจที่สำคัญคือความเข้าใจในการนำไปใช้ต่อให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๔๗ เอ. เจ. พลาสท์ คว้า 2 รางวัลใหญ่ จาก SET Awards 2024 และได้รับการประเมิน CGR ดีเลิศ ระดับ 5 ดาว
๑๖:๑๓ เปิดมาตรการ พักหนี้ ลดดอกเบี้ย ช่วยเหลือ SMEs ถูกน้ำท่วมในงาน มันนี่ เอ็กซ์โป 2024 เชียงใหม่
๑๖:๓๙ หน้าหนาวมาเยือน! กรมอนามัยเตือนดูแลสุขภาพให้พร้อม เด็กเล็ก-ผู้สูงอายุเสี่ยงเจ็บป่วยง่าย
๑๖:๕๗ เปิดรันเวย์อวดผลงานไอเดียสร้างสรรค์ของ 5 ผู้ชนะรางวัลทุนการศึกษา จากโครงการ Jaspal Group Scholarship Program
๑๖:๐๘ กิฟฟารีน แนะนำไอเทมเด็ด กิฟฟารีน เอช เอ็ม บี พลัส วิตามินดี 3 สำหรับช่วยดูแลมวลกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
๑๕:๐๑ ไขข้อสงสัย สินเชื่อรถแลกเงินคืออะไร
๑๕:๓๘ ซื้อมอเตอร์ไซค์ ออกรถใหม่ มีขั้นตอนอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง
๑๕:๐๕ ยางขอบ 17 ยี่ห้อไหนดีที่ขับขี่สนุก และยังคงนุ่มสบาย
๑๔:๕๖ heygoody คว้าแชมป์จากเวที Thailand Influencer Awards 2024 ตอกย้ำความเข้าใจลูกค้า Introvert
๑๔:๐๓ เมืองไทยประกันชีวิต คว้า 4 รางวัลใหญ่ระดับสากล ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล และเป็นองค์กรสถานประกอบการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการ