ม.สงขลานครินทร์ ตรังจัดโครงการ "เดิน - วิ่ง พี่ชวนน้องสู่ชุมชน" ประจำปี 2561

จันทร์ ๐๓ กันยายน ๒๐๑๘ ๐๙:๔๔
วันนี้ (2 กันยายน 2561) เวลา 06.00 น. ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง รองศาสตราจารย์ ดร.อุดมผล พืชน์ไพบูลย์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง พร้อมด้วย ดร สิปปกานต์ กลัดสวัสดิ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา วัฒนธรรม และองค์กรสัมพันธ์ วิทยาเขตตรัง นายแพทย์ประพนธ์ โชติกมาศ ประธานชมรมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดตรัง ร่วมพิธีเปิดโครงการประเพณีเดิน - วิ่ง พี่ชวนน้องสู่ชุมชน ประจำปีการศึกษา 2561 จัดโดยงานบริหารจัดการศูนย์กีฬามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง เพื่อต้องการให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกกำลังกายหรือกีฬาเพื่อสุขภาพ ต้องการให้นักศึกษามีความตระหนักและตื่นตัวกับการออกกำลังกาย เล่นกีฬาและใช้เวลาว่าง ทำกิจกรรมนันทนาการ ที่เหมาะสมและสม่ำเสมอ ที่ก่อให้เกิดสุขภาวะที่ดีต่อนักศึกษา และพบปะกับพี่น้องประชาชนในชุมชนใกล้เคียงกับมหาวิทยาลัย เพื่อฝากตัวเป็นลูกหลานและผูกสัมพันธ์กับชุมชน โดยได้วิ่งตามเส้นทาง จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตตรังสู่ชุมชนบ้านนาป้อ ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว ได้จัดขึ้นในช่วงเปิดเทอมใหม่เป็นประจำทุกปี

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ