นายสุรพล คุณานันทกุล รองผู้อำนวยการ บริษัท สยามสตีลอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ SIAM เปิดเผยว่า บริษัท Idemitsu Kosan จากประเทศญี่ปุ่น บมจ.สยามสตีลอินเตอร์เนชั่นแนล และ บมจ. TTCL ประเทศไทย ได้เซ็น MOU on Supply Chain of torrefied wood pellets หรือ black pellets และ Technical Service Agreement for torrefaction biomass pellets เพื่อผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลในประเทศไทย อาทิ black pellets โดยส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น สำหรับใช้ในโรงงานผลิตไฟฟ้าชีวมวลเป็นระยะเวลายาวถึง 20 ปี ซึ่งมีความต้องการมากกว่า 30 ล้านตันต่อปี ทั้งนี้ ยังไม่รวมความต้องการของตลาด Co-Firing Power Plant
สำหรับขั้นตอน (Milestone) หลังจากเซ็น MOU โดย สยามสตีลส่ง wood pellets ไปยัง USA pilot plant เพื่อผลิต torrefied wood pellets และส่งต่อไปทดสอบที่ห้องทดสอบของ Idemitsu ประเทศญี่ปุ่น หลังจากลูกค้าพอใจในตัวอย่างที่ส่งไปทดสอบแล้ว ได้มีการนำเข้าเทคโนโลยีและเครื่องจักรในการผลิต torrefied wood pellets จาก U.S.A. และร่วมมือกันในการจัดตั้งโรงงาน commercial torrefied wood pellet plant ในประเทศไทย และคาดว่าจะผลิตส่งออกได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 เป็นต้นไป
รวมทั้งขณะนี้อยู่ในระหว่างการศึกษาเพื่อร่วมมือกันจัดตั้ง big scale commercial torrefied wood pellet plant ในอนาคตอันใกล้นี้
บมจ.สยามสตีลอินเตอร์เนชั่นแนล ได้จัดตั้งบริษัท สยามไบโอแมสโปรดัก จำกัด ขึ้น เพื่อเป็นผู้ผลิตเชื้อเพลิงชีวมวล (Biomass Fuel) อันประกอบด้วย wood chips, wood pellets และ black pellets เพื่อส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่นเป็นหลัก เป็นสัญญาระยะยาวถึง 20 ปี
โดย บริษัท สยามไบโอแมสโปรดัก ได้เริ่มจัดหาวัตถุดิบ เพื่อให้ได้เป้าหมาย 30 ล้านตันต่อปี เพื่อผลิต wood pellets จำนวน 15 ล้านตันต่อปี สำหรับส่งออกไปยังญี่ปุ่นและตลาดอื่นๆ ทั่วโลก เป็นระยะเวลายาวถึง 20 ปี ภายใต้การสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น วัตถุดิบประเภทไม้ยางพารา 15 ล้านตันต่อปี ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากการยางแห่งประเทศไทย(กยท.)
ขณะที่วัตถุดิบประเภทไม้โตเร็ว 15 ล้านตันต่อปีซึ่งได้รับการสนับสนุน จากสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.)
ทั้งนี้ ในด้านการผลิต wood pellets เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของตลาดญี่ปุ่นและตลาดโลก ประมาณ 15 ล้านตันต่อปี ในเบื้องต้น บจ.สยามไบโอแมสโปรดัก ได้วางแผนจัดตั้งโรงงานผลิต wood pellets 11 โรงงาน ซึ่งตั้งอยู่บริเวณ Southern Economic Corridor (SEC) และภาคกลาง ซึ่งอยู่ใกล้กับแหล่งวัตถุดิบ
ในด้านการขนส่ง บจ.สยามไบโอแมสโปรดัก จะร่วมมือกับท่าเรือเอกชนและท่าเรือของรัฐ ในการร่วมกันจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้า เพื่อจัดเก็บและขนถ่ายสินค้าด้วย