WWF กระตุ้นสถาบันการเงินร่วมรับผิดชอบนโยบายการให้สินเชื่อที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

พฤหัส ๐๖ กันยายน ๒๐๑๘ ๑๒:๒๖
ชี้สถาบันการเงินในเอเชียยังไม่ให้ความสำคัญด้านมาตรฐานการตรวจสอบประวัติธุรกิจลูกค้าก่อนปล่อยกู้ ด้านสถาบันการเงินไทยมีแนวโน้มที่ดีในการดำเนินนโยบายการเงินที่โปร่งใส ใส่ใจผลกระทบที่มีต่อแวดล้อมและสังคม และอยู่บนหลักธรรมาภิบาล

รายงานล่าสุดจากกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล หรือ WWF ภายใต้หัวข้อ Sustainable Banking 2018 หรือการธนาคารที่ยั่งยืนสำหรับปี 2561 ระบุว่า ปัจจุบันสถาบันการเงินรายใหญ่ของอาเซียนต่างเริ่มตระหนักถึงผลกระทบที่ธุรกิจของตนมีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม แต่ยังไม่ได้มีการใช้ศักยภาพที่มีในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และการจัดหาเงินทุนเพื่อเป้าหมายสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ในด้านอาหาร พลังงานและโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งหากละเลยในประเด็นต่างๆ เหล่านี้ สถาบันการเงิน ในฐานะผู้กุมเม็ดเงินการค้า และการลงทุน จะสูญเสียโอกาสเป็น "ผู้เปลี่ยนเกมส์" ในระบบเศรษฐกิจของภูมิภาคที่กำลังเดินหน้าสู่เป้าหมายแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน และความไม่ใส่ใจนั้นอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงจากภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ที่มีต่อธุรกิจของตนในอนาคต

WWF ร่วมกับศูนย์ธุรกิจเพื่อธรรมาภิบาล แห่งสถาบันและองค์กร มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ แถลงรายงานล่าสุดซึ่งชี้ชัดว่า ธนาคารในภูมิภาคอาเซียนยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูล ด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามหลักข้อเสนอแนะของหน่วยงานสำหรับการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ(Taskforce for Climate-related Financial Disclosures หรือ TCFD) มากเท่าที่ควร

"จากการประเมินข้อมูลของธนาคารทั้งสิ้น 34 แห่ง มีเพียง 4 แห่งเท่านั้นที่เปิดเผยว่าผู้บริหารระดับสูงเล็งเห็นถึงความสำคัญของความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวเนื่องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นคำแนะนำที่สำคัญของ TCFD ทั้งนี้ไม่มีธนาคารใดเลยที่เปิดเผยว่าได้มีการตรวจสอบความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อทรัพย์สินหรือเงินลงทุน หรือได้มีการจัดสรรทรัพย์สินหรือเงินลงทุนตามข้อตกลงปารีส หรือการพัฒนาอย่างยั่งยืน

"ประเด็นต่างๆ เหล่านี้ถือว่าส่งผลกระทบถึงเราทุกคน เพราะป่าไม้ และระบบนิเวศเป็นส่วนสำคัญในเรื่องของการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดความยืดหยุ่นต่อระบบห่วงโซ่อุปทานของแหล่งอาหารในภูมิภาคด้วย ดังนั้นธนาคารจำเป็นต้องพูดคุยในเรื่องปัจจัยเสี่ยงของธุรกิจที่ธนาคารให้แหล่งเงินทุนหรือสินเชื่อที่อาจสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเร่งด่วน เช่น ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการตัดไม้ทำลายป่า การเผาป่า การสร้างมลพิษในน้ำ พร้อมกันนี้ให้จัดสรรเงินทุนไปยังกิจกรรมที่ส่งเสริมการปฏิรูปอุตสาหกรรมอาหาร พลังงาน และระบบโครงสร้างพื้นฐานของภูมิภาคเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต" จีนนี่ สแตมป์ หัวหน้าโครงการ Asia Sustainable Finance ของ WWF กล่าว

ในส่วนของประเทศไทยนั้น พบว่า ธนาคารที่ได้รับการประเมิน ทั้ง 7 แห่งมีการเปิดเผยข้อมูลโดยอ้างอิงถึงความยั่งยืนในระดับกลยุทธ์ธนาคาร โดยธนาคาร 6 ใน 7 แห่งนี้มีการแบ่งแยกการดำเนินงานที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนมีผลกระทบเนื่องจากการดำเนินงานโดยตรงขององค์กรเอง และส่วนที่มีผลกระทบเนื่องจากการดำเนินงานทางอ้อมสืบเนื่องจากธุรกิจหรือกิจกรรมของลูกค้าที่ธนาคารให้สินเชื่อ ตลอดจนมีการให้ความสำคัญกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ รวมถึงมีความโปร่งใสภายใต้หลักธรรมาภิบาล โดยสะท้อนผ่านวิธีการบริหารจัดการ และการสร้างความมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อให้ทั้งลูกค้า คู่ค้า ของธนาคารงินเหล่านั้น ได้มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามในส่วนของความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการแผ้วถางทำลายป่าและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำนั้น ธนาคารทั้ง 7 แห่งยังไม่ได้นำการประเมินความเสี่ยงนี้มาใช้กับการประเมินกิจกรรมของลูกค้าของธนาคาร โดยปล่อยให้เรื่องเหล่านี้เป็นกิจกรรมภายในองค์กรเพียงอย่างเดียว โดยหากเปรียบเทียบกับข้อมูลเมื่อปีที่ผ่านมา ถือว่า เป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้น

นอกจากนี้มีธนาคารในประเทศไทย 2 แห่งที่เปิดเผยว่ามีการฝึกอบรมพนักงานเกี่ยวกับการด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าที่ค่อยๆ ขยับขึ้นมาจากที่ปีก่อนหน้ายังไม่มีการทำงานด้านนี้อย่างเป็นรูปธรรม ในส่วนของการส่งเสริมสนับสนุนธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม พบว่าธนาคาร 5 ใน 7 แห่งยังริเริ่มการให้สินเชื่อให้กับโครงการด้านพลังงานทางเลือกและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ธนาคารบางแห่งมีโครงการเงินกู้ Microfinance สำหรับผู้ประกอบการที่มีแนวคิดในการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังมีธนาคาร 1 แห่งได้ทำการออก Green Bond เป็นครั้งแรกในประเทศไทยอีกด้วย

กล่าวโดยสรุป สำหรับในภูมิภาคอาเซียน การที่จะดำเนินการให้มีความยืดหยุ่นควบคู่กับการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้น ธนาคารต้องเร่งดำเนินการให้มีการนำ ESG (Environmental Social and Governance) ซึ่งประกอบด้วยการพิจารณาความเสี่ยงจากการเปลี่ยนเปลงสภาพอากาศ การตัดไม้ทำลายป่า และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินหลักของธนาคาร ซึ่งธนาคารนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการเคลื่อนย้ายเงินทุนให้ไปสู่กิจกรรมที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ยั่งยืนสำหรับการจัดการอาหาร พลังงาน และการคมนาคมขนส่งในภูมิภาคอาเซียน ตลอดจนการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา ผู้ลงทุนที่มีความรับผิดชอบต้องมีการตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าธนาคารได้ตนได้มีการลงทุนนั้นมีการพัฒนาและมีความคืบหน้าที่ทันต่อเวลา ตลอดจนต้องเข้ามามีส่วนร่วมและให้การช่วยเหลือในการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้

เกี่ยวกับรายงาน Sustainable Banking in ASEAN

รายงานชิ้นนี้เป็นการทำงานที่ต่อเนื่องจากรายงานที่ได้รับการจัดทำในปี 2560 " WWF's 2017 'Sustainable Banking in ASEAN: Addressing ASEAN's FLAWS' report" โดยเป็นรายงานที่สำรวจข้อมูลของสถาบันการเงิน 34 แห่งทั่วภูมิภาคอาเซียน 6 ประเทศในด้านของหลักการธรรมาภิบาลที่เหมาะสม รวมทั้งแนวทางการดำเนินนโยบายด้าน สิ่งแวดล้อม สังคมและกำกับดูแล (ESG)ที่มีความเข้มแข็งรายงานชิ้นนี้ได้รับการสนับสนุนจากแพลทฟอร์มออนไลน์ จากเว็บไซต์ www.susba.org ซึ่งเปิดเผยข้อมูลที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกและเปรียบเทียบผลการรายงานของสถาบันการเงินแต่ละแห่ง และตัวชี้วัดต่างๆ ตามค่ามาตรฐานการรายงานได้ตามที่ต้องการ

ทั้งนี้ ข้อมูลที่ใช้ประกอบการจัดทำรายงานมาจาก ข้อมูลที่ได้รับการเปิดเผยต่อสาธารณชน ที่ได้รับการจัดทำขึ้นเป็นภาษาอังกฤษประจำปี 2560 ผ่านรายงานประจำปี รายงาน การพัฒนาเพื่อความยั่งยืน และรายงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมที่ได้รับการเปิดเผยอย่างเป็นทางการก่อนวันที่ 3 กรกฎาคม 2561 ทั้งนี้ได้มีการพิจารณารายละเอียดต่างๆ ที่ได้รับการเปิดเผยบนเว็บไซต์ของสถาบันการเงินแต่ละแห่งในช่วงเวลาเดียวกัน

เกี่ยวกับ WWF

กองทุนสัตว์ป่าโลกสากล หรือ WWF เป็นหนึ่งในองค์กรขนาดใหญ่ที่สุดระดับโลกที่มุ่งมั่นทำงาน และอุทิศเพื่องานด้านการอนุรักษ์ ปัจจุบัน WWF มีผู้สนับสนุนมากกว่า 5 ล้านคนจากทั่วโลกและเครือข่ายขององค์กรทำงานร่วมกันในกว่า 100 ประเทศ พันธกิจของ WWF คือการหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงของสภาวะธรรมชาติของโลกในเชิงลบ และสร้างอนาคตที่ยั่งยืนของโลกที่มีมนุษย์สามารถอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติได้อย่างมีความสมดุลย์ ด้วยการอนุรักษ์สภาพชีววิทยาที่หลากหลาย และมุ่งทำงานเพื่อรักษาทรัพยากรด้านพลังงานให้ถูกนำกลับมาใช้งานอย่างสมดุลย์และยั่งยืน รวมทั้งสนับสนุนการทำงานเพื่อหยุดยั้งมลพิษและการบริโภคที่เกินพอดี สามารถศึกษาข้อมูลการทำงานของเราเพิ่มเติมได้ที่ www.panda.org/news

และติดตามการทำงานของ WWF ประเทศไทยได้ที่

Facebook: https://www.facebook.com/wwfthailand/

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๐ คปภ. เปิดตัวคู่มือการทำประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR) และการประกันอัคคีภัย แนะแนวทางการกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยอย่างเหมาะสม
๑๖:๒๖ SiteMinder เผย โรงแรมไทยเติบโต ก้าวเป็นผู้นำตลาด หลังนักท่องเที่ยวต่างชาติหลั่งไหลเข้าประเทศ
๑๗:๕๙ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งให้การต้อนรับ เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ณ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พลับพลาไชย กรุงเทพฯ
๑๖:๐๐ fintips by ttb เผยเคล็ดลับ รถใหม่ป้ายแดงหรือรถมือสอง เลือกแบบไหนให้เหมาะกับเราที่สุด
๑๖:๐๐ มาแล้ว! เปิดตัว Samsung Galaxy S25 ซีรีส์ใหม่ล่าสุด มาพร้อม Galaxy AI ผู้ช่วยส่วนตัวคนใหม่ของคนไทย ตอบโจทย์รู้ใจทุกความต้องการเฉพาะคน
๑๖:๐๐ กทม. เดินหน้ากำจัดปลาหมอคางดำ ลดผลกระทบเกษตรกร-แปรรูปสร้างรายได้
๑๖:๐๐ เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ พระราม 9 ร่วมฉลองเทศกาลตรุษจีนยิ่งใหญ่ Chinese Market 2025 ช้อปสินค้ามงคล เสริมดวงโชคดีมั่งมี
๑๖:๐๐ SNPS ต้อนรับ คณะผู้บริหารและนักวิจัยสภากาชาดไทย
๑๕:๒๔ BEST Supply Chain ยกระดับจัดการคลังสินค้ายุคใหม่ ชู BEST Fulfillment เพิ่มประสิทธิภาพจัดการสินค้า จบครบในที่เดียว
๑๕:๐๐ เด็กซ์ซอนผนึกกำลังภาคีเครือข่าย TCCA ตอกย้ำความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืน มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero