ลักษณะอาการติดโรค สามารถสังเกตอาการได้เด่นชัดที่ก้านใบ จะปรากฏรอยแผลช้ำสีน้ำตาลเข้มถึงดำ ตามความยาวของก้านใบ แผลบริเวณที่เป็นทางเข้าของเชื้อมักมีหยดน้ำยางเล็ก ๆ เกาะติดอยู่ การเข้าทำลาย ที่ก้านใบนี้เองเป็นผลทำให้เกิดใบร่วงทั้งที่ใบยังมีสีเขียวสดอยู่ เมื่อนำมาสะบัดเบา ๆ ใบย่อยจะหลุดออกจากก้านใบโดยง่ายต่างจากการร่วงโดยธรรมชาติ บนแผ่นใบย่อยเชื้ออาจเข้าทำลายที่ปลายใบหรือขอบใบ เกิดแผลสีน้ำตาล มีลักษณะช้ำน้ำขยายติดต่อกันเป็นแผลใหญ่ทำให้ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและแดงก่อนที่จะร่วง นอกจากนี้ยังพบว่าเชื้อนี้สามารถเข้าทำลายฝักยางได้ทุกระยะทำให้ฝักเน่า ถ้าความชื้นในอากาศสูงจะพบเชื้อราสีขาวเจริญปกคลุมฝัก ฝักที่ถูกทำลายจะเน่าดำค้างอยู่บนต้นไม่แตกและร่วงหล่นตามธรรมชาติ กลายเป็นแหล่งเชื้อโรคในปีถัดมา และได้กล่าวเสริมถึงวิธีการป้องกันเชื้อไฟทอฟธอราว่า เกษตรกรไม่ควรปลูกพืชที่เป็นที่อาศัยของเชื้อ เช่น ส้ม ทุเรียน พริกไทย ปาล์ม โกโก้ เป็นพืชแซมยาง เนื่องจากอาจนำเชื้อมาระบาดสู่ต้นยางได้ และควรปลูกยางพันธุ์ต้านทานโรค เช่น RRIT 251 และ RRIT 408 หมั่นกำจัดวัชพืชและตัดแต่งกิ่งในสวนยางให้อากาศถ่ายเท สะดวกเพื่อลดความชื้นในสวนยาง เมื่อพบโรคให้ใช้สารเคมี metalaxyl หรือ fosetyl-aluminium อัตราส่วน 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นใบยางอ่อนเมื่อพบการระบาดทุก ๆ 7 วัน หากต้นยางใหญ่ที่เกิดใบร่วงอย่างรุนแรงจนใบร่วงหมด ควรหยุดกรีดยาง และใส่ปุ๋ยบำรุงต้นยางให้สมบูรณ์ เกษตรกรชาวสวนยางสามารถขอรับคำปรึกษาได้ที่การยางแห่งประเทศไทย ในพื้นที่ได้ในวันและเวลาทำการ
- พ.ย. ๒๕๖๗ กยท. ครบรอบ ปีที่ 4 ชูนวัตกรรม - งานวิจัยยางเชิงพาณิชย์ พร้อม ก้าวสู่ปีที่ 5 มุ่งพัฒนาระบบยางพาราอย่างมั่นคงยั่งยืน
- พ.ย. ๒๕๖๗ ภาพข่าว: ผวก. กยท. ลงพื้นที่ จ.สงขลา พบปะพี่น้องชาวสวนยาง พร้อมติดตามสถานการณ์ยางพาราในพื้นที่อย่างใกล้ชิด
- พ.ย. ๒๕๖๗ การยางแห่งประเทศไทย ขอความร่วมมือสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ผู้นำชาวสวนยาง และเกษตรกรชาวสวนยาง ผลิตและขายยางตามภาวะปกติ หากพบเจอผู้จงใจสร้างปัญหาทำลายกลไกตลาดให้รีบแจ้ง กยท.ในพื้นที่โดยด่วน