สมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทยฯ ร่วมกับ ซาโนฟี่ ประเทศไทย ประกาศโครงการ TB Grant 2018 เปิดรับสมัครทุนสนับสนุนโครงการเพื่อพัฒนานวัตกรรมสำหรับการดูแลและควบคุมวัณโรค

ศุกร์ ๐๗ กันยายน ๒๐๑๘ ๐๙:๒๘
โครงการรณรงค์ประเทศไทยปลอดวัณโรค หรือ End TB Thailand Project โดยสมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สนับสนุนโดย บริษัท ซาโนฟี่-อเวนติส (ประเทศไทย) จำกัด มีความมุ่งมั่นในการดำเนินกิจกรรมเพื่อรณรงค์ให้คนไทยตระหนักถึงอันตรายของวัณโรค ประกาศเปิดรับสมัครทุนสนับสนุนโครงการเพื่อพัฒนานวัตกรรมสำหรับการดูแลและควบคุมวัณโรคปี 2561 (TB Grant 2018) เพื่อกระตุ้นให้บุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตื่นตัวและคิดค้นนวัตกรรมเพื่อการควบคุมวัณโรค พร้อมต่อยอดการป้องกันและรักษาวัณโรคให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ศ. เกียรติคุณ นพ. อรรถ นานา นายกกรรมการบริหาร สมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทยฯ กล่าวว่า "ทุน TB Grant 2018 เป็นการเปิดโอกาสให้บุคลากรทางการแพทย์จากทั้งภาครัฐและเอกชนได้แสดงศักยภาพผ่านการคิดค้นนวัตกรรมสำหรับการป้องกันและดูแลรักษาวัณโรคเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานในพื้นที่ของตนเอง และเป็นการเสริมสร้างเครือข่ายของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับวัณโรคให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ทุนสนับสนุนนี้เป็นการหว่านเมล็ดพันธุ์ทางความคิดเพื่อสร้างเกราะป้องกันวัณโรคให้แก่คนไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ขับเคลื่อนให้ประเทศไทยปลอดจากวัณโรคได้อย่างยั่งยืน โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการร่วมกันพาประเทศไทยสู่เป้าหมายในการขจัดวัณโรคร่วมกัน"

"ซาโนฟี่ ประเทศไทย มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้สนับสนุนทุน TB Grant มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในความมุ่งมั่นของซาโนฟี่ในการส่งเสริมให้คนเข้าถึงการดูแลและรักษาสุขภาพ เพื่อการใช้ชีวิตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และร่วมกันผลักดันให้ประเทศไทยปลอดจากวัณโรค" มร. เจ็ม ออซเติร์ก ผู้จัดการใหญ่ ซาโนฟี่ ประจำประเทศไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ พม่า และบรูไน กล่าว

ทุนสนับสนุนโครงการเพื่อพัฒนานวัตกรรมสำหรับการดูแลและควบคุมวัณโรค ปี 2561 (TB Grant 2018) มีวัตถุประสงค์ในการสร้างให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมด้านการควบคุมวัณโรค ทั้งในด้านการบำบัดรักษาและให้ความรู้แก่ผู้ป่วยวัณโรคให้ดียิ่งขึ้น ส่งเสริมให้ผู้ป่วยวัณโรคมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน และเพิ่มพูนความรู้ทางด้านวัณโรคให้กับบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อพัฒนาการบริการแก่ผู้ป่วยแบบสหสาขาวิชา โดยเปิดรับสมัครโครงการจากบุคลากรทางการแพทย์ ที่มีลักษณะเป็นโครงการนวัตกรรมด้านการแพทย์ การพยาบาล หรือทางสาธารณสุข เพื่อการพัฒนาการควบคุมหรือยุติวัณโรค ที่มีหลักการยอมรับให้ทั้งทางด้านทฤษฎีและจริยธรรม สามารถนำไปเป็นต้นแบบ สามารถขยายผลและปฏิบัติสู่พื้นที่อื่นๆ ได้ และเป็นโครงการที่ไม่เคยได้รับรางวัลใดๆ มาก่อน

โดยเกณฑ์การตัดสินจะพิจารณาและตัดสินโดยกรรมการที่ปรึกษาโครงการรณรงค์ประเทศไทยปลอดวัณโรคและผู้เชี่ยวชาญที่มีบทบาทสำคัญทางการควบคุมและดูแลวัณโรคในประเทศไทย สำหรับโครงการฯ ที่ชนะเลิศจะได้รับทุนสนับสนุนโครงการละไม่เกิน 100,000 บาท (ทุนสนับสนุนรวม 300,000 บาท) และเปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ถึง 14 ธันวาคม 2561 ประกาศผลผู้ได้รับทุนสนับสนุนในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 ทางเว็บไซต์ของสมาคมปราบวัณโรคฯ หรืออื่นๆ ที่อาจกำหนดภายหลังสามารถสอบถามรายละเอียดการขอรับทุนได้ที่ โทร. 082 191 4724 หรือ อีเมล [email protected]

ปัจจุบัน วัณโรคยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยรายใหม่ถึง 120,000 รายต่อปี และเสียชีวิตสูงถึงปีละ 12,000 ราย แต่มีผู้ป่วยเข้าสู่ระบบบริการรักษาเพียงร้อยละ 60 เท่านั้น ซึ่งประเทศไทยมีเป้าหมายในการขจัดให้วัณโรคให้หมดสิ้นและให้โรคนี้ไม่เป็นทางสาธารณสุขอีกต่อไป ภายในปี พ.ศ. 2578

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ