ก.แรงงาน เสริมแกร่งเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง

จันทร์ ๑๐ กันยายน ๒๐๑๘ ๑๐:๐๓
วันที่ 7 กันยายน 2561 ณ ห้องประชุมเชียงแสน 1 อาคารอำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานนานาชาติ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานปิดการฝึกอบรมและมอบวุฒิบัตรแก่ผู้ผ่านการฝึกกว่า 70 คน ตามโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง

โดย รมว.แรงงาน ได้มอบวุฒิบัตรแก่ผู้สำเร็จการฝึกอบรม 3 สาขา ได้แก่ สาขาผู้ดูแลระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ ผู้ผ่านการฝึกอบรมเป็นบุคลากรภาครัฐ ภาคเอกชนที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้สอน และหัวหน้างาน จากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 18 คน , สาขาเทคนิคการสร้างสื่อมัลติมีเดียเพื่อการท่องเที่ยว ผู้ผ่านการฝึกอบรมจากสถานประกอบกิจการ และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวของไทย จำนวน 25 คน และสาขาเทคนิคการขับรถลากจูง ผู้ผ่านการฝึกอบรมเป็นแรงงานทั่วไป แรงงานในสถานประกอบกิจการของไทย จำนวน 28 คน และสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานนานาชาติได้ฝึกเสริมสาขาเทคนิคการขนส่งสินค้าอันตรายตามมาตรฐาน ADR เพิ่มเติมให้อีกด้วย

พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวภายหลังเป็นประธานปิดการฝึกอบรมและมอบวุฒิบัตรแก่ผู้ผ่าน การฝึก ว่า รัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยให้ความสำคัญกับการสร้างความเชื่อมโยงเศรษฐกิจและสังคม การให้ความช่วยเหลือทั้งด้านวิชาการ และด้านเทคนิค เพื่อนำไปสู่การสร้างความไว้วางใจระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ประกอบกับนักลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียน เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย หันมาลงทุนในประเทศ CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียนนาม) เพิ่มขึ้น ซึ่งแต่ละประเทศมีข้อจำกัดในหลายด้าน ทำให้ความสามารถและทักษะฝีมือ ไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบกิจการและเทคโนโลยีสมัยใหม่ โครงการความร่วมมือนี้จึงเกิดขึ้น เพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงานในภูมิภาคอาเซียน

รมว.แรงงาน กล่าวต่อไปว่า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานนานาชาติเชียงแสน ได้ถูกก่อตั้งขึ้น เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาทักษะกำลังแรงงานตามแนวระเบียงเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS Economic Corridors) เพื่อเสริมสร้างให้ประชาชนของประเทศสมาชิก GMS (Greater Mekong Subregion) หรืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย เมียนมา ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีนตอนใต้ มีสัมพันธ์ไมตรีที่ดีต่อกัน รวมถึงพัฒนากำลังแรงงานให้มีขีดความสามารถและศักยภาพเพิ่มขึ้น อีกทั้งเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งและความร่วมมือระหว่างประเทศอีกด้วย

"โครงการพัฒนาฝีมือแรงงานนานาชาติ เป็นการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาฝีมือแรงงานของประเทศ แผนงานความร่วมมือด้านต่างประเทศ ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งผู้ผ่านการฝึกอบรมจำนวนหนึ่งมาจากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่เป็นกลุ่มของวิทยากร ครูผู้สอน และหัวหน้างาน ที่สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้กับแรงงานและขยายผลการฝึกอบรมไปยังประเทศของตนเอง ก่อเกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ ในแต่ละประเทศ สิ่งสำคัญคือความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน" รมว.แรงงาน กล่าวทิ้งท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ