กยท. เปิดบ้านรับผู้แทนชาวสวนยางและสถาบันฯ ร่วมหารือเรื่องสถานการณ์ยางพารา

พุธ ๑๙ กันยายน ๒๐๑๘ ๑๑:๐๒
เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2561 ที่ผ่านมา การยางแห่งประเทศไทย จัดประชุมผู้แทนเกษตรกรชาวสวนยาง และผู้แทนจากสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางเข้าหารือร่วมกันในเรื่องสถานการณ์ยางพารา ราคายาง รวมถึงการแก้ไข พ.ร.บ. กยท. พ.ศ. 2558 เพื่อหวังนำไปใช้ในการพัฒนายางพาราได้อย่างมีประสิทธิภาพ ณ ห้องประชุมสถลสถานพิทักษ์ ชั้น 6 การยางแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่

นายเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ รักษาการผู้ว่าการ กยท. กล่าวว่า การประชุมผู้แทนเกษตรกรชาวสวนยาง จัดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้ กยท. และผู้แทนเกษตรกรชาวสวนยาง และสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางหารือร่วมกันเพื่อหาทางแก้ปัญหาราคายางในปัจจุบัน โดย กยท. เห็นความสำคัญในเรื่องตลาดยางพารา จึงมีแผนในการพัฒนาตลาดกลางยางพารา เพื่อรับซื้อยางของเกษตรกรในทุกพื้นที่ ซึ่งขณะนี้ กยท. มีตลาดกลางยางพารา 6 แห่ง ได้แก่ ตลาดกลางยางพาราจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสงขลา จังหวัดยะลา จังหวัดหนองคาย และจังหวัดบุรีรัมย์ โดย กยท. จะจัดตั้งตลาดกลางเพิ่มอีก 2 แห่ง ได้แก่ จังหวัดระยอง และจังหวัดเชียงราย เพื่อรองรับตลาดให้ครอบคลุมและทั่วถึงในเร็วๆ นี้ นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายให้ยางพาราในแต่ละพื้นที่มีการซื้อขายผ่านตลาดกลางเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 10% แต่สิ่งสำคัญคือ ยางที่เกษตรกรนำมาขายต้องได้มาตรฐานตามที่ตลาดกลางยางพารากำหนด ทั้งนี้ เพื่อเป็นการกระตุ้นและพัฒนาเกษตรกรในการทำยางที่ได้คุณภาพที่ตลาดต้องการ ซึ่งหากทำได้สำเร็จจะทำให้เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรสามารถซื้อขายยางได้ในพื้นที่ได้สะดวกมากขึ้น ลดต้นทุนการขนส่ง และสามารถซื้อขายยางได้ในราคาที่เป็นธรรม

รักษาการ ผู้ว่าการ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของ พ.ร.บ. การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ที่หลายฝ่ายออกมาให้ความเห็นว่าควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรชาวสวนยาง โดยการตั้งคณะกรรมการร่วมพิจารณาแก้ไข พ.ร.บ. โดยให้เครือข่ายเกษตรกร ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความเห็น ให้ข้อเสนอแนะ โดยเฉพาะการเข้าถึงกองทุนพัฒนายางพารา มาตรา 49(2)-(6) จะนำมาพิจารณาปรับปรุงเพื่อให้สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาวงการยางพาราทั้งระบบได้อย่างแท้จริงและมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ เกษตรกรได้เสนอแนะว่า ปัจจุบันเกษตรกรชาวสวนยางได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบผลผลิตในการขายยางจากเดิมที่ทำยางแผ่นดิบ หรือยางแผ่นรมควัน มาเป็นน้ำยางสดหรือยางก้อนถ้วยออกมาขายในตลาดแทน จึงต้องการให้ กยท. พิจาณาและวิเคราะห์หาสัดส่วนระหว่างยางแผ่น และน้ำยางที่ออกสู่ตลาด เพื่อวางแผนด้านการตลาด พร้อมกันนี้เกษตรกรขอให้ กยท. ร่วมผลักดันการใช้ยางในประเทศ เช่น การนำยางมาใช้ทำถนนยาง หรือการนำยางในสต๊อกเก่ามาแปรรูป เช่น ทำหมวกกันฝนให้หน้ายาง เป็นต้น ทั้งนี้เกษตรกรชาวสวนยางยังพร้อมที่จะสนับสนุนนายเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ ในการทำงาน เพื่อร่วมแก้ไขปัญหายางพาราให้ชาวสวนยางต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๐๐ สุขสนุกกับเทศกาลอีสเตอร์ด้วย Boozy Bunnies Brunch ที่ The Standard Grill
๑๘:๐๐ Mrs. GREEN APPLE วงป็อปร็อกญี่ปุ่นชื่อดัง ส่งเพลงใหม่ KUSUSHIKI ฉลองครบรอบ 10 ปีอย่างยิ่งใหญ่เต็มรูปแบบ
๑๗:๐๐ แลคตาซอย ส่งมอบนมถั่วเหลืองกว่า 70,000 กล่อง เสริมพลังกาย สร้างกำลังใจให้คนทุ่มเท ในการเดินทางช่วงสงกรานต์ 68
๑๗:๐๐ สถาปนิก'68 เตรียมเปิดเวที ASA International Forum 2025 เชิญกูรูต่างประเทศร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และสร้างแรงบันดาลใจ
๑๗:๐๐ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ทุ่มงบกว่า 1 ล้านบาท ลงพื้นที่ สร้างสุข ใส่ใจ ผู้สูงวัย ในสถานสงเคราะห์ พร้อมแจกจ่าย ชุดของขวัญคลายร้อน
๑๗:๐๐ คปภ. ทำงานร่วมกับ กทม. ลงพื้นที่ประสานงานกรณีตึกถล่มจากเหตุแผ่นดินไหว เร่งตรวจสอบสิทธิประโยชน์ด้านประกันภัยเพื่อดูแลผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วน
๑๗:๐๐ โบว์-วิน สาดออร่าคู่! เนรมิตสงกรานต์ไอคอนสยามสุดอลังการ ในลุคนางสงกรานต์-เทพบุตรสุดปัง! พิธีเปิดงาน ICONSIAM THAICONIC SONGKRAN CELEBRATION 2025
๑๗:๐๐ รายการ หนูทดลอง Little Explorers EP ล่าสุด ชาบูโชว์ฝีมือการเป็นเชฟทำอาหาร และพาไปดูหนังที่โรงภาพยนตร์สำหรับเด็ก
๑๗:๐๙ ย้อนความเป็นมาวันสงกรานต์ พร้อมมีช่วงเวลาดี ๆ ไปกับวันเดอร์พัฟฟ์
๑๗:๐๐ มหาสงกรานต์ ไอคอนสยาม เริ่มแล้ว!!! สัมผัสประสบการณ์สาดความสุข สนุกสไตล์ไทย ICONSIAM THAICONIC SONGKRAN CELEBRATION