มจพ.ร่วมกับ วศ. ปิดจ๊อบแถลงผลสำเร็จการส่งเสริมผู้ประกอบการเซรามิกในกลุ่มจังหวัดภาคกลาง

อังคาร ๒๕ กันยายน ๒๐๑๘ ๑๔:๑๕
อาจารย์ สุรสิทธิ์ แสงสุริยะ รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) และนางสาวอุราวรรณ อุ่นแก้ว รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ร่วมแถลงในพิธีปิดโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิกเพื่อการส่งออกของผู้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคกลาง พร้อมด้วยผู้ประกอบการจากโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกในจังหวัดราชบุรี 8 แห่ง และผู้ประกอบการโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกประเภทเบญจรงค์ ในจังหวัดสมุทรสาครอีก 12 แห่ง จากผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการจำนวน 20 ราย เป็นโครงการที่บูรณาการระหว่างผลิตภัณฑ์โอ่งมังกรของจังหวัดราชบุรี กับผลิตภัณฑ์เซรามิกประเภทเบญจรงค์ของจังหวัดสมุทรสาคร

อาจารย์สุรสิทธิ์ แสงสุริยะ รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) กล่าวว่า ตามที่กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับคณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2561 ดำเนินการโครงการขึ้นเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการเซรามิกระดับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกลุ่มจังหวัดภาคกลาง ให้สามารถพัฒนารูปแบบและลวดลายใหม่ๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์เซรามิกและส่งออกได้เพื่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิกเพื่อการส่งออกของผู้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดราชบุรีและจังหวัดสมุทรสาคร ให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์เซรามิก พร้อมพัฒนาผู้ประกอบการเซรามิกระดับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้มีอาชีพที่ยั่งยืนและสร้างความร่วมมือในการบูรณาการองค์ความรู้ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการเซรามิก โดยมีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการจำนวน 20 ราย เป็นโครงการที่บูรณาการระหว่างผลิตภัณฑ์โอ่งมังกรของจังหวัดราชบุรี กับผลิตภัณฑ์เซรามิกประเภทเบญจรงค์ของจังหวัดสมุทรสาคร

นางสาวอุราวรรณ อุ่นแก้ว รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กล่าวว่า คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มจพ. ได้นำองค์ความรู้ใหม่ ๆ ความคิดสร้างสวรรค์ รวมทั้งเทคนิคและวิธีการต่าง ๆ อันจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการเซรามิกกลุ่มจังหวัดภาคกลาง โดยสามารถออกแบบ พัฒนารูปแบบและลวดลายใหม่ ๆ เน้นความโดดเด่นและแตกต่างกัน เพื่อเพิ่มมูลค่าในการส่งออกของประเทศมากยิ่งขึ้น โดยในปี พ.ศ.2560 ได้มีการส่งออกผลิตภัณฑ์ไปประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และบรูไน ทั้งนี้ผู้ประกอบการในจังหวัดราชบุรีและจังหวัดสมุทรสาคร สามารถพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้โดดเด่น มีความหลากหลาย เป็นที่ต้องการของตลาด รวมถึงผู้ประกอบการใดที่สามารถผลักดันไปได้เราก็ได้เชิญเข้ามาร่วมโครงการฯ ในปี 2561 จะเห็นถึงการพัฒนาของผู้ประกอบการ เนื่องจากเราได้สอนวิธีการให้ผู้ประกอบการมีความยั่งยืน มีแนวคิดในการออกแบบ การพัฒนารูปแบบในการรองรับยุทธศาสตร์ Thailand 4.0 พร้อมไปกับการสร้างมูลค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์นั้น ๆ มากยิ่งขึ้น มีการพัฒนารูปแบบและลวดลายใหม่ ๆ และย่อขนาดให้เล็กลง ให้มีความสอดคล้องกับลูกค้า เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตในปัจจุบันเพื่อส่งออกอย่างยั่งยืน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ