"สถาบันราชานุกูล" เร่งพัฒาเป็น "ศูนย์กลางรักษาเด็กป่วยทางจิตเวชระดับโลก"

พุธ ๒๖ กันยายน ๒๐๑๘ ๑๔:๕๗
กรมสุขภาพจิต เร่งดันให้ สถาบันราชานุกูล เป็นศูนย์พัฒนาวิชาการของไทยและภูมิภาคอาเซียน มีความเชี่ยวชาญดูแลผู้ที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาอย่างสมบูรณ์แบบ

ล่าสุด กอง บ.ก.เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook รายงานว่า

นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ระบุถึง สถาบันราชานุกูล แห่งนี้ทำหน้าที่เป็นสถาบันทางวิชาการ เป็นศูนย์เชี่ยวชาญระดับประเทศในการพัฒนาคุณภาพระบบบริการเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญาตั้งแต่แรกเกิด - 5 ขวบ

โดยไทยพบผู้ที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาประมาณร้อยละ 2 ของประชากร เช่น ออทิสติกพบได้ร้อยละ 70 ในกลุ่มดาวน์ซินโดรม เป็นต้น

เป้าหมายที่สำคัญที่สุดของการดูแลเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา จะเน้นการฟื้นฟูสมรรถภาพของสมองและร่างกาย หยุดยั้งไม่ให้ความพิการเพิ่มขึ้น เด็กสามารถพึ่งตนเองได้ใช้ชีวิตใกล้เคียงกับคนปกติที่สุดเป็นภาระครอบครัวและสังคมน้อยที่สุด

การดำเนินงานของราชานุกูล ขณะนี้มีความก้าวหน้ามากมีทีมสหวิชาชีพกระตุ้นพัฒนาการของเด็กทั้งการเคลื่อนไหว การฝึกพูด อ่าน เขียน จัดการศึกษาพิเศษทั้งรายกลุ่มและรายบุคคลเพื่อให้เด็กเข้าสู่ระบบโรงเรียนหรือด้านอาชีพที่เหมาะสม

โดยมีศูนย์ฝึกอาชีพอยู่ที่ตำบลบางพูน จ.ปทุมธานี กำลังเตรียมเปิดศูนย์ส่งเสริมพัฒนาการราชานุกูลที่แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่มอีก 1 แห่ง

ด้าน คุณหมอจ๋า แพทย์หญิงมธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล กทม.กล่าวว่า แผนพัฒนาปี 2562-2563 ด้านระบบบริการ จะเพิ่มเครื่องกระตุ้นระบบประสาทด้วยสนามแม่เหล็กชนิดความถี่สูง ชุดตรวจประเมินระบบประสาทสัมผัสด้วยตนตรีบำบัด

ชุดอุปกรณ์บูรณาการทำงานของระบบประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว ห้องกระตุ้นพัฒนาการ ชุดกระตุ้นประสาทสัมผัสด้วยเทคนิคสนูซีเลน ( Snoezelen) และชุดศึกษาพฤติกรรมเด็กพิเศษ รวมทั้งหมดเกือบ 40 ล้านบาท

ส่วนด้านวิชาการจะวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มไอคิวเด็กและพัฒนาด้านทักษะทางอารมณ์และสังคมในกลุ่มเด็กปฐมวัย ส่วนกลุ่มเด็กวัยเรียน จะพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่เพื่อเพิ่มไอคิว อีคิว และลดปัญหาสมาธิสั้นด้วย

ขณะนี้สถาบันฯให้บริการตรวจรักษาเด็กป่วยทางจิตเวชทุกโรคในลักษณะของโรงพยาบาลกลางวัน ในรอบ 9 เดือนปีงบประมาณ 2561 มีผู้ป่วยใช้บริการเฉลี่ยเดือนละ 4,500 ครั้ง แนวโน้มเพิ่มขึ้น โรคที่พบมากอันดับ 1

ได้แก่ ออทิสติก ร้อยละ 33 รองลงมาคือภาวะบกพร่องทางสติปัญญา และพัฒนาการล่าช้า ร้อยละ 20 เท่ากัน ความผิดปกติทางทันตกรรม ร้อยละ 12 และสมาธิสั้นร้อยละ 9

ทั้งนี้ในการดูแลเด็กที่มีความผิดปกติตั้งแต่แรกเกิด เช่น เด็กที่เป็นดาวน์ซินโดรม ซึ่งเกือบร้อยละ 100 จะมีปัญหาลิ้นโต น้ำลายไหลเกือบตลอดเวลา เนื่องจากการควบคุมกล้ามเนื้อไม่ดี จะต้องได้รับการช่วยเหลือให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันการขาดสารอาหาร

โดยฝึกสอนพ่อแม่ให้นวดลิ้น นวดกล้ามเนื้อรอบปากตั้งแต่เด็กแรกเกิด จะช่วยลดปัญหานี้ได้ ให้ผลดีกว่าฝึกตอนโต และมีระบบการเยี่ยมบ้านเพื่อติดตามคุณภาพชีวิตของครอบครัวด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๑ โอซีซี มอบความสุข ตัดผมฟรีให้กลุ่มผู้สูงอายุ
๑๖:๕๗ OR คงอันดับเครดิตที่ระดับ AA จาก TRIS Rating ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ด้วยแนวโน้ม Stable สะท้อนถึงความแข็งแกร่งของบริษัทในฐานะผู้นำตลาดค้าปลีกน้ำมัน
๑๖:๑๕ เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) ประกาศความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ Hikvision เสริมแกร่งตลาดโซลูชันความปลอดภัยในประเทศไทย
๑๖:๑๒ มูลนิธิเฮอริเทจ (ประเทศไทย) ส่งมอบผลิตภัณฑ์ในเครือฯ ร่วมเป็นกำลังให้เหล่าอาสาสมัครกู้ภัย
๑๖:๕๗ กทม. กำชับบุคลากรโรงเรียนในสังกัดปฏิบัติตามระเบียบ-เร่งจัดสวัสดิการดูแลอย่างเหมาะสม
๑๖:๕๕ CHOW ตอกย้ำคุณภาพมาตรฐานสากล ผ่านการรับรอง ISO 9001 และ ISO 14001
๑๖:๐๔ คาเฟ่ อเมซอน เปิดสาขาใหม่ ร้านกาแฟแบรนด์แรก ณ รัฐสภา ชวนสัมผัสประสบการณ์เครื่องดื่มคุณภาพ พร้อมวิวแม่น้ำเจ้าพระย
๑๖:๓๑ SMPC ส่งมอบหุ่นยนต์ดินสอช่วยงานแพทย์ ให้ รพ.มหาวิทยาลัยพะเยา และ รพ.พะเยา
๑๖:๒๓ เมกาบางนา จับมือ บัตรเครดิตวีซ่ากสิกรไทย เสิร์ฟโปรเด็ด มื้อนี้ K เลย อิ่มคุ้ม X4 ที่เมกาบางนา
๑๖:๑๙ เหนือ-อีสาน ยังอ่วมฝุ่น กรมอนามัย เร่งลงพื้นที่ แนะวิธีทำห้องปลอดฝุ่น-มุ้งสู้ฝุ่น