มรภ.สงขลา โชว์สถิติ นศ.ครุ ขึ้นบัญชี-บรรจุ เกือบ 80% ตอกย้ำความโดดเด่นด้านผลิตครู

พุธ ๒๖ กันยายน ๒๐๑๘ ๑๖:๔๔
ครุศาสตร์ มรภ.สงขลา โชว์ศักยภาพนักศึกษา เผยตัวเลขสอบบรรจุครูคืนถิ่น-ครูผู้ช่วย-พนักงานราชการ รวมกว่า 190 คน หรือเกือบ 80% ตอกย้ำความโดดเด่นด้านการผลิตครู

ดร.มนตรี เด่นดวง คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า จากการที่นักศึกษาของคณะครุศาสตร์ เข้าสมัครสอบในโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น หรือ ครูคืนถิ่น ประจำปี 2561 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกคนเก่งมาเป็นครู เมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสำกัดสำนักงานคณะกรรมการขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และกรุงเทพมหานคร ผลปรากฏว่านักศึกษาของทางคณะฯ ผ่านการสอบและได้รับการบรรจุจำนวน 40 คน แบ่งออกเป็นโปรแกรมวิชาภาษาไทย 6 คน วิทยาศาสตร์ทั่วไป 11 คน การศึกษาปฐมวัย 4 คน คณิตศาสตร์ 9 คน และ สังคมศึกษา 10 คน

นอกจากนั้น นักศึกษาจากโปรแกรมวิชาต่างๆ ของคณะครุศาสตร์ มรภ.สงขลา ซึ่งเข้าสอบแข่งขันในตำแหน่งครูผู้ช่วย (รอบทั่วไป) ปี 2561 สามารถสอบผ่านและได้รับการขึ้นบัญชี รวม 150 คน โดยเฉพาะโปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษ ที่สอบผ่าน 30 คน จากนักศึกษาในชั้นเรียนทั้งหมด 36 คน (คิดเป็นร้อยละ 83.33) ซึ่ง น.ส.อำไพพิชญ์ ยืนยง สอบได้ลำดับที่ 2 ประจำ จ.สตูล ภาษาไทย สอบผ่าน 30 คน (จาก 43 คน) โดย นายวิศวะ กลับกลาย สอบได้ลำดับที่ 1 จ.ปัตตานี วิทยาศาสตร์ทั่วไป สอบผ่าน 43 คน (จาก 68 คน) นายณัฐกิตติ์ เทพสุวรรณ์ สอบได้ลำดับที่ 3 จ.ตรัง ส่วนโปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย สอบผ่าน 17 คน (จาก 35 คน) โดย น.ส.นฤมล สุขเทพ สอบได้ลำดับที่ 1 จ.ปัตตานี น.ส.มารียา บุญธรรม สอบได้ลำดับที่ 1 จ.นครศรีธรรมราช และ น.ส.ศวิตา ไกรเทพ สอบได้ลำดับที่ 2 จ.ตรัง คณิตศาสตร์ สอบได้ 17 คน (จาก 26 คน) สังคมศึกษา สอบได้ 13 คน (จาก 32 คน) และนักศึกษาโปรแกรมวิชาภาษาไทย สอบได้พนักงานราชการ สอนระดับประถมที่ ร.ร.เทศบาล สิงหนคร อีก 1 คน รวมนักศึกษาที่ขึ้นบัญชีและสอบบรรจุได้ คิดเป็นร้อยละ 79.58

ดร.มนตรี กล่าวว่า คณะครุศาสตร์มีภารกิจหลักคือผลิตบัณฑิตพัฒนาครูและบุคลากรทางการ ศึกษาวิจัยทางการศึกษาบริการวิชาการแก่สังคม และสืบสานศิลปะและวัฒนธรรมไทย นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานอื่นๆ ที่ใช้เป็นสถานที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษา ได้แก่ บ้านสาธิตเด็กปฐมวัย โรงเรียนสาธิตสถาบันราชภัฏสงขลา และศูนย์การศึกษาพิเศษ ซึ่งคณะครุศาสตร์มีพัฒนาการควบคู่กับการพัฒนาการของมหาวิทยาลัยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2462 โดยมีฐานะเป็นหมวดวิชาการศึกษาของโรงเรียนฝึกหัดครูมลฑลนครศรีธรรมราช (ตั้งอยู่ ณ จ.สงขลา) ต่อมา พ.ศ. 2482 เปลี่ยนเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัด (ว.) และย้ายมาเรียนที่ ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ในปี พ.ศ. 2490 และเปลี่ยนฐานะจากโรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัดเป็นโรงเรียนฝึกหัดครู

ต่อมาในปี พ.ศ. 2499 โรงเรียนฝึกหัดครูมูลสงขลา ย้ายมาอยู่ที่หมู่ที่ 4 ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา และยกฐานะเป็นวิทยาลัยครูสงขลาเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2504 ขยายชั้นเรียนในระดับ ป.กศ.สูง และรวมกิจการโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูเข้ามาไว้ด้วยกัน ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2510 จากนั้น พ.ศ. 2518 ยกฐานะเป็นคณะวิชาครุศาสตร์ หน่วยงานระดับคณะวิชาของวิทยาลัยครูสงขลา จัดการศึกษาถึงระดับปริญญาตรี และยกเลิกคำว่าคณะวิชา เป็นคณะ และเปลี่ยนผู้บริหารคณะ จากหัวหน้าคณะวิชา เป็นคณบดี เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2538 ในปี พ.ศ. 2547 เปลี่ยนเป็นคณะครุศาสตร์ จนถึงปัจจุบัน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ