ฝนหลวงฯ ปรับแผนปฏิบัติภารกิจเร่งด่วนช่วยเติมน้ำในเขื่อน

พฤหัส ๒๗ กันยายน ๒๐๑๘ ๐๙:๒๖
กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ปรับแผนการปฏิบัติการฝนหลวงเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร ทั่วทุกภาคของประเทศไทย เนื่องจากมีบางพื้นที่ยังคงประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร จึงยังคงต้องเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักให้ไหลเข้าอ่างเก็บน้ำและเขื่อนต่างๆอย่างต่อเนื่อง

วันที่ 26 กันยายน 2561 เวลา 15.30 น. นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยว่า จากการติดตามพื้นที่ความต้องการขอรับบริการฝน พบว่าในหลายจังหวัดยังคงมีฝนตกไม่ทั่วถึง ทำให้พื้นที่การเกษตรยังคงประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ โดยพื้นที่ซึ่งมีการร้องขอฝน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ สุโขทัย ลำพูน ตาก ลำปาง แพร่ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี ลพบุรี ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีษะเกษ และจังหวัดสระแก้ว โดยมีชนิดของพืชที่ต้องการน้ำทางภาคเหนือ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ถั่วลิลง มันสำปะหลัง ส้มเขียวหวาน ภาคกลาง ได้แก่ อ้อย ข้าว ข้าวโพด ยางพารา ภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ข้าวโพด อ้อย ภาคตะวันออก ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง สำหรับการปฏิบัติภารกิจของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ในช่วงนี้ยังคงเร่งปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีพื้นที่การเกษตรที่มีการร้องขอเป็นจำนวนมาก จึงต้องพยายามให้ความช่วยเหลืออย่างทั่วถึง ซึ่งจากเดิมกรมฝนหลวงฯ มีแผนการปฏิบัติการฝนหลวง ในช่วงระหว่างวันที่ 20 กันยายน - 31 ตุลาคม 2561 เพื่อช่วยเหลือพื้นที่ขาดแคลนน้ำ และเพิ่มปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำ และเขื่อนต่างๆ จำนวน 15 แห่ง ได้แก่ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา อ่างเก็บน้ำแม่มอก อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำลาด อ่างเก็บน้ำคลองโพธิ์ อ่างเก็บน้ำทับเสลา เขื่อนกระเสียว เขื่อนห้วยหลวง เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนลำนางรอง เขื่อนลำแซะ เขื่อนลำมูลบน เขื่อนลำปลายมาศ เขื่อนลำพระเพลิง อ่างเก็บน้ำห้วยยาง และอ่างเก็บน้ำห้วยตะเคียน โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มปริมาณน้ำทั้งสิ้นจำนวน 150 ลบ.ม. ทั้งนี้ กรมฝนหลวงและการบินเกษตรได้รับการประสานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เร่งปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำให้กับอ่างเก็บน้ำและเขื่อนต่างๆ ในหลายพื้นที่ โดยจากพื้นที่เป้าหมายเดิม จำนวน 15 แห่ง เป็นจำนวน 104 แห่งทั่วประเทศ ดังนั้น จึงได้สั่งการให้นักวิทยาศาสตร์ นักบินฝนหลวง และเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ ปรับแผนการปฏิบัติการฝนหลวงโดยได้นำเครื่องบินชนิด CASA จำนวน 4 ลำ มาประจำการเพิ่ม ณ หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งแผนปฏิบัติการดังกล่าวมีช่วงจำนวนระยะเวลาการปฏิบัติน้อย ประกอบกับสภาพอากาศค่อนข้างแปรปรวน โอกาสที่จะปฏิบัติการสำเร็จตามเป้าหมายเป็นไป ได้ยาก จึงกำชับเจ้าหน้าที่ให้ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถในการปฏิบัติภารกิจ และติดตามสถานการณ์และสภาพอากาศอย่างใกล้ชิดทุกวัน โดยปัจจัยดังกล่าวเป็นความท้าทายของกรมฝนหลวงและการบินเกษตรอย่างมาก เพื่อดำเนินการให้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ในการช่วยเหลือเกษตรกรและพื้นที่ต่างๆ ให้ได้มากที่สุด

นายสุรสีห์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับภูมิภาคต่างๆ กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้รับการประสานให้เข้าปฏิบัติภารกิจช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรและเติมน้ำให้เขื่อนที่มีปริมาณน้ำน้อยอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามขอให้เกษตรกรและประชาชน มั่นใจว่ากรมฝนหลวงและการบินเกษตรได้ระดมเครื่องมือ และบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ เพื่อเข้าไปดำเนินการช่วยเหลือในพื้นที่ที่ร้องขออย่างทั่วถึง โดยจะปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องทุกวันหากมีสภาพอากาศที่เหมาะสม

ทั้งนี้ สามารถแจ้งขอรับการบริการฝนหลวงได้ที่ตัวแทนอาสาสมัครฝนหลวงในแต่ละพื้นที่ หรือแจ้งกับเจ้าหน้าที่ประจำหน่วย/ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงทั้ง 5 ภูมิภาค และทาง เพจ Facebook กรมฝนหลวงและการบินเกษตร หรือเว็บไซต์กรมฝนหลวงและการบินเกษตร

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ