DCAP ประกาศเริ่มโปรเจคท์การผลิตและจำหน่ายน้ำเย็นอาคาร SAT-1 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ให้ PLE เป็นผู้ก่อสร้างโครงการฯ

พฤหัส ๒๗ กันยายน ๒๐๑๘ ๑๔:๑๒
บริษัท ผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็น จำกัด (DCAP) ประกาศความพร้อมเริ่มต้นโครงการก่อสร้างโรงผลิตน้ำเย็น สำหรับอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 หรือ SAT-1 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยมี บริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ PLE เป็นผู้ก่อสร้างและพัฒนาโครงการ

นายสุเทพ เรืองพรวิสุทธิ์ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็น จำกัด กล่าวว่า "เนื่องจากบริษัท ผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็น จำกัด (District Cooling System and Power Plant Co., Ltd. หรือ DCAP) เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เพื่อประกอบกิจการผลิตจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่พื้นที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รวมถึงผลิตจำหน่ายน้ำเย็นสำหรับระบบปรับอากาศให้แก่อาคารต่างๆ ในบริเวณท่าอากาศยานฯ และตามมติคณะรัฐมนตรีที่อนุมัติให้บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT ดำเนินโครงการพัฒนาท่าอากาศสุวรรณภูมิ ระยะที่สอง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารจากจำนวน 45 ล้านคนต่อปี เป็น 60 ล้านคนต่อปีนั้น โดย DCAP เป็นผู้จัดหาระบบน้ำเย็นให้กับอาคาร SAT-1 ซึ่งมีความต้องการน้ำเย็นสูงสุด (Peak Demand) ประมาณ 9,000 ตันความเย็น รองรับการทำงานของระบบปรับอากาศอาคาร ซึ่ง DCAP ได้เตรียมโครงการก่อสร้างโรงผลิตน้ำเย็นให้ตั้งอยู่ใกล้กับอาคาร SAT-1 โดยใช้พื้นที่ประมาณ 2,560 ตารางเมตร มีเครื่องทำความเย็น และอุปกรณ์ผลิตน้ำเย็นชนิด Electric Chiller ขนาด 2,000 ตันความเย็น จำนวน 6 เครื่อง จะสามารถผลิตได้ 12,000 ตันความเย็น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการน้ำเย็นที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังได้มีการออกแบบให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในด้านของการประหยัดพลังงานให้ได้ 5-10% โดยได้เลือกให้บริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ก่อสร้างโครงการนี้"

ด้านนายเสวก ศรีสุชาต ประธานกรรมการ บริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวถึงโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตน้ำเย็นแห่งใหม่ของ DCAP ที่จะใช้กับอาคาร SAT-1 ว่า "โครงการก่อสร้างโรงผลิตน้ำเย็นสำหรับระบบปรับอากาศของอาคาร SAT-1 ที่เพาวเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่งได้เข้าพัฒนา ประกอบด้วย งานด้านวิศกรรมโยธา ออกแบบและก่อสร้างอาคารโรงผลิตน้ำเย็น (Chiller Plant) และหอระบบความร้อนของน้ำ (Cooling Tower) แบบ Zero-Plume โดยไม่มีไอน้ำมารบกวนทัศนวิสัยของเครื่องบิน งานด้านวิศวกรรมเครื่องกล รวบรวมและจัดทำข้อมูลทางเทคนิค Electric Chiller ขนาด 2000 RT และจัดทำ Process Flow Diagram และ Drawing ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง งานด้านวิศวกรรมไฟฟ้า ออกแบบติดตั้งระบบไฟฟ้า ติดตั้งหม้อแปลงกำลังไฟฟ้า และระบบไฟฟ้าภายในโรงผลิตน้ำเย็น และสุดท้ายคืองานวิศวกรรมระบบควบคุม ซึ่งได้ออกแบบเป็น Chiller Plant Control System Configuration มีการควบคุมจากศูนย์กลาง และการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ Chiller Unit การเชื่อมต่อข้อมูลของโรงผลิตน้ำเย็นกับระบบ BMS โดยทีมงานเพาเวอร์ไลน์มีความมุ่งมั่นและตั้งใจที่จะดำเนินการและส่งมอบงานให้ได้อย่างมีคุณภาพ และตามเวลาที่กำหนด"

ทั้งบริษัท ผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็น จำกัด (DCAP) และ บริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หวังว่าการร่วมมือในโครงการก่อสร้างโรงผลิตน้ำเย็น สำหรับอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 หรือ SAT-1 ครั้งนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมขับเคลื่อนและพัฒนาศักยภาพของท่าอากาศสุวรรณภูมิให้พร้อมรับผู้โดยสารได้ตามเป้าหมาย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม