ITD ร่วมกับ UNCTAD เปิดตัว “รายงานการค้าและการพัฒนา 2561”

พฤหัส ๒๗ กันยายน ๒๐๑๘ ๑๕:๓๓
สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) หรือ ITD ร่วมกับที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ อังค์ถัด (UNCTAD) เปิดตัว "รายงานการค้าและการพัฒนา 2561" (Trade and Development Report 2018) ซึ่งเป็นการเปิดเผยผลการวิเคราะห์แนวโน้มการค้าและการพัฒนาของโลกให้แก่ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในไทยได้ทราบพร้อมกัน ทั่วโลก

POWER: Multilateral Platform-WTO ,World Bank

รายงาน กล่าวถึง อำนาจการต่อรอง และขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีการค้าโลกในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ได้ส่งสัญญาณถึงการสืบเนื่องของผลกระทบของกระแสโลกาภิวัตน์ที่รุนแรงมาก(hyperglobalization) ที่ระบุไว้ในรายงานการค้าและการพัฒนาประจำปี 2560 : Trade and Development Report 2017 ที่กล่าวถึงเรื่อง การก้าวผ่านความเข้มงวด : มุ่งสู่โลกาภิวัฒน์แห่งข้อตกลงใหม่ : Beyond Austerity : Towords a Global New Deal

ทั้งนี้ ประเทศต่างๆควรหันมาสร้างความร่วมมือกันในระดับภูมิภาค การเพิ่มการลงทุนระยะยาวผ่านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน หลังจากที่ภาคเอกชนไม่ได้ลงทุนเพื่อผลตอบแทนในระยะยาวแล้วประเทศกำลังพัฒนาต่างขยายพื้นที่พิเศษเพื่อดูแลกระบวนการทางการค้าและกระบวนการเพื่อการส่งออก เป็นการส่งเสริมให้รวมเอางานจากหลายๆบริษัทให้เข้ามาอยู่ในห่วงโซ่มูลค่าโลก ( Global Value Chains : GVCs ) แต่บ่อยครั้งก็พบว่า GVCs กลายเป็นยุทธศาสตร์ของบริษัทข้ามชาติ ที่สร้างเครือข่าย และออกแบบระบบบนเงื่อนไขของตัวเอง ด้วยการกำหนดหลักการเพิ่มมูลค่า และการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา จนทำให้มูลค่าสินค้าจะสูงขึ้นเมื่อผ่านกระบวนการของผู้ส่งออก ทำให้ผู้ผลิตสินค้านั้นๆซึ่งก็คือกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาจะได้ประโยชน์เพียงน้อยนิด ซึ่งปัจจุบันจะสามารถสังเกตจากแนวโน้มของรายได้ของประเทศพัฒนาแล้วในส่วนรายได้ Royalty ที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน

PLATFORMS : GVCs ,Digital Platform

อังค์ถัด ได้เสนอว่า ประเทศกำลังพัฒนาที่เดิมคาดหวังไว้สูงว่าจะต้องได้ประโยชน์จากการค้าระหว่างประเทศนั้น ก็อาจผิดหวังได้หากไม่มีการจัดการเพื่อให้เข้าสู่การเพิ่มมูลค่าด้วย GVCs และการลงทุนเพิ่มขีดความสามารถการผลิตและโครงสร้างพื้นฐานประเทศกำลังพัฒนาจึงต้องใช้ข้อดีของยุคดิจิทัลที่มีข้อมูลอันชาญฉลาด ที่ถูกสร้างขึ้นจากชุดคำสั่งตามขั้นตอนปฏิบัติงานในคอมพิวเตอร์ (Algorithms) จึงทำให้มี "บิ๊กดาต้า : Big Data" ที่จะช่วยบริษัทขนาดใหญ่ไม่ว่าจะเป็นบริษัทด้านดิจิทัลหรืออื่นๆ ให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น สามารถขยายและกำหนดความร่วมมือต่อห่วงโซ่การผลิตที่ซับซ้อนได้ ภายใต้เงื่อนไขนี้สามารถส่งเสริมให้บรรลุเป้าหมายได้ด้วยฮาร์ดหรือซอฟ ดิจิทัล

อย่างไรก็ตาม ยุคดิจิทัล ไม่ใช่ว่าจะมีแต่เรื่องราวที่ดี เพราะสิ่งที่เป็นข่าวร้ายแห่งยุคดิจิทัลคือ ดิจิทัลมีช่องว่างทางธุรกิจที่กว้างขึ้น จากสถิติระบุว่า มี บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ระดับโลก(พิจารณาจากมูลค่าตลาด) จำนวนทั้งหมด 25 แห่ง โดยในจำนวนนี้มี 14 แห่ง เป็นบริษัทจากสหรัฐฯ 3 แห่ง เป็นบริษัทมาจากยุโรป 3 แห่งบริษัทมาจากจีน และ 4 แห่งบริษัทจากเอเชียอื่นๆที่ไม่ใช่จีน และ 1 แห่งเป็นบริษัทจากแอฟริกา

"จะเห็นว่าขนาดของช่องว่างเพิ่มขึ้นและรวดเร็วขึ้น เนื่องมาจากวิวัฒนาการของดิจิทัล ทำให้เรามีข้อมูลที่มีคุณค่าเสมือนมีแนวคิด(Idea) และองค์ความรู้ ซึ่งไม่เหมือนกับสิ่งที่การค้าสินค้า และบริการทางกายภาพทั่วไปทำได้ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวหากได้รับการจัดการอย่างถูกต้องจะสามารถใช้กระตุ้นผู้ซื้อได้อีกมหาศาล" รายงานระบุสิ่งท้าทายที่ภาคธุรกิจกำลังเผชิญ 2 ประการ ได้แก่ 1. การแปลงทรัพยากรที่ด้อยค่าให้กลายเป็นสิ่งมีค่า 2. การรู้จักขนาดของเศรษฐกิจอย่างแท้จริงด้วยการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกัน ทั้งนี้ หากภาคธุรกิจทำสองสิ่งนี้ได้ ผลที่ได้มาคือ "ธุรกิจไร้ขีดจำกัด" (limitless)

THE FREE TRADE :

ภายใต้ภาวะที่เป็นอยู่นี้ ก็ยังพบว่าโลกต้องเผชิญกับความไม่สมดุลมากขึ้น สังคม ภาคผลิต GVCs ภาคแรงงาน ภาคการค้า (ดุลการค้า) ภาครัฐ (รายได้จากภาษีและนโยบายการคลัง) แม้จะต้องเพิ่มกฎระเบียบทางการคลัง กำหนดกฎหมายแห่งโลกดิจิทัล แต่ก็ดูเหมือนว่า "ระบบการค้าพหุภาคี (Multilateral Trade system) " ก็กำลังเดินมาถึงทางตันเกิดคำถามว่ากลุ่มเศรษฐกิจใดจะเป็นตัวนำการค้าโลกในปีนี้ รายงานระบุถึงกลุ่มเศรษฐกิจกำลังพัฒนาว่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นในไตรมาสแรกปี 2561 จากการพัฒนาของจีน และอินเดีย ทิศทางราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่กำลังฟื้นตัว

อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากสงครามการค้าที่กำลังขยายตัวจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะสร้างความเสียหายให้กับการเติบโตทางเศรษฐกิจ การกระจายรายได้ และการจ้างงาน ต่อทุกๆประเทศสมมติฐานแห่งที่มาของสงครามการค้าจำนวน 4 ประการได้แก่

1. การตั้งกำแพงภาษี เพื่อลดดุลการค้า สหรัฐถูกประเมินว่าที่จะขึ้นกำแพงภาษี 20% ต่อทั้งหมดของการนำเข้าจากจีน และสองในสามของการนำเข้าจาก แคนาดา ญี่ปุ่น เม็กซิโก เกาหลี และสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นคาดการณ์ได้ว่าจีน และประเทศเหล่านี้จะตอบโต้กันไปมาด้วยการขึ้นกำแพงภาษี

2. การแสวงหารายได้ทางภาษีเพิ่ม มาตรการการชดเชยหลังรายได้จากผู้ส่งออกของประเทศต่างๆ ที่เดิมจ่ายภาษีให้กับอีกประเทศหนึ่ง แต่เมื่อการค้าลดลงก็ย่อมต้องหารายได้จากส่วนอื่นมาชดเชย เพื่อลดผลกระทบจากการตั้งกำแพงภาษี ถือว่าเป็นแนวทางที่นำมาใช้เพื่อรักษาอัตราการจ้างงานในประเทศ และเพิ่มรายได้ ของประเทศที่สูญเสียไป

3. การอ่อนลงของค่าเงิน มีการนำมาตรการลดอัตราแลกเปลี่ยนรูปแบบต่างๆมาใช้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมาตรการชั่วคราว เช่น หลายประเทศเลือกที่จะผูกพันเงินสำรองไว้กับค่าเงินหลัก เช่น ดอลลาร์สหรัฐ แต่ปัญหาสงครามการค้ากำลังทำให้หลายปีจากนี้แนวโน้มค่าเงินดังกล่าวลดลง

4. อัตราจ้างงาน และต้นทุนการผลิต สืบเนื่องจากผลกระทบส่งครามการค้าโลกเมื่ออัตราแลกเปลี่ยนลดลงรายได้ที่เข้าสู่ประเทศก็ลดลงส่งผลต่อต้นทุนการผลิตที่เกิดการเรียกร้องการขึ้นอัตราจ้างแรงงาน ทำให้สินค้าราคาแพงขึ้นและเกิดเงินเฟ้อในที่สุด

"สงครามการค้าเป็นอันตรายต่ออัตราเติบโต การกระจายรายได้ และการจ้างงาน ในหลายๆประเทศ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการตอบโต้กันไปมาในการตั้งกำแพงภาษี ซึ่งสหรัฐจะเจอการลดลงของดุลบัญชีเดินสะพัด ขณะที่จีนและประเทศอื่นๆ จะได้รับผลกระทบในทางตรงกันข้าม ทั้งนี้การลดลงของภาคการส่งออกสหรัฐ มีผลต่อการบริโภคและการลงทุนระดับโลกที่จะเปลี่ยนแปลงไป แน่นอนว่าแนวโน้มที่ลดลงจะส่งผลต่อประเทศกำลังพัฒนาที่จะมีการส่งออกที่ลดลงตามไปด้วย"รายงานระบุ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version