ดีเอสเอ็มผนึกกำลังสตาร์บอร์ดเปิดตัวกระดานโต้คลื่นรักษ์โลกครั้งแรกจากขยะใต้ท้องสมุทร

ศุกร์ ๒๘ กันยายน ๒๐๑๘ ๑๖:๒๙
รอยัล ดีเอสเอ็ม บริษัทยักษ์ใหญ่ผู้นำทางด้านเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ ผลิตภัณฑ์โภชนาการและสุขภาพ เพื่อการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน ร่วมกับ สตาร์บอร์ด ผู้นำทางด้านอุปกรณ์กีฬาทางน้ำระดับโลก ผู้ผลิตไม้พาย กระดานโต้คลื่น วินเซิร์ฟ และไคท์บอร์ด ประกาศความร่วมมือกันในการรวบรวมอวนประมง ขยะจากท้องสมุทรอินเดียเพื่อนำไปเป็นรีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์รักษ์โลกต่างๆ อาทิ ชิ้นส่วนของกระดานโต้คลื่น เพื่อลดปริมาณขยะตามชายหาด และลดมลพิษทางทะเล พร้อมส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับชุมชนในประเทศอินเดีย

ดีเอสเอ็ม และ สตาร์บอร์ด ด้วยปณิธานในการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่สะอาดและระบบเศรษฐกิจปราศจากสิ่งเหลือใช้ (circular economy) ได้ร่วมกันผลิตกระดานโต้คลื่นรักษาสิ่งแวดล้อมขึ้นเป็นครั้งแรก โดยกระดานโต้คลื่นดังกล่าวนี้ผลิตจากอวนประมง ขยะเหลือใช้ทางทะเลจากมหาสมุทรอินเดียและทะเลอาหรับ จากเทคโนโลยีขั้นสูงที่พัฒนาขึ้นโดยบริษัทดีเอสเอ็ม Akulon(R) RePurposed ที่นำเอาวัสดุรีไซเคิลจากทะเลมาผลิตเป็นวัสดุเกรดโพลีเอไมด์ที่มีคุณสมบัติแข็งแรงและทนทาน มาใช้ในการผลิตกระดานโต้คลื่นและอุปกรณ์ต่างๆ รวมไปถึงอุปกรณ์ดำน้ำ อาทิ ครีบหาง กล่องใส่ครีบหาง เอสยูพีปั๊ม ตลอดจนชิ้นส่วนต่างๆของกระดานโต้คลื่น ภายใต้แบรนด์ NetPositive! โดยสตาร์บอร์ด

"ที่ ดีเอสเอ็ม กลยุทธ์ของเราประกอบด้วยการพัฒนาโซลูชั่นและความร่วมมือเชิงนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ด่อเศรษฐกิจแบบครบวงจร ที่สอดคล้องกับเป้าหมายในการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN) เพื่อแก้ปัญหาการแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ ความขาดแคลนทางด้านทรัพยากร มลพิษ และ ขยะ เรามองไกลไปกว่ารูปแบบการผลิตสินค้าในปัจจุบันที่เป็นการผลิตสินค้าแบบใช้แล้วทิ้ง โดยพยายามเลียนแบบธรรมชาติและวงจรชีวิตให้ได้มากที่สุด อย่างเช่นความร่วมมือในครั้งนี้กับบริษัทสตาร์บอร์ดที่เราได้นำเอาขยะเหลือใช้จากทะเลกลับมาสร้างวัสดุที่มีมูลค่าสูงซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้งเมื่อหมดอายุการใช้งานของมัน" แมท เกรย์ ผู้อำนวยการฝ่ายคอมเมอร์เชียล เอเชีย แปซิฟิก ดีเอสเอ็ม เอ็นจิเนียริ่ง พลาสติก กล่าว

"หนึ่งในความภูมิใจสูงสุดในงานของเราก็คือความท้าทายในการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่นำไปสู่การพัฒนาที่ดีขึ้น" ซเวน แรสมูเซน ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ บริษัทสตาร์บอร์ด กล่าว "ด้วยความร่วมมือกับดีเอสเอ็ม ในครั้งนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงวิธีง่ายๆและรวดเร็วในการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตกระดานโต้คลืนรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นให้กับโลกของเรา ซึ่งเรามุ่งมั่นในการคิดค้นนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง"

ความร่วมมือในครั้งนี้นอกจากจะเป็นการกำจัดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมแล้วนั้น การจัดเก็บ คัดแยก ทำความสะอาด และแปรรูปอวนประมงที่ถูกทิ้งในทะเลนั้นยังเป็นการสร้างวิถีชีวิตที่ยั่งยืนให้กับชุมชนท้องถิ่นอีกหลายแห่งในประเทศอินเดียอีกด้วย

จากรายงานของสหประชาชาติ (UN) พบว่า ขยะพลาสติกกว่าแปดล้านตันจะถูกทิ้งลงในมหาสมุทรก่อให้เกิดความเสียหายต่อสัตว์ที่อาศัยอยู่ในทะเลและการประมง ซึ่งสร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศทางทะเลไม่น้อยกว่าแปดพันล้านเหรียญสหรัฐ และขยะจากอวนประมงนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาเหล่านี้ นอกจากนี้องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ยังมีรายงานว่า ขยะอวนประมงที่ถูกทิ้งไว้ในทะเลนั้นจะไม่ย่อยสลายไปและยังคงอยู่ในระบบนิเวศเป็นเวลาอีกหลายร้อยปี โดยผู้เชี่ยวชาญคาดว่าปัจจุบันนั้นมีขยะอวนประมงกว่า 640,000 ตัน ถูกทิ้งลงสู่ทะเล หรือเกือบ 10 เปอร์เซ็นต์ของขยะพลาสติกในมหาสมุทรเลยก็ว่าได้

"ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นบทพิสูจน์ถึงความมุ่งมั่นในการเป็นผู้นำเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนของบริษัทดีเอสเอ็ม ซึ่งสอดคล้องกับกลยุทธ์และวิสัยทัศน์ในการดำเนินบริษัท เราหวังว่าความสำเร็จในการคิดค้นพัฒนานวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมของเราร่วมกับบริษัทสตาร์บอร์ดในครั้งนี้จะเป็นตัวอย่างที่ดีที่นำไปสู่ความร่วมมือกันในการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆเพื่อสิ่งแวดล้อมและระบบเศรษฐกิจแบบครบวงจรให้กับสังคมสืบต่อไป" แมท เกรย์ ผู้อำนวยการฝ่ายคอมเมอร์เชียล เอเชีย แปซิฟิก ดีเอสเอ็ม เอ็นจิเนียริ่ง พลาสติก กล่าว

เกี่ยวกับ ดีเอสเอ็ม – วิทยาการเพื่อชีวิตที่ดีกว่า (Bright Science. Brighter Living)

บริษัท รอยัล ดีเอสเอ็ม เป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ ผลิตภัณฑ์โภชนาการและสุขภาพ เพื่อการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน ที่มีเป้าหมายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนควบคู่ไปกับการพัฒนาทางด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม เพื่อสร้างมูลค่าที่ยั่งยืนกลับคืนสู่สังคม ดีเอสเอ็มนำเสนอโซลูชั่นทางธุรกิจที่เป็นนวัตกรรมทางด้านโภชนาการสำหรับมนุษย์และสัตว์ ผลิตภัณฑ์สำหรับบุคคลและอโรม่า อุปกรณ์การแทพย์ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนความเคลื่อนไหวและการเชื่อมต่อใหม่ๆให้กับสังคม ดีเอสเอ็มและบริษัทในเครือมียอดขายสุทธิรายปีประมาณ 10 พันล้านยูโร มีพนักงานประมาณ 23,000 คน โดยบริษัทมีการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์Euronext Amsterdam

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.dsm.com

เกี่ยวกับสตาร์บอร์ด

บริษัทสตาร์บอร์ดมีสาขาอยู่ที่กรุงเทพ ประเทศไทย เป็นบริษัทที่ผลิตวินด์เซิร์ฟ กระดานโต้คลื่นและไม้พายที่ดีที่สุดในโลก ตั้งแต่ พ.ศ. 2537 ซึ่งได้รับความไว้วางใจจากนักเซิร์ฟและผู้ชนะการแข่งขันจากทั่วทุกมุมโลก สตาร์บอร์ดมุ่งมั่นในการผลิตคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆและพัฒนาคุณภาพของสินค้าสำหรับกีฬาทางน้ำ อีกทั้งยังผลักดันขีดจำกัดต่างๆในการเพิ่มความเป็นไปได้ให้กับอุตสาหกรรมกีฬาทางน้ำ สตาร์บอร์ดมีวิสัยทัศน์การดำเนินธุรกิจในการเปลี่ยนขยะพลาสติกกลับมาใช้ใหม่เพื่อสร้างระบบสิ่งแวดล้อมที่ดีและปลอดภัย มาเป็นสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกลับคืนสู่สังคม เพื่อให้ผู้ชื่นชอนกีฬาทางน้ำได้สนุกสนานไปกับทะเลที่สะอาดปราศจากมลพิษจากขยะพลาสติก

ท่านดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.star-board.blue

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version