พลังชุมชนหนุน “ลด-ละ-เลิกบุหรี่” ที่ตำบลท่าเรือ

พฤหัส ๑๑ ตุลาคม ๒๐๑๘ ๐๙:๑๕
ข้อมูลและสถานการณ์ผู้สูบบุหรี่ในประเทศไทยจากสำนักงานสถิติแห่งชาติได้สำรวจไว้ล่าสุดเมื่อ ปี พ.ศ. 2560 พบว่าว่ามีผู้สูบบุหรี่ทั้งหมด 10.7 ล้านคน คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 19.1 ของประชากรทั้งหมด และมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 20.7 ในปี 2557 แต่กลุ่มผู้สูบอายุ 15 ปีขึ้นไปยังลดลงไม่มากนัก และพบว่ากลุ่มผู้ที่ติดบุหรี่มากที่สุดของประเทศนั้นอยู่ในพื้นที่ภาคใต้

ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพื้นที่หนึ่งที่มีผู้สูบบุหรี่จำนวนมาก ภาคีเครือข่ายในชุมชนจึงได้ร่วมใจกันดำเนิน โครงการ "การเฝ้าระวังป้องกันเพื่อควบคุมยาสูบโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน บ้านไม้แดง ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช" โดยการสนับสนุนของ สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

อุไรวรรณ พานทอง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.สต.บ้านไม้แดง ให้ข้อมูลว่าเมื่อปี พ.ศ. 2558 หมู่บ้าน 7 แห่งในพื้นที่ดำเนินงานมีประชากร 7,000 กว่าคน พบว่ามีผู้สูบบุหรี่อายุ 15 ปีขึ้นไปจำนวน 1,402 คน หรือร้อยละ 21.22 และยอมรับว่าแต่เดิมการใช้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการรณรงค์แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ต่อมาเมื่อใช้ประชาชนในชุมชนเป็นฐาน ใช้แกนนำชาวบ้านมาร่วมกันคิดร่วมกันทำ ทำให้เกิดกระบวนการแก้ปัญหาที่ชาวบ้านมีส่วนร่วม

"ก่อนเริ่มโครงการให้ อสม.ไปสำรวจข้อมูล และมีลูกเด็กเล็กแดงในครอบครัวก็จะมีผู้ได้รับผลกระทบจากบุหรี่มือสองอีก 2-3 เท่า วิธีการดำเนินงานของเราคือใช้ชุมชนเป็นฐานทั้งมาตรการ นโยบาย กลุ่มเป้าหมายคือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียซึ่งก็คือทุกคนที่อยู่ในชุมชน แกนนำก็จะได้รับการอบรมการกดจุดลดบุหรี่ อบรมให้รู้ถึงข้อดีข้อเสีย โดยเราได้สร้างทีมงานขึ้นมาด้วย เริ่มตั้งแต่การสำรวจ การคืนข้อมูล ทำประชาคม พัฒนาแกนนำขึ้นมา แล้ววางแผนออกแบบว่าจะทำอย่างไร มีขั้นตอนอย่างไร ร่วมกันดำเนินการตามแผน ติดตามประเมินผล ถอดบทเรียน"พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.สต.บ้านไม้แดง กล่าว

อุไรวรรณบอกยังบอกอีกว่า การสำรวจข้อมูลได้ดำเนินการโดยอาสาสมัคร เจ้าหน้าที่ชุมชนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 พบว่าส่วนใหญ่ผู้ชายจะสูบมากกว่าผู้หญิงเพราะวัฒนธรรมคนใต้ นิยมสูบใบจากนั่งดูนกดูปลาหรือไปเลี้ยงวัว ส่วนมากเป็นยาเส้น ใบจาก หรือใบชุมเห็ดที่มียาเส้นอยู่ข้างใน ส่วนที่เป็นนักสูบหน้าใหม่เป็นวัยรุ่นมีอยู่ร้อยละ 50 เมื่อรู้กลุ่มเป้าหมายอาสาสมัครก็จะเข้าหาหลายๆ กลุ่ม โดยใช้กระบวนการที่ไม่เหมือนกัน

"ถ้าเป็นนักสูบหน้าใหม่เราลงไปที่โรงเรียนใช้กระบวนการรณรงค์ กลุ่มเสี่ยงอีกอย่างที่มารับบริการตรวจวัดความดัน เบาหวานทั้งที่เป็นคนไข้หรือญาติจะใช้กระบวนการให้แกนนำที่อยู่เวรสอนการนวดกดจุด การจัดกิจกรรมในงานประเพณีต่างๆ ที่มีผู้มาร่วมกิจกรรมมากๆ เราจะไปออกบูธ แกนนำไปช่วยกันรณรงค์ บริการนวดฝ่าเท้า แจกเอกสาร ทำรรณงค์ร่วมกับกลุ่มจักรยานอย่างต่อเนื่อง รณรงค์ร้านค้าปลอดบุหรี่ ให้ อสม.ไปชักชวนในจำนวน 50 ร้านค้าเข้ามาร่วม 44 ร้านค้า เรามีกิจกรรมเยี่ยมติดตามถอดบทเรียนเป็นระยะถ้าพบปัญหาก็จะมาแก้ไขกัน รายไหนไม่สามารถเลิกได้ก็ให้มาปรึกษาเรา มีการประชาสัมพันธ์ แจกแผ่นพับ เสียงตามสาย วิทยุชุมชน กิจกรรมครอบครัวปลอดบุรี่ในช่วงปิดเทอมนำเด็กมาอบรม สอนการนวดกดจุดให้พ่อ มีการถอดบทเรียนใช้คนที่สูบ คนที่กำลังจะสูบ ผู้นำชุมชนมาร่วมกันพูดคุยแก้ปัญหา เราใช้บุคคลต้นแบบแนะนำคนอื่นได้ มีครอบครัวต้นแบบ อย่างกรณีแม่มาฝากครรภ์ เราจะบอกแม่ไปบอกสามีให้ลดละเลิกเพื่อเด็กที่จะเกิดหรือเด็กอ่อนลูกของเขาซึ่งได้ผลดี" อุไรวรรณอธิบายถึงการทำงานในพื้นที่ๆ ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี

ผลจากการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ ลุงเจริญ เต็มรัตน์ อายุ 72 ปีในวันนี้กลายเป็นแบบอย่างผู้ที่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้อย่างเด็ดขาดไม่หวนกลับไปสูบอีกเลย และยังทำหน้าที่ชักชวนให้คนอื่นๆในชุมชนลดละเลิกบุหรี่เพราะไม่เป็นผลดีต่อตัวเอง

"ลุงเริ่มสูบยาเส้นตั้งแต่อายุ 20 ปี เพราะเห็นคนข้างบ้านสูบ มาเลิกเมื่ออายุ 70 ปี สูบมา 50 ปี ระยะหลังซื้อยาสูบเป็นซอง เคยไปตรวจสุขภาพรู้สึกเหนื่อยมากขึ้น จึงตัดสินใจเลิกบุหรี่ด้วยตัวเองอย่างเด็ดขาด ปกติมีโรคประจำตัวเป็นความดันสูง คุณหมอก็แนะนำให้เลิกสูบ พอเลิกสูบทำให้ร่างกายดีขึ้น รู้สึกว่าแข็งแรงขึ้น คนรอบข้างก็ดีใจรู้สึกภูมิใจที่เลิกบุหรี่ได้" ลุงเจริญ กล่าว

ทางด้าน พ.ต.ท.ณัฐพงศ์ ณ อุบล สารวัตรป้องกันปราบปราม สถานีตำรวจภูธรชะเมา หนึ่งในภาคีกล่าวว่าปกติสถานีตำรวจดำเนินโครงการโรงพักปลอดบุหรี่ ขับเคลื่อนมาตั้งแต่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำหรับพื้นที่ตำบลท่าเรือทางสถานีตำรวจได้ร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ไปพร้อมกันด้วย

"มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์บทลงโทษการสูบบุหรี่ในที่ห้ามสูบ การสุ่มตรวจร้านค้า และยอมรับว่าชาวบ้าน ญาติผู้ต้องหาที่มาติดต่อราชการในโรงพักอาจไม่ตระหนัก แต่ก็จะให้เจ้าหน้าสิบเวรคอยตักเตือนก่อนโดยจะไม่บังคับใช้กฎหมายทันที ส่วนมาตรการดูแลร้านค้าไม่ให้ทำผิดกฎหมายเมื่อมีเจ้าหน้าที่ออกตรวจสถานการณ์ก็จะเข้าสุ่มตรวจและเน้นย้ำไม่ให้จำหน่ายบุหรี่แก่เด็กหรือแบ่งขายเด็ดขาด" สารวัตรณัฐพงศ์ ระบุ

ภายหลังการการดำเนินโครงการพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมโครงการเลิกบุหรี่ได้ 625 คน (ร้อยละ 44.5) ผู้ที่เลิกบุหรี่สำเร็จเกิน 1 เดือนร้อยละ 32.2 เลิกบุหรี่เกิน 3 เดือนร้อยละ 28.4 เลิกบุหรี่เกิน 6 เดือนร้อยละ 19.3 เลิกบุหรี่เกิน 1 ปีร้อยละ 10.9 มีนักสูบหน้าใหม่ที่เข้าร่วมโครงการร้อยละ 29.30 และเลิกสูบสำเร็จร้อยละ 30.67 มีสถานศึกษาต้นแบบปลอดบุหรี่ 1 โรงเรียน โรงพักหรือสถานีตำรวจปลอดบุหรี่ 1 แห่ง ร้านค้าปลีกเข้าร่วมโครงการไม่จำหน่ายบุหรี่แก่เยาวชนหรือแบ่งขายจำนวน 45 ร้าน

ผลดีต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับสมากชิกทุกคนในชุมชนแห่งนี้จากการที่สมาชิกในครอบครัวหันมาลด ละ เลิกบุหรี่นั้น ทำให้ปัจจุบันแม้ว่าโครงการจะสิ้นสุดลงแล้ว แต่ชุมชนบ้านท่าเรือก็เห็นตรงกันว่าจะร่วมกันดำเนินการอย่างรณรงค์ในเรื่องของบุหรี่อย่างต่อเนื่องตลอดไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version