กรมประมง…เปิดโต๊ะแถลงข่าว การนำเสนอ “ปลากัด” เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ

พฤหัส ๑๑ ตุลาคม ๒๐๑๘ ๑๕:๕๕
เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2561 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุม 123 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

กรมประมง...เปิดโต๊ะจัดแถลงข่าวการนำเสนอ "ปลากัด" เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ โดยมีนางสาวอรมรรัตน์ เสริมวัฒนากุล ผู้ทรงคุณวุฒิกรมประมง และนายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการกองนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาการประมง ร่วมแถลงข่าวในครั้งนี้

นางสาวอมรรัตน์ เสริมวัฒนากุล ผู้ทรงคุณวุฒิกรมประมง กล่าวว่า "ปลากัด" เป็นสัตว์น้ำสวยงามอีกชนิดหนึ่งที่กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ความสำคัญในการยกระดับและส่งเสริมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันสินค้าภาคการเกษตรของไทย ซึ่งเป็นการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ออกสู่ตลาด เนื่องจากปลากัดไทยเป็นสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มการเติบโตทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง ภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 จนปลากัดของไทยกลายเป็นที่ยอมรับและมีชื่อเสียงในระดับสากล

กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เล็งเห็นศักยภาพดังกล่าว จึงได้ผลักดันให้ปลากัดเป็นสัตว์น้ำประจำชาติ เพื่อเป็นการแสดงถึงอัตลักษณ์ให้สัตว์น้ำสวยงามไทย ที่มีตำนานเกี่ยวพันกับวิถีชีวิตสังคมและวัฒนธรรมไทยมายาวนานกว่า 667 ปี จนถึงปัจจุบันยังคงมีการสืบสานการเลี้ยงปลากัดในแทบทุกจังหวัด ทั้งการเลี้ยงเพื่ออนุรักษ์สายพันธุ์ การเลี้ยงเป็นงานอดิเรก และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ซึ่งเป็นการสานสัมพันธ์ของคนในครอบครัวและชุมชน ขณะเดียวกันยังมีการพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์และขยายสู่เชิงพาณิชย์ สามารถสร้างอาชีพหลักและสร้างรายได้เสริม ตลอดจนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน นำรายได้เข้าประเทศปีละไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท

นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการกองนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาการประมง กล่าวถึงการดำเนินการในปัจจุบันว่า ขณะนี้กรมประมงได้พยายามดำเนินการขับเคลื่อนให้มีการประกาศให้ปลากัดเป็นสัตว์น้ำประจำชาติอย่างเต็มที่ หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติเห็นชอบตามมติการประชุมครั้งที่ 2/2560 เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2560 ซึ่งที่ผ่านมา กรมประมงได้มีการนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา ซึ่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเห็นควรให้นำเรื่องดังกล่าวเสนอให้คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติพิจารณาก่อน ปรากฏว่า คณะกรรมการฯ เห็นควรให้มีการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เพื่อประโยชน์ทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมประมงจึงได้รับเรื่องดังกล่าวมาทบทวนตามข้อเสนอแนะ และได้มีการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม รวมทั้งหารือกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา พบว่า ปลากัดไม่สามารถจดทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ได้

อย่างไรก็ตาม กรมประมง ยังเห็นถึงความสำคัญของการที่จะนำเสนอให้ปลากัดเป็นสัตว์น้ำประจำชาติ จึงได้มุ่งมั่นค้นคว้ารวบรวมรายละเอียดเพิ่มเติมอย่างรอบคอบและละเอียดถี่ถ้วนต่อไป เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความสมบูรณ์ในทุกมิติ ทั้งมิติด้านประวัติศาสตร์ที่ได้รับการบันทึก มิติด้านศิลปวัฒนธรรมและประเพณี มิติด้านสังคมและเศรษฐกิจ เป็นต้น ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวอาจต้องใช้ระยะเวลา เนื่องจากมีขั้นตอนตามระบบราชการ ซึ่งกรมประมงจะพยายามขับเคลื่อนอย่างเต็มที่ โดยขณะนี้กรมประมงพร้อมที่เสนอให้คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ