หัวเว่ย เปิดตัวโครงการ AI Developer Enablement Program

ศุกร์ ๑๒ ตุลาคม ๒๐๑๘ ๑๗:๔๒
หัวเว่ย ประกาศเปิดตัวโครงการ AI Developer Enablement Program ที่งาน HUAWEI CONNECT 2018 โครงการนี้จะเปิดโอกาสให้หัวเว่ยได้ร่วมงานกับเหล่านักพัฒนา พันธมิตร มหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัยต่าง ๆ โดยหัวเว่ยจะใช้โครงการดังกล่าวเพื่อยกระดับระบบนิเวศสำหรับการพัฒนาที่รองรับเทคโนโลยี AI อย่างรอบด้านไม่ว่าจะเป็นทรัพยากร แพลตฟอร์ม หลักสูตร และโซลูชั่น โดยหัวเว่ยมีเป้าหมายที่จะทำงานร่วมกับพันธมิตร เพื่อสร้างระบบนิเวศ AI ในราคาที่เอื้อมถึง มีประสิทธิภาพ น่าเชื่อถือ และครอบคลุม

เจิ้ง เหย่ไหล รองประธานของหัวเว่ย และประธานธุรกิจคลาวด์ของหัวเว่ย เปิดเผยว่า โครงการ AI Developer Enablement Program ของหัวเว่ย ทำหน้าที่เป็นเวทีการสื่อสารทางเทคนิค การฝึกอบรมบุคลากร และการนำเสนอนวัตกรรมใหม่ ๆ แก่เหล่านักพัฒนา ติวเตอร์ และพาร์ทเนอร์ของหัวเว่ย

โครงการประกอบด้วยกิจกรรมสำหรับนักพัฒนา ดังนี้:

- โปรแกรมฝึกอบรมเบื้องต้นฟรี 20 ชั่วโมง

- ค่ายฝึกอบรม AI พื้นฐาน 3 สัปดาห์

- โปรแกรมประกวดสำหรับนักพัฒนา AI

- ค่ายบ่มเพาะนวัตกรรมสำหรับบุคคลมากความสามารถ เพื่อช่วยผลักดันความสำเร็จจากการวิจัยและพัฒนาเป็นการใช้งานในเชิงการค้า

หัวเว่ยจะให้การสนับสนุนพันธมิตร ดังนี้:

- สร้างโซลูชั่นร่วมกันบนแพลตฟอร์มการพัฒนาและแพลตฟอร์มประมวลผล AI ของหัวเว่ย เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้งาน AI ในหลายภาคอุตสาหกรรม

- จัดตั้งกลุ่มพันธมิตรส่งเสริม AI เพื่อสร้างห้องปฏิบัติการนวัตกรรมร่วม

- จัดหาอุปกรณ์สนับสนุนการพัฒนา 1000 ชุดโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งรวมถึงแผงวงจรและโมดูล

- จัดหาทรัพยากรบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญ ส่งเสริมการแก้ปัญหาร่วมกัน ตลอดจนสนับสนุนการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ AI และการใช้งานทางเทคนิคให้กับพันธมิตรรายแรก ๆ กว่า 20 ราย

- แบ่งปันทรัพยากรทางการตลาดร่วมกับพันธมิตรรายอื่น ๆ และทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อขยายตลาด

โครงการครอบคลุมแผนพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถด้าน AI สำหรับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัย ดังนี้:

- ลงทุนกว่า 140 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (รวมถึงทรัพยากร HUAWEI CLOUD AI และชุดโปรแกรม AI) ในการพัฒนาความรู้ให้กับผู้มีความสามารถด้าน AI

- ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อพัฒนาหลักสูตร AI จัดพิมพ์ตำราเรียน ตลอดจนสนับสนุนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และการฝึกอบรมผู้มีความสามารถ

- ช่วยมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยสร้างวิทยาลัยและสถาบัน AI พร้อมให้ความช่วยเหลือในการสร้างแล็บ AI และมีส่วนร่วมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับ AI ที่จัดขึ้นโดยกระทรวงศึกษาธิการ

- ช่วยมหาวิทยาลัยในเรื่องการฝึกอบรมอาจารย์สอนวิชา AI โดยนักศึกษาสามารถเข้าสอบเพื่อขอประกาศนียบัตรรับรองด้าน AI จากหัวเว่ย

- สนับสนุนการมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัยในชุมชนคลาวด์ของหัวเว่ย พร้อมสร้างแพลตฟอร์มรองรับการสื่อสารระหว่างมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย และผู้เชี่ยวชาญด้าน AI ของหัวเว่ย

- เปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยได้สัมผัสกับขุมกำลังประมวลผลและเทคโนโลยีบนแพลตฟอร์ม AI ของหัวเว่ย เพื่อส่งเสริมการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และสำรวจโอกาสใหม่ ๆ ในแวดวง AI

- ปัจจุบัน หัวเว่ยได้เริ่มพัฒนาทีมบุคลากรด้าน AI ที่มหาวิทยาลัย 8 แห่งทั่วประเทศจีน ได้แก่ สถาบัน Institute for Interdisciplinary Information Sciences ของ Tsinghua University, University of Science and Technology of China, Zhejiang University, Shanghai Jiao Tong University, Nanjing University, Southeast University, Xidian University และสถาบัน Institute of Acoustics แห่ง Chinese Academy of Sciences

เกี่ยวกับหัวเว่ย

หัวเว่ย เป็นผู้ให้บริการชั้นนำของโลกด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และอุปกรณ์อัจฉริยะ

รับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.huawei.com

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ