Super Poll ความไม่ปลอดภัยของประชาชน

อังคาร ๑๖ ตุลาคม ๒๐๑๘ ๑๒:๑๗
สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล มูลนิธิสถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ นำเสนอผลสำรวจ เรื่อง ความไม่ปลอดภัยของประชาชน

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) มูลนิธิ สถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ นำเสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง ความไม่ปลอดภัยของประชาชน จำนวนทั้งสิ้น 1,325 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 1 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา พบว่า

ปัญหาความไม่ปลอดภัยที่ต้องการให้หน่วยงานรัฐเร่งแก้ไขอันดับแรก หรือ ร้อยละ 55.4 ระบุ อาชญากรรม โจรผู้ร้ายชุกชุม อิทธิพลข่มขู่ ทำร้ายร่างกาย ล้วงกระเป๋า จี้ปล้น ชิงทรัพย์ ทะเลาะวิวาท ยกพวกตีกัน เป็นต้น รองลงมาคือ ร้อยละ 54.1 ระบุ อุบัติเหตุ ความไม่ปลอดภัยทางถนน ขับรถเกินความเร็วกำหนด ไล่บี้จี้ท้าย ประมาทหวาดเสียว ไม่เคารพ ไม่ทำตามกฎหมาย ร้อยละ 53.7 ระบุ ความไม่ปลอดภัยทางอาหาร เช่น สารพิษปนเปื้อน ร้อยละ 52.9 ระบุ ความไม่ปลอดภัยจากการท่องเที่ยว ร้อยละ 51.5 ระบุ ความไม่ปลอดภัยต่อ เด็ก และ สตรี เช่น ความรุนแรง การถูกทำร้าย ถูกทารุณ การข่มเหงรังแก คุกคามทางเพศ ปัญหาเด็กจมน้ำ เป็นต้น นอกจากนี้ ร้อยละ 47.6 ระบุ แก๊งมั่วสุม ยาเสพติด ขี้เหล้า เมายา ร้อยละ 37.2 ระบุ การก่อสร้างบ้าน บ้านทรุด อาคารไม่ได้มาตรฐาน ขาดการคุ้มครองที่ดีให้ประชาชนผู้บริโภคที่พักอาศัย ร้อยละ 35.6 ระบุ ไฟไห้ม ภัยพิบัติต่าง ๆ ร้อยละ 34.9 ระบุ ความไม่ปลอดภัยในโลกโซเชียลต่างๆ และร้อยละ 21.7 ระบุ อื่น ๆ เช่น ความไม่ปลอดภัยในชุมชน ความไม่ปลอดภัยทางเรือไม่มีชูชีพให้ผู้โดยสารครบทุกคน หน่วยงานรัฐไม่ดูแลจริงจัง เป็นต้น

ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อถามถึงประสบการณ์เคยพบเห็นเจ้าหน้าที่รัฐลงพื้นที่ดูแลความปลอดภัยของประชาชน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.4 เคยพบเห็น ตำรวจ จุดตรวจป้องกันอาชญากรรม และร้อยละ 52.9 เคยพบเห็น เจ้าหน้าที่รัฐ ติดตามความปลอดภัยการเดินทางของประชาชน แต่ที่เหลือด้านอื่น พบว่า ส่วนใหญ่ไม่เคยพบเห็นเจ้าหน้าที่รัฐลงพื้นที่เลย ได้แก่ ร้อยละ 76.2 ไม่เคยพบเห็นตำรวจ ตรวจจับความเร็ว ร้อยละ 83.2 ไม่เคยพบเห็น เจ้าหน้าที่รัฐ ลงพื้นที่ตรวจความปลอดภัยในอาหาร ร้อยละ 91.1 ไม่เคยพบเห็น เจ้าหน้าที่รัฐ ลงพื้นที่ป้องกันอันตรายต่อเด็กและสตรี ร้อยละ 93.8 ไม่เคยพบเห็น เจ้าหน้าที่รัฐ ลงพื้นที่ตรวจสอบความไม่ปลอดภัยก่อสร้างบ้าน อาคารไม่ได้มาตรฐาน และร้อยละ 95.7 ไม่เคยพบเห็น เจ้าหน้าที่รัฐ ติดตามความปลอดภัยในโลกโซเชียล และที่น่าสนใจคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.4 เห็นด้วยถึงเห็นด้วยอย่างยิ่งที่ รัฐบาลควรลงทุนปฏิรูปด้านความปลอดภัยของประชาชนทั้งระบบครบทุกด้าน และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.5 เห็นด้วยถึงเห็นด้วยอย่างยิ่งต่อการเพิ่มโทษเอาผิดต้นตอความไม่ปลอดภัยให้แก่ผู้อื่น นำเงินค่าปรับมาสร้างความปลอดภัยในที่สาธารณะมากกว่าเอาเงินค่าปรับไปทำอะไรประชาชนไม่รู้

ดร.นพดล กรรณิกา ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ความปลอดภัยของประชาชนเป็นเรื่องใหญ่ แต่เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติอาจจะไม่ทำงานสอดคล้องกับนโยบาย เช่น ความปลอดภัยทางถนนบนสายเอเซีย มีป้ายใหญ่ ๆ ว่า "ช่องขวามีไว้แซง" จำนวนมาก ส่งผลทำให้เกิดการไล่บี้จี้ท้ายกัน และเกิดอารมณ์ปาดซ้ายปาดขวา จนอาจเกิดอันตรายต่อผู้อื่น คำถามคือทำไมไม่ทำป้ายจำกัดความเร็วให้มาก ๆ เหมือนประเทศที่พัฒนาแล้วและมีตำรวจทางหลวงสายตรวจคอยแสดงตัว (Show of Force) จัดการพวกขับรถเกินความเร็วที่กฎหมายกำหนด รวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐหน่วยอื่น ๆ ด้วยควรมีปฏิบัติการ "โชว์ออฟฟอร์ซ" เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต้นตออันตรายต่อผู้อื่นและความเชื่อมั่นของประชาชนน่ามีมากขึ้นซึ่งดีต่อทุกฝ่าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ