มจพ. แถลงข่าวผลักดันถนนยางพาราดินซีเมนต์

พุธ ๑๗ ตุลาคม ๒๐๑๘ ๑๑:๕๒
ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ เซี่ยงฉิน อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) พร้อมด้วย พลโท ชุมพร วิเชียร อนุกรรมาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พลโท ยศวัฒน์ อนันต์ดิลกฤทธิ์ อนุกรรมาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน ร่วมเป็นประธานแถลงข่าวถนนยางพาราดินซีเมนต์ เพื่อขยายความเจริญสู่ท้องถิ่น ส่งเสริมการนำยางพาราไปใช้ประโยชน์ตามนโยบายของภาครัฐ กระตุ้นราคายางพาราที่ตกต่ำในปัจจุบันให้มีราคาสูงขึ้น ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ อาคารนวมินทรราชินี มจพ. เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2561

โดยเริ่มจากการนำยางพาราธรรมชาติ (ทั้งยางพาราสด และยางพาราข้น) มาดัดแปรโครงสร้างของยางพารา เพื่อให้ยางพาราสามารถนำมาใช้ร่วมกับวัสดุดิน ปูนซีเมนต์ และน้ำยาดัดแปร เพื่อเป็นการก่อสร้างและปรับปรุงคุณสมบัติของชั้นพื้นทางของถนนด้วยวิธีแบบดินซีเมนต์ (Soil Cement) ตามมาตรฐานที่มีอยู่ในแบบมาตรฐานดินซีเมนต์ผสมโพลิเมอร์ ของกรมทางหลวงชนบท เพื่อตอบรับกับนโยบายของรัฐบาลในการผลักดันนวัตกรรม ในการนำยางพารามาแปรรูปเพื่อช่วยเหลือ ชาวเกษตรกรสวนยางพาราที่มีจำนวนมากทั่วประเทศในปัจจุบัน การใช้ยางพาราสด (จากเกษตรกรผ่านสหกรณ์) และยางพาราข้น (จากโรงงาน น้ำยางข้น) ให้มากขึ้น และผลักดันราคายางพาราที่ตกต่ำให้มีราคาเพิ่มขึ้น ตามกลไกของตลาด ซึ่งนโยบายดังกล่าว ทาง มจพ. ได้ดำเนินการทดลองและทดสอบ "น้ำยาดัดแปร" รวมถึงมีการก่อสร้างจริงเป็นผลสำเร็จแล้ว โดยมีผลทดสอบที่สามารถนำยางพารามาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ "เป็นหลักวิศวกรรม" ในการก่อสร้างปรับปรุงถนนได้จริงตามมาตรฐาน และได้ติดตามการทดสอบ ประเมินผลค่าต่างๆ จากภาควิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และกรมทางหลวงชนบท เช่น ค่าการรับน้ำหนัก,ค่าความทึบน้ำ,ค่าแรงดึง มาเป็นระยะเวลากว่า 2 ปี ซึ่งคำนวณปริมาณการใช้ในการก่อสร้างชั้นโครงสร้างถนน 1 กิโลเมตร หน้ากว้าง 6 เมตร จะใช้ยางพาราสดถึง 12,000 กิโลกรัม (12 ตัน) หรือคิดเป็นเนื้อยางแห้งถึง 4 ตัน การทำถนนประเภทนี้มีความแข็งแรง และมีจุดเด่นคือการป้องกันการซึมผ่านของน้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ถนนทรุดตัว เป็นหลุมเป็นบ่อ ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทย ถนนยางพาราดินซีเมนต์สามารถทำได้ 2 ลักษณะคือ เปลือยผิวเป็นถนนปลอดฝุ่น และ สามารถทำผิวจราจรด้วยยางมะตอยแบบปกติได้ ในด้านของราคาค่าก่อสร้างถนนประเภทนี้มีราคาประมาณ 2 ล้านบาท ต่อ 1 กิโลเมตร ถนนกว้าง 6 เมตร ซึ่งหากทำถนนประเภทนี้นอกจากจะเป็นการขยายความเจริญสู่ท้องถิ่นแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมการนำยางพาราไปใช้ประโยชน์ตามนโยบายภาครัฐ ส่วนในขั้นตอนการทำงานของการก่อสร้างถนนยางพาราดินซีเมนต์ให้เป็นไปตามอนุสิทธิบัตรของ มจพ. ภาครัฐประกาศกระตุ้นราคายางพาราโดยผ่านโครงการนี้ จะส่งผลให้เกษตรกรชาวสวนยางพารา ได้ราคารับซื้อยางพาราที่สูงขึ้นและถึงมือเกษตรกรทัน รวมถึงเป็นการใช้งบประมาณขยายความเจริญของท้องถิ่นนั้นๆ อีกหนึ่งทางเลือก เมื่อภาครัฐช่วยพิจารณาสนับสนุน โครงการนี้อย่างเร่งด่วนจะกระตุ้นราคายางพาราที่ตกต่ำในปัจจุบันให้ไปในทิศทางที่ดีขึ้น

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) มีความตั้งใจในการผลิตนวัตกรรมที่ตอบโจทย์สังคม เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรไทยได้มีโอกาสและทางเลือกที่ดีต่อไปในอนาคต มีตัวแทนเครือข่ายเกษตรกรสถาบันเกษตรกรยางพาราไทย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ บุคลากรจากกรมส่งเสริมองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และคณะผู้บริหาร อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าร่วมในพิธีเป็นจำนวนมาก

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๑๗:๑๖ กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๑๗:๕๕ Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๑๗:๔๗ โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๑๗:๑๒ ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๑๗:๐๐ กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๑๖:๐๐ WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๑๖:๐๔ เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๑๖:๔๗ ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๑๖:๐๒ NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ