สยายปีก อพท. น้อย เข้าเขตพัฒนาการท่องเที่ยว ประเดิม “เชียงราย” เป้าหมาย 10 แห่งในหนึ่งปี

พุธ ๒๔ ตุลาคม ๒๐๑๘ ๑๕:๑๑
อพท. เตรียมลุยเขตพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา เสริมศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พัฒนา "มาตรฐานการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน" ประเดิมเชียงราย ตั้งเป้า 10 แห่งในปี 2562

ดร.พรสุข จงประสิทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาขีดความสามารถการท่องเที่ยว (สพข.) องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เปิดเผยว่า ปีงบประมาณ 2562 จะขยายการดำเนินงาน"มาตรฐานการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน" (Sustainable Tourism Management Standard: STMS) หรือเรียกว่า "อพท. น้อย" ออกไปยังเขตพัฒนาการท่องเที่ยว (คลัสเตอร์) โดยเริ่มต้นตั้งเป้าพัฒนาให้กับหน่วยงานในจังหวัดเชียงรายเป็นเขตแรก จำนวน 10 แห่งในพื้นที่จังหวัดเชียงราย

"ต้นเดือนพฤศจิกายน อพท. จะนำทีมเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่จังหวัดเชียงราย พร้อมเชิญองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นเป้าหมายมาหารือร่วมกัน เพื่อทำความเข้าใจในหลักการ เตรียมวางแผนการทำงานร่วมกันต่อไป"

สำหรับ STMS คือแนวปฏิบัติในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่สอดคล้องกับแนวคิดและแนวปฏิบัติสากลซึ่งใช้เป็นเครื่องมือ ใช้นำไปพัฒนาให้ความรู้กับหน่วยงานหรือองค์กรให้สามารถจัดการแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยวให้กับชุมชนในพื้นที่ของตน โดยสามารถกำหนดแนวทางในการประสาน ส่งเสริม และสนับสนุนภาคีให้ร่วมกันพัฒนาการท่องเที่ยวได้อย่างยั่งยืนและพร้อมรับมือต่อความเปลี่ยนแปลง โดย อพท. พัฒนาขึ้นบนหลักการ PDCA (Plan-Do-Check-Act) คือ วางแผน ปฏิบัติ ตรวจสอบ และปรับปรุง เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการบริหารให้ดียิ่งขึ้น ได้รับการยอมรับและเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง รวมทั้งยังช่วยค้นหาปัญหาและอุปสรรคในแต่ละขั้นตอนของการดำเนินงานได้อย่างเป็นระบบ

"ความสำคัญของการใช้มาตรฐาน คือการเห็นถึงผลที่เกิดจากการดำเนินการและนำไปสู่การปรับปรุงศักยภาพการท่องเที่ยว ซึ่งปัจจัยของความสำเร็จนั้น ขึ้นอยู่กับความมุ่งมั่นของหน่วยงานที่จะรับไปดำเนินการต่อ"

ผอ.สพข. กล่าวว่า การดำเนินงานตามมาตรฐานการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ปัจจัยสำคัญก็คือจะต้องมีการกำหนดทิศทางการบริหารจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน มีคณะทำงานด้านการท่องเที่ยว มีการจัดการด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชน สนับสนุนศักยภาพชุมชน จัดการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย จัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกให้เหมาะสม ส่งเสริมการตลาด ติดตามความเปลี่ยนแปลงจากการท่องเที่ยว เผยแพร่แนวคิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนไปยังภาคีที่เกี่ยวข้อง เสริมสร้างความรู้ความสามารถ และความตระหนักให้บุคลากร ตลอดจนสื่อสารและการตอบสนองต่อข้อร้องเรียนจากช่องทางต่างๆ ติดตามผลให้เป็นไปตามทิศทาง วัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ตั้งไว้ ตลอดจนปรับปรุงและทบทวน การดำเนินงานให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

การริเริ่มโครงการ อพท. น้อย เนื่องมาจาก อพท. เพียงหน่วยงานเดียวคงไม่สามารถดำเนินงานได้ทันกับความเปลี่ยนแปลงต่อสภาวะและผลกระทบที่เกิดขึ้น จึงมีแนวคิดที่จะขยายการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนไปยังองค์กรที่มีบทบาทในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวระดับท้องถิ่น เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาล เป็นต้น อพท. จึงพัฒนา STMS ให้เป็นเกณฑ์ที่ใช้พัฒนาให้แก่หน่วยงาน องค์กร ได้นำไปใช้นำไปปฏิบัติ เพื่อพัฒนาท้องถิ่นของตัวเองในเรื่องของการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยเริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2559 พัฒนาให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 38 แห่ง สามารถผ่านการประเมินตามมาตรฐานฯ ได้แก่ องค์กรในจังหวัดเลย จำนวน 22 แห่ง จังหวัดสุโขทัย 9 แห่ง จังหวัดน่าน 4 แห่ง จังหวัดชลบุรี 2 แห่ง และจังหวัดสุพรรณบุรี 1 แห่ง และเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในการปฏิบัติตามมาตรฐานฯ ดังกล่าว อพท. ได้ติดตามทวนสอบการดำเนินงานตามมาตรฐานแต่ละองค์กรที่สามารถปฏิบัติได้ตามเกณฑ์มาตรฐานในทุกๆ ปี

ล่าสุดปี พ.ศ. 2561 STMS ของ อพท. ยังได้รับรองมาตรฐานระดับสากลจากสภาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (Global Sustainable Tourism Council: GSTC) ได้ให้การยอมรับมาตรฐานการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของ อพท. กับหลักเกณฑ์ของ GSTC (GSTC – Recognized) ว่า "มาตรฐานการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism Management Standard: STMS)" ของ อพท. เทียบเท่ากับหลักเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนสำหรับสถานที่ท่องเที่ยวของ GSTC (equivalent to the GSTC Destination Criteria) ซึ่งถือเป็นมาตรฐานฉบับแรกของประเทศไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version