ประสิทธิผลประเทศไทยไตรมาสที่ 3 ปี 2561 ดีขึ้น ผลจากทั้ง 3 ภาคส่วนสามารถตอบสนอง/แก้ปัญหาได้ตรงความต้องการประชาชน

ศุกร์ ๒๖ ตุลาคม ๒๐๑๘ ๑๓:๔๕
นายทวีชัย เจริญเศรษฐศิลป์ ผู้อำนวยการวิจัย สถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา (ไอเอฟดี) แถลงข่าวผลการจัดทำดัชนีประสิทธิผลประเทศไทยพลัส (Thailand Effectiveness Index Plus) ประจำไตรมาส 3 ปี 2561 ดัชนีดังกล่าวนำข้อมูลมาจากการสำรวจการรับรู้ (perception) ของประชาชนที่มีต่อการดำเนินงานใน 3 ภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยสุ่มตัวอย่างประชาชนจำนวน 3,528 ตัวอย่าง กระจายทุกภูมิภาคทั่วประเทศ

ในภาพรวม ดัชนีประสิทธิผลประเทศไทยพลัสไตรมาส 3 ปี 2561 อยู่ที่ 70.2% เพิ่มขึ้น 1.2% จากไตรมาสที่แล้ว ซึ่งพบว่าทั้ง 3 ภาคมีประสิทธิผลเพิ่มขึ้น ภาคที่เพิ่มขึ้นสูงสุดเรียงตามลำดับ ได้แก่ ภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาครัฐ โดยได้คะแนนเพิ่มขึ้น 2.0%, 1.3% และ 0.4% เป็นเท่ากับ 72.4%, 71.3% และ 66.9% ตามลำดับ

ประสิทธิผลด้านที่ได้คะแนนสูงสุดและเพิ่มขึ้นมากที่สุดในไตรมาสที่ผ่านมาเป็นด้านเดียวกัน ได้แก่ การตอบสนองต่อประชาชน (responsiveness) โดยได้คะแนนอยู่ที่ 72.2 เพิ่มขึ้น 2.4% เนื่องจากธุรกิจ/ร้านค้าส่วนใหญ่มีสินค้าและบริการตรงความต้องการของประชาชน รวมถึงองค์กรภาคประชาชนแก้ปัญหาตรงความต้องการของสังคม ทันต่อเหตุการณ์ และทำงานสำเร็จเห็นผลเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการช่วยดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดกรณีเด็กและผู้หญิงที่ถูกข่มขืน/ถูกล่วงละเมิดทางเพศ และหน่วยงานภาครัฐทำงานตอบสนองได้ตรงกับความต้องการของประชาชน โดยเฉพาะการช่วยเหลือเด็กและโค้ชที่ติดถ้ำทั้ง 13 คนได้อย่างปลอดภัย

ประสิทธิผลด้านที่ได้คะแนนเพิ่มขึ้นมากที่สุดอันดับสอง คือ ความเป็นมืออาชีพ (professionalism) ได้คะแนนอยู่ที่ 70.9 เพิ่มขึ้น 1.6% เนื่องจากธุรกิจ/ร้านค้าส่วนใหญ่ปรับตัวได้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจมากขึ้น รวมถึงองค์กรภาคประชาชนมีทักษะ ความรู้ความสามารถ และความเชี่ยวชาญตรงกับงาน มุ่งมั่นทำงานจนกว่าจะสำเร็จอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ ขณะที่ตัวชี้วัดประสิทธิภาพ (efficiency) ได้คะแนนเพิ่มขึ้นน้อยที่สุด

ทั้งนี้ในภาพรวม ความคิดเห็นต่อการดำเนินงานของภาคส่วนต่างๆ ส่วนใหญ่เกิดจากประสบการณ์ตรงและทัศนคติของประชาชน แทนการได้รับข่าวสารมาอีกที โดยมีประชาชนร้อยละ 77.3 ที่มีความคิดเห็นดังกล่าว

สำหรับเรื่องที่ประชาชนเห็นว่าเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐยังใช้เงินภาษีไม่ค่อยคุ้มค่าเมื่อเทียบกับบริการที่ประชาชนได้รับ ปัญหาด้านการคอร์รัปชัน และมีการทำงานผิดพลาด อาทิ ปัญหาเรื่องระบบ TCAS ภาคเอกชนไม่ได้ช่วยกระตุ้นเตือนและเชิญชวนให้คนในสังคมรับรู้และร่วมแก้ไขปัญหาสำคัญของชุมชนหรือประเทศ อาทิ กรณีเรือล่มที่ภูเก็ตซึ่งทราบก่อนว่าจะต้องเผชิญฝนตกหนักและคลื่นลมแรง และปัญหาสินค้าที่ไม่สะอาด/มีสารปนเปื้อน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO