ACT รวบรวมข้อมูลปมปัญหาสนามบินสุวรรณภูมิและข้อเสนอส่งให้นายกรัฐมนตรีพิจารณา

ศุกร์ ๒๖ ตุลาคม ๒๐๑๘ ๑๖:๕๙
องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) หรือ ACT ส่งข้อมูลปมปัญหาสนามบินสุวรรณภูมิ และการก่อสร้างเทอร์มินอล 2 จากการจัดเสวนาล่าสุดถึงนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแล้ว รวมทั้งข้อเสนอให้มีการศึกษาและกำหนดแผนแม่บทปรับปรุงสนามบินสุวรรณภูมิครั้งนี้ใหม่ด้วย

เมื่อวันที่ 26 ต.ค.61 ดร. มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า วานนี้ (25 ต.ค.61) ทางองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) หรือACT ได้ส่งหนังสือถึงพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี โดยสรุปรวบรวมข้อมูล ข้อคิดเห็น และข้อเสนอที่ได้จากการจัดงานเสวนา หัวข้อ "สุวรรณภูมิ สนามบิน 1 ใน 3 ของโลก…ฝัน หรือ เป็นได้จริง ?" เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม ที่ผ่านมา จากผู้ทรงคุณวุฒิร่วมเสวนา ได้แก่ พล.อ.ต. ม.ล. ประกิตติ เกษมสันต์ เลขาธิการสภาสถาปนิก, ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) , ดร.ต่อตระกูล ยมนาค ผู้แทนโครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ (CoST) และนายอิทธิฤทธิ์ กิ่งเล็ก ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย รวมทั้งผู้สนใจเข้าร่วมฟังการเสวนา เพื่อให้นายกรัฐมนตรีพิจารณา โดยมีข้อมูลและข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์หลายประการ ทั้งปมปัญหาสนามบินสุวรรณภูมิ และการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 หรือ เทอร์มินอล 2 ล่าสุด

สำหรับหนังสือดังกล่าว ได้สรุปสาระสำคัญที่ได้จากการเสวนา ดังนี้

1. การออกแบบเพื่อขยายและปรับปรุงอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 รวมถึงหลุมจอดและสภาพทั่วๆ ไป ซึ่ง บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. แจ้งว่า ได้รับความเห็นชอบจากองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ ICAO แล้วนั้น แต่หลายองค์กรที่เกี่ยวข้องยังมีความเห็นต่างอยู่หลายประเด็น ทั้งนี้ผู้ร่วมเสวนามีความเห็นว่า ที่ผ่านมา ICAO จะพิจารณาในเรื่องความปลอดภัยและกฎเกณฑ์ของการบินนานาชาติเท่านั้น แต่เรื่องการบริหารจัดการและการออกแบบพื้นที่การใช้งานเพื่อวัตถุประสงค์ด้านการบริการซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ ที่จะทำให้สนามบินสุวรรณภูมิมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับสนามบินชั้นนำของโลก และทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินใน ASEAN ได้เป็นอย่างดี จึงเป็นหน้าที่ขององค์กรที่รับผิดชอบของไทยที่เป็นผู้กำหนดนโยบาย วางแผนและดำเนินการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของประเทศ

2. ปัจจุบันการบริหารจัดการโดยรวมยังไม่ได้มาตรฐานที่น่าพอใจ ทั้งๆ ที่สนามบินสุวรรณภูมิมีศักยภาพที่จะเป็นสนามบินชั้นนำของโลกได้ สาเหตุหลักมาจาก การจัดการและให้บริการในสนามบิน หลายหน่วยงานมีอิสระไม่ขึ้นตรงกับ ทอท. เช่น สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กรมศุลกากร เป็นต้น ทำให้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายในการสนองความต้องการผู้ใช้บริการได้อย่างเต็มที่ การประเมินผลการดำเนินงานของ ทอท. ผู้บริหารและพนักงานในปัจจุบัน เน้นผลกำไรมากกว่าการบรรลุเป้าหมายสำคัญขององค์กรคือ ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ

ในหนังสือที่ส่งถึงนายกรัฐมนตรีฉบับนี้ยังระบุถึงข้อเสนอ 2 ข้อที่วิทยากร และผู้เข้าร่วมเสวนานำเสนอด้วย ดังนี้

1. ควรมีการศึกษาและกำหนดแผนแม่บทในการปรับปรุงสนามบินสุวรรณภูมิครั้งนี้ใหม่ เพื่อให้เป็นสนามบินที่ทันสมัยและตอบสนองผลประโยชน์ของประเทศอย่างรอบด้านได้ในระยะยาว โดยเปิดให้สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวฯ รวมทั้งสภาวิชาชีพด้านสถาปนิกและวิศวกรได้มีส่วนร่วมอย่างเหมาะสม หรือจ้างที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์มาช่วยให้คำแนะนำ ซึ่งกระบวนการนี้ควรทำโดยเร่งด่วน และไม่ควรใช้เวลานาน

2. บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานการบินพลเรือนแห่งชาติ และกระทรวงการคลัง ควรทำงานร่วมกันเพื่อให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพมากกว่านี้ และเกิดความสำเร็จอย่างดียิ่งต่อไป

และในตอนท้ายของหนังสือ ยังระบุด้วยว่า ในการนี้ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ ขอนำเรียนข้อคิดเห็นจากการจัดเสวนามาเพื่อประกอบการพิจารณาร่วมกับข้อเสนอ และข้อคิดเห็นจากหลายๆ หน่วยงานในเรื่องเดียวกันนี้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ