งานพิธีประกาศเกียรติคุณประจำปีดังกล่าว จัดขึ้นโดยมูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.) การมอบรางวัลนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อยกย่องบุคคลที่เป็นตัวอย่างที่ดีในการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการทำงาน และทำประโยชน์เพื่อสังคม
ซึ่งเจมส์รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับรางวัลดังกล่าวข้างต้น
"มันเป็นความปรารถนาของผมที่จะนำเทคโนโลยีด้านอวกาศมาใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของทุกคน จากความตั้งใจนี้ได้ทำให้ผมสร้าง มิว สเปซ ขึ้นมา เพียงแค่นึกถึงการทำงานเพื่อสิ่งนี้ก็รู้สึกได้ถึงความพิเศษและเรียบง่ายจริงๆ" เจมส์กล่าว
เจมส์กล่าวเพิ่มเติมว่า "ผมขออุทิศรางวัลนี้ให้แก่พนักงานและพันธมิตรทุกคนที่ชื่นชอบผม ผู้ที่กระตุ้นและผลักดันให้ มิว สเปซ บรรลุผลสำเร็จ พวกเราก็เหมือนกับบริษัทหลายๆ แห่งที่เริ่มต้นจากศูนย์ มิว สเปซตั้งตัวขึ้นมาจากความกล้าหาญ ความมุ่งมั่น มีศีลธรรม และการได้รับแรงสนับสนุนจากทีม"
มิว สเปซ วางแผนที่จะปล่อยดาวเทียมวงโคจรค้างฟ้าของตัวเองในปี 2563 เพื่อสนับสนุนการเติบโตของอุปสงค์ในการเชื่อมต่อผ่านดาวเทียมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
"ดาวเทียมสามารถนำมาใช้ได้หลากหลายวิธี หนึ่งในนั้นคือการที่เราใช้กันทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น การเชื่อมต่อบรอดแบนด์และโทรศัพท์มือถือในพื้นที่ห่างไกล" เจมส์กล่าว
"ทุกสิ่งที่เราสามารถเห็นได้จากอวกาศเป็นแหล่งข้อมูลที่ล้ำค่ามาก รัฐบาลหลายๆ ประเทศใช้ดาวเทียมในการสร้างแผนที่ภูมิประเทศของเมืองต่างๆ ตรวจสอบสภาพแวดล้อม และวิเคราะห์ร่องรอยของคาร์บอน การประยุกต์ใช้ดาวเทียมเหล่านี้กำลังกลายเป็นปัจจัยพื้นฐานที่นำไปสู่สังคมเมืองอย่างยั่งยืนและทำให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น" เจมส์กล่าวเสริม
เจมส์มีความหลงใหลอย่างลึกซึ้งในด้านเทคโนโลยี หลังจบการศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ด้าน Aerospace และ Mechanical จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส (หรือ UCLA) เจมส์ได้ทำงานให้กับบริษัทอากาศยานทางการทหาร Northrop Grumman โดยได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าโครงการอากาศยานไร้คนขับ (UAV)
หลังจากที่ได้ใช้ชีวิตในสหรัฐอเมริกาในระยะเวลาหนึ่ง เจมส์ตัดสินใจกลับมายังประเทศไทย และก่อตั้ง มิว สเปซ ขึ้นในปี 2560