ม.ศรีปทุม จับมือ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ฯ (วว.) MOU ร่วมวิจัยฯ ด้านวิศวกรรมตลอดห่วงโซ่

จันทร์ ๒๙ ตุลาคม ๒๐๑๘ ๑๖:๒๙
วิศวะ ม.ศรีปทุม MOU สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ร่วมวิจัยฯ ด้านวิศวกรรมตลอดห่วงโซ่คุณค่า มุ่งหวังผลสัมฤทธิ์ให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

เมื่อเร็วๆนี้ ณ ห้องประชุม กวท. อาคารวิจัยและพัฒนา 1 (วว.)ได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง นายสายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการกลุ่มวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิรัช เลิศไพฑูรย์พันธ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เพื่อร่วมมือทางวิชาการในการวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรแม่นยำและเกษตรอัจฉริยะ รวมถึงเทคโนโลยีทางวิศวกรรมระบบขนส่งทางรางและวิศวกรรมด้านอื่น ๆ ตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดยมีกรอบระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี มุ่งหวังผลสัมฤทธิ์ให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล

โอกาสนี้คณะผู้บริหารและนักศึกษาวิศวกรรมระบบราง โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ มหาวิทยาลัยศรีปทุมได้เข้าเยี่ยมชมการดำเนินงาน ณ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมหุ่นยนต์และเครื่องจักรกลอัตโนมัติ ศูนย์พัฒนาและวิเคราะห์สมบัติของวัสดุ ศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง หน่วยงานสังกัด วว.

นายสายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการกลุ่มวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ความร่วมมือทางวิชาการ ในการบูรณาการวิจัยและพัฒนา ระหว่าง วว. และมหาวิทยาลัยศรีปทุม ดังกล่าว เป็นการดำเนินงานตามทิศทางและการพัฒนาประเทศตามนโยบายรัฐบาล ที่มุ่งหวังกับการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง มุ่งเน้นการพัฒนาประเทศไทยด้วยนโยบายนวัตกรรม และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยผ่านกระบวนการด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม โดยมีแนวทางการพัฒนา คือ เร่งส่งเสริมให้เกิดสังคมนวัตกรรม และผลักดันงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์เพื่อให้เกิดความคุ้มค่า โดยเสริมสร้างนวัตกรรมภาคธุรกิจ พัฒนานวัตกรรมภาครัฐและภาคสังคม ซึ่งสอดคล้องกับบทบาทและเป้าหมายที่สำคัญของ วว. ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติตามภารกิจ คือ การนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจสังคมนวัตกรรม และขีดความสามารถในการแข่งขัน ไปใช้ในการสนับสนุน ส่งเสริม และร่วมดำเนินการกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเชิงบูรณาการ ตลอดจนมีการพัฒนาเครือข่าย โดยการพัฒนางาน วทน. อย่างเป็นระบบ เพื่อการแก้ไขปัญหาของภาคเศรษฐกิจและสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ

ผศ.ดร.วิรัช เลิศไพฑูรย์พันธ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวว่า มหาวิทยาลัยศรีปทุมรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มีความร่วมมือกับ วว. ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมงานวิจัยและพัฒนาที่เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะระบบการขนส่งทางรางและ Smart Farming ซึ่งมีบทบาทต่อการพัฒนาประเทศในปัจจุบันและอนาคต ทั้งนี้มหาวิทยาลัยศรีปทุมได้นำองค์ความรู้ด้าน Smart Farming ไปถ่ายทอดให้แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มทำให้ประเทศเข้มแข็ง นับเป็นการแบ่งปันความรู้ทางวิชาการสู่ชุมชนอีกทางหนึ่ง ความร่วมมือกับ วว. ในครั้งนี้จะทำให้งานวิจัยและพัฒนาระบบการขนส่งทางรางและ Smart Farming ของมหาวิทยาลัยศรีปทุมเข้มแข็งขึ้น มีการพัฒนาบุคลากรร่วมกัน ซึ่งจะช่วยสร้าง Value ให้กับประเทศ ตลอดจนแลกเปลี่ยนความรู้และเครื่องมือด้านวิทยาศาสตร์ร่วมกันต่อไป

#มหาวิทยาลัยศรีปทุม #วิศวกรรมศาสตร์ #SRIPATUM #SPU #เรียนกับตัวจริงประสบการณ์จริง #บัณฑิตพันธุ์ใหม่

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ