ปส. จับมือ IAEA ประชุม 16 ประเทศเอเชีย-แปซิฟิก เสริมสมรรถนะการตรวจวัดกัมมันตภาพรังสีทางทะเล

จันทร์ ๒๙ ตุลาคม ๒๐๑๘ ๑๖:๔๘
สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) ร่วมกับทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) จัดประชุมทบทวนการดำเนินงานระยะกลาง (IAEA/RCA Mid-Term Review Meeting) ภายใต้โครงการความร่วมมือระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เรื่อง การเพิ่มสมรรถนะการตรวจวัดกัมมันตภาพรังสีทางทะเลและการประเมินผลกระทบจากการปลดปล่อยสารกัมมันตรังสีจากสถานประกอบการนิวเคลียร์ต่อระบบนิเวศทางทะเลในเอเชีย - แปซิฟิก (IAEA/RCA TC Project RAS/7/028 "Enhancing Regional Capabilities for Marine Radioactivity Monitoring and Assessment of the Potential Impact of Radioactive Release from Nuclear Facilities in Asia-Pacific Marine Ecosystem (RCA)") ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน 2561 ณ โรงแรมโนโวเทล ภูเก็ต กะตะ อวิสต้า รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดภูเก็ต หวังเพิ่มความสามารถและสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกในการตรวจวัดกัมมันตภาพรังสีทางทะเลอย่างมีประสิทธิภาพ

วันนี้ (29 ต.ค. 61) นางรัชดา เหมปฐวี รองเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ รับมอบหมายจากเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เป็นประธานเปิดการประชุมดังกล่าว โดยมีผู้แทนจาก IAEA และประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เข้าร่วมกว่า ๓๐ คน จาก ๑๖ ประเทศ ได้แก่ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย เมียนม่า เวียดนาม จีน สิงค์โปร์ ปากีสถาน กัมพูชา บังคลาเทศ ฟิลิปปินส์ รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งมีเจ้าหน้าที่จากกรมประมง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มหาวิทยาลัยศิลปากร และ ปส. เข้าร่วมด้วย

นางรัชดา เปิดเผยว่า โครงการดังกล่าวเป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง IAEA และประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินการ รวม 4 ปี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2017 - 2020 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความสามารถและความร่วมมือของประเทศสมาชิกในการตรวจวัดกัมมันตภาพรังสีในสิ่งแวดล้อมทางทะเล และการประเมินผลกระทบทางรังสีต่อระบบนิเวศทางทะเลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการประชุมในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อติดตามและทบทวนการดำเนินงานของประเทศสมาชิกในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมอภิปราย 2 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ (1) แนวทางการดำเนินงานของประเทศสมาชิกทั้งในระดับประเทศและภูมิภาคในกรอบปี ค.ศ. 2019 - 2021 และ (2) แนวทางการเก็บตัวอย่าง การเตรียมความพร้อมและการวัดปริมาณรังสีในตัวอย่างทางทะเล" นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมยังจะได้มีโอกาสทดลองส่งข้อมูลปริมาณกัมมันตภาพรังสีของแต่ละประเทศไปยังฐานข้อมูลกัมมันตภาพรังสีทางทะเลของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Marine Radioactivity Database, ASPAMARD) และเยี่ยมชมสถานีเฝ้าระวังภัยทางรังสีใต้น้ำ ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็น 1 ใน 5 สถานีเฝ้าระวังฯ ใต้น้ำของ ปส.

นางรัชดา กล่าวเพิ่มเติมว่า ปส. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีของประเทศไทย หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการประชุมในครั้งนี้จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการดำเนินงานแบบบูรณาการระหว่างประเทศสมาชิกและช่วยให้ประเทศสมาชิกภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก มีความพร้อมในการพัฒนาศักยภาพด้านการเฝ้าระวัง ตรวจวัดกัมมันตภาพรังสี และประเมินผลกระทบทางรังสีในระบบนิเวศทางทะเลอย่างมีประสิทธิภาพนำมาซึ่งความปลอดภัยต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมต่อไปในอนาคต

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองพัฒนาระบบและมาตรฐานกำกับดูแลความปลอดภัย สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ โทรศัพท์ 0 2596 7600 ต่อ 2425

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ