คุณหมอแนะนำ: ฟิตร่างกายเพื่อสุขภาพดีมีความสุข ไม่หวั่นแม้วัยสูงอายุ โดย นพ. กรกฎ พานิช คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านโภชนาการของเฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น (NAB)

ศุกร์ ๐๒ พฤศจิกายน ๒๐๑๘ ๑๐:๓๗
จากงานวิจัยของวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เราทุกคนทราบดีว่าในปี 2564 หรืออีกสามปีข้างหน้า จำนวนประชากรผู้สูงวัย (ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป) ถึง 13.8 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 20 ของประชากรไทยทั้งประเทศ และจะทำให้สังคมไทยก้าวเข้าสู่ "สังคมผู้สูงอายุ" อย่างสมบูรณ์ รัฐบาลไทยเองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ เร่งออกนโยบายและมาตรการต่าง ๆ เพื่อรองรับประเทศสู่ความเป็นสังคมผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปัญหาความท้าทายที่บีบคั้นมากขึ้น ทำให้เรายังไม่สามารถพูดได้อย่างเต็มปากว่า อนาคตของกลุ่มผู้สูงวัยของไทยมีความมั่นคงปลอดภัยและพร้อมเผชิญทุกสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นแล้ว

โดยทั่วไป โรคและปัญหาสุขภาพที่เกิดจากความแก่ชรามักจะเกี่ยวข้องกับกระดูกและข้อต่อ ระบบการย่อยอาหาร สายตาและการมองเห็น และหัวใจและหลอดเลือด ที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนเมื่ออายุมากขึ้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องเข้าใจปัญหาสุขภาพดังกล่าวและหาวิธีป้องกันเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่การเป็นผู้สูงวัยอย่างมีสุขภาพดี

คนไทยคิดเห็นและเตรียมตัวอย่างไรบ้างกับการเป็นผู้สูงวัย

จากผลสำรวจล่าสุดของเฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น เกี่ยวกับการ "สูงวัยอย่างมีสุขภาพดี (healthy aging)" โดยมีผู้ตอบแบบสำรวจออนไลน์ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีทั้งสิ้น 5,510 คนจาก 11 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยมีคนไทยจำนวน 502 คนที่ร่วมทำแบบสำรวจออนไลน์นี้ พบว่าร้อยละ 74 ของผู้ตอบแบบสำรวจชาวไทยตอบว่าการสูงวัยอย่างมีสุขภาพดีคือ "การไม่เป็นภาระให้ลูกหลานยามแก่เฒ่า" ในขณะที่ผู้ตอบแบบสำรวจจากประเทศอื่น ๆ ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 66) ตอบว่าคือ "การเคลื่อนไหวได้อย่างกระฉับกระเฉงแม้จะแก่ตัวไปเรื่อย ๆ" จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจว่าคนไทยมีมุมมองและความเข้าใจเรื่องการสูงวัยอย่างมีสุขภาพดีที่แตกต่างออกไป และทำให้มีการจัดลำดับความสำคัญต่าง ๆ ในชีวิตต่างจากคนในประเทศอื่นด้วย

นอกจากนั้น ร้อยละ 98 ของผู้ตอบแบบสำรวจชาวไทยเห็นด้วยว่า พวกเขาสามารถเตรียมพร้อมอย่างจริงจังเพื่อการสูงวัยอย่างมีสุขภาพดีได้เช่นเดียวกับผู้คนส่วนใหญ่ในประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงของเรา อย่างไรก็ดี ผู้ตอบแบบสำรวจชาวไทยร้อยละ 60 มองว่า ช่วงอายุที่เหมาะสมสำหรับการเตรียมพร้อมอย่างจริงจังเพื่อการสูงวัยอย่างมีสุขภาพดีคือ ช่วงอายุ 40-50 ปี ในขณะที่สัดส่วนของผู้ตอบแบบสำรวจโดยรวมทั้งหมดในเอเชียแปซิฟิกที่มองว่าช่วงอายุที่เหมาะสมสำหรับการเตรียมพร้อมอย่างจริงจังเพื่อการสูงวัยอย่างมีสุขภาพดีในช่วงอายุ 40-50 ปี มีมากถึงร้อยละ 71 นั่นหมายถึงคนไทยผู้ตอบแบบสำรวจอาจคิดถึงการเตรียมตัวที่ช้ากว่าผู้คนที่ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ในเอเชียแปซิฟิก ในขณะที่แพทย์ทั่วโลกส่วนใหญ่มักจะสนับสนุนให้คนหันมาใส่ใจสุขภาพตนเองมากขึ้นเมื่ออายุเข้าสู่เลข 40 เพราะวัยนี้เป็นต้นไปคือช่วงวัยที่เริ่มเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและมีโรคภัยต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นกว่าสมัยยังหนุ่มสาว

หนทางสู่การเป็นผู้สูงวัยอย่างมีสุขภาพดี

หลักการ 3 ประการที่ช่วยให้สูงวัยอย่างมีสุขภาพดี มีดังนี้

- โภชนาการที่ดีต่อสุขภาพ

การได้รับและเสริมโภชนาการที่สมดุลให้แก่ร่างกาย ก็จะช่วยลดโอกาสในการเจ็บป่วยได้แคลเซียมช่วยเสริมสร้างกระดูกและข้อต่อและลดโอกาสเสี่ยงที่กระดูกจะหักหรือเปราะบางได้ง่ายเมื่อเราหกล้ม นอกจากนี้ การจะดูแลระบบย่อยอาหารให้ดี และเสริมด้วยอาหารที่มีเส้นใยอาหารและจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายสายตาและการมองเห็นก็จะลำบากขึ้นเมื่อเราแก่ตัวลง ดังนั้นให้หมั่นตรวจเช็คสุขภาพสายตาและเสริมด้วยอาหารที่มีสารลูทีน ที่พบมากในข้าวโพดหวาน ฟักทอง แครอท ไข่แดง เป็นต้น

สำหรับระบบหัวใจและหลอดเลือด ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่จะส่งผลเสียต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจ เช่นกลุ่ม อาหารหวาน มัน เค็ม หมั่นออกกำลังกายและดูแลควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ และที่สำคัญที่สุด ต้องรักษาระดับความเครียดซึ่งเป็นภัยเงียบไม่ให้สูงเกินไป ด้วยการฝึกหายใจช้าๆ หัดสังเกตความรู้สึกของตนเองอย่างมีสติ ก็นับเป็นอีกหนึ่งวิธีการที่ดีที่สุดในการดูแลรักษาสุขภาพหัวใจของคุณด้วย

- การเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย

และจากคำตอบของผู้ตอบแบบสำรวจชาวไทยส่วนใหญ่ที่ว่า "การไม่เป็นภาระให้ลูกหลานยามแก่เฒ่า" ทราบหรือไม่ว่า การออกกำลังกาย เคลื่อนไหว สม่ำเสมอ จะนำมาซึ่งการไม่เป็นภาระแก่ลูกหลานในที่สุด อีกทั้งการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอยังช่วยให้เราสามารถรักษามวลกระดูกและมวลกล้ามเนื้อซึ่งส่งเสริมให้เรายังคงมีพละกำลัง มีความยืดหยุ่นของร่างกายซึ่งทำให้สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างอิสระ

- หมั่นทำกิจกรรมที่ฝึกฝนและกระตุ้นให้สมองได้คิดอยู่เสมอ

หมั่นฝึกฝนให้สมองได้คิดอยู่เสมอ มองหากิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นสมองเช่น เกมส์ปริศนาปัญหาเชาว์ การอ่านหนังสือ การสร้างงานศิลปะ หรือแม้กระทั่งการทำสมาธิ เพื่อลับสมองให้มีความเฉียบคม ซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงเรื่องปัญหาความจำและกระบวนการคิดที่จะเกิดขึ้นเมื่อสูงวัยได้

การลงมือปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์เพื่อสุขภาพที่ดีนั้นจะสร้างผลลัพธ์ที่ดีแก่ชีวิตเราแน่นอน และเราโชคดีมากที่สังคมไทยเป็นสังคมที่มีน้ำใจโอบอ้อมอารีและการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สำหรับการเป็นผู้สูงวัยอย่างมีสุขภาพดีนั้น การได้รับกำลังใจและการดูแลเอาใจใส่จากคนในครอบครัวและเพื่อน ๆ รอบตัวเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะกำลังใจและความห่วงใยที่ได้รับจะช่วยให้ผู้สูงอายุเหล่านี้สามารถใช้ชีวิตเพื่อการมีสุขภาพที่ดีขึ้นอย่างมีความสุขมากขึ้นได้ ตลอดจนมีไลฟ์สไตล์ที่สดใสแข็งแรง และใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนในครอบครัวได้อย่างยืนยาว

กดไลค์เราที่เฟซบุ๊ค พร้อมอีกหลากหลายเคล็ดลับดี ๆ เพื่อสุขภาพที่ดีและไลฟ์สไตล์ที่กระฉับกระเฉง ได้ที่

www.facebook.com/HerbalifeThailandOfficial

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO