สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (สวทน.) โดยเมืองนวัตกรรมอาหารหรือ ฟู้ดอินโนโพลิส ร่วมกับ สมาคมจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดกิจกรรม "Food Innopolis International Symposium 2018 Food Industry 4.0 ระหว่างวันที่ 5-7 พฤศจิกายน 2561 เพื่อต่อยอดมุมมองสำหรับทุกคนและทุกองค์กรที่อยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมอาหาร ทั้งภาคเอกชน อุตสาหกรรม หน่วยงานภาครัฐ อาจารย์และนักวิจัย เพื่อช่วยเชื่อมโยงงานวิจัยนวัตกรรมสู่มุมมองการตลาดยุคใหม่ โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาทั้งสิ้นกว่า 200 คน
โดยการสัมมนาครั้งนีได้เชิญวิทยากรระดับแนวหน้าจากสถาบันด้านอาหาร และอุตสาหกรรมอาหารของโลก จากประเทศต่าง ๆ รวม 15 ประเทศ อาทิ อิตาลี เดนมาร์ก สวิสเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย เนเธอรแลนด์ สิงค์โปร์ แคนาดา นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ไทย ฯลฯ เพื่ออัพเดทแนวโน้มนวัตกรรมอาหารโลก Internet of Food การพัฒนาคนสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร 4.0 โลจิสติกส์และซัพพลายเชนสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร ความปลอดภัยอาหารและมาตรฐานอาหาร การพัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร บนฐานแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน เทรนด์นวัตกรรมเครื่องเทศและสมุนไพร แหล่งโปรตีนใหม่ อาหารกับสังคมผู้สูงอายุ โดยได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของแต่ละประเทศที่มีจุดแข็งแตกต่างกัน
โดยเฉพาะเดนมาร์ก ที่มีจุดแข็งคือ กลุ่มอาหารออแกนิคและผลิตภัณฑ์อาหารพรีเมี่ยม นอกจากนี้ยังเป็นประเทศที่สามารถผลิตสินค้าด้านเกษตรอาหารได้มากถึงสามเท่าของปริมาณที่ต้องการบริโภคภายในประเทศ ขณะเดียวกัน Danish Food Cluster ก็เป็นผู้ขับเคลื่อนหลัก อะโกรฟู้ดพาร์ค ซึ่งทำงานเพื่อเพิ่มนวัตกรรมในอุตสาหกรรมอาหารของเดนมาร์กโดยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานความรู้ระดับโลก เชื่อมโยงกับนักลงทุนและบริษัทต่างๆ เป็นหนึ่งในศูนย์กลางนวัตกรรมอาหารที่สำคัญของโลก มีพื้นที่ในอาคารวิจัยกว่า 45,000 ตร.ม. เพื่อรองรับบริษัทในการทำวิจัยพัฒนาด้านนวัตกรรมอาหาร มีพื้นที่แปลงทดลอง 5 เฮกตาร์ บนพื้นที่รวมทั้งสิ้น 100 เฮกตาร์ โดยปัจจุบันมีบริษัทในพื้นที่ 75 บริษัท ในจำนวนนี้เป็น Food & Agri-tech Startup 25 บริษัท ส่วนสถาบันอาหารแห่งอนาคตจากประเทศอิตาลี ก็เพิ่งเดินทางมาประเทศไทย และได้เดินทางไปเยี่ยมชม ความพร้อม และเครือข่ายของฟู้ดอินโนโพลิส เพื่อความร่วมมือกันในอนาคต
หนึ่งในวิทยากรที่น่าสนใจอีกท่าน เป็นคนไทย คือ ดร.ธัญวัฒน์ เกษมสุวรรณ ผู้อำนวยการกลุ่มด้านนวัตกรรม บริษัทไทยยูเนียน จำกัด ที่บอกเล่าถึงความสำเร็จของบริษัทอาหารสัญชาติไทยอย่างไทยยูเนียน ที่ได้รับเลือกให้ติดดัชนีดาวโจนส์ เป็นอันดับ 1 ของโลก โดย ดร.ธัญญวัฒน์ บอกว่า ไทยยูเนียนลงทุนเพื่ออนาคตเยอะมาก โดยเฉพาะกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของไทยยูเนี่ยนประสบความสำเร็จในการทำคะแนนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประเด็นด้านความยั่งยืนที่มีนัยสำคัญ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สุขภาพและโภชนาการ ความเสี่ยงที่เกี่ยวกับน้ำ ด้านการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน จรรยาบรรณธุรกิจ และแนวปฎิบัติด้านแรงงาน ซึ่งทำให้ประเทศไทยมีอันดับเรื่องการคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนในลำดับที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตามเชื่อว่าไม่เกิน 10 ปีโลกเปลี่ยนแรงงานมีทักษะเท่านั้นทีจะไปด้วยกันได้กับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นธุรกิจอาหารก็ต้องเร่งปรับตัวเพราะจะเป็นหนทางเดียวที่จะดีดตัวออกจากคู่แข่งได้
ด้าน ดร.อนุวัฒน์ เชื้อเย็น ณบดีคณะพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้หยิบยกโครการ โครงการพัฒนาต้นแบบการแปรรูปอาหารอินทรีย์เชิงสร้างสรรค์อย่างมีส่วนร่วม "The Ultimate Seasonal Sensation หรือ The USS ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ดำเนินการอยู่ สอดคล้องกับ ดร.สิรี ชัยเสรี รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทีให้ความสำคัญกับกลิ่นและรสชาติของอาหาร เป็นเทรนด์ของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน การนำเอาวัตถุดิบในท้องถิ่นมาปรับให้เป็นอัตลักษณ์ประจำชาติ จะทำให้เพิ่มมูลค่าของอาหารได้ เช่น ข้าวเหนียวมะม่วง ข้าวเหนียวทุเรียน ก็เป็นที่ชื่นชอบของชาวเอเชีย โดยเฉพาะลูกค้ากลุ่มใหญ่อย่างประเทศจีน ขณะที่ ดร.Mei Yin Low จากบริษัทด้านกลิ่นรส จิวาดอง สิงค์โปร ก็ให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ โดยมองว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคผ่านางแอพลิเคชั่น จากโซเชียล เป็นโอกาสที่ดีที่เราจะได้เรียนรู้พฤติกรรมของผู้บริโภค เพื่อนำไปปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ได้มากยิ่งขึ้น
เช่นเดียวกับทางกลุ่มผู้บริหารรุ่นใหม่ไฟแรงจากสามพรานโมเดล นายอรุษ นวราช ที่ได้ก่อตั้งสามพรานโมเดลให้เป็นแหล่งเรียนรู้ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ผลิตจากฟาร์มเกษตร ไปจนถึงผู้บริโภค ที่ปัจจุบันคำนึงถึงสุขภาพมากขึ้น โดยนายอรุษ มองว่า การให้การศึกษากับทางเกษตรกรเพื่อให้เกิดการปรับเปลียนวิถีเกษตรแบบเดิมมาสู่เกษตรออกานิกส์ ต้องทำให้เขาเห็นภาครายได้ที่เพิ่มขึ้น ส่วนตัวของผู้บริโภคเองก็ต้องเห็นถึงความสำคัญของสุขภาพซึ่งทั้งสองส่วนต้องให้เขาเห็นและมีส่วนร่วมจึงได้เกิดโครงการ Organic Tourism หรือการท่องเที่ยววิถีอินทรีย์ คือให้ทุกคนมาเรียนรู้และศึกษาร่วมกัน ขณะที่กลุ่ม Central Group เองก็มองว่า แม้จะเป็นองค์กรขนาดใหญ่ แต่ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการซื้อผลผลิตจากเกษตรกรรายใหญ่เท่านั้น หากแต่ให้ความสำคัญกับกลุ่มเกษตรกรรายย่อย สตาร์ทอัพ ผู้ประกอบการซี่งเป็นเกษตรรุ่นใหม่ เพื่อสนับสนุนให้เกิดความยั่งยืนในระบบหวงโซ่อาหาร ที่ต้องเดินไปด้วยกัน ขณะที่ ดร.Christine Demen meier จาก Innovation Concil Innosuisse จาก สวิสเซอร์แลนด์ ก็ให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
ด้านดร.อัครวิทย์ กาญจนโอภาษ ซีอีโอเสมืองนวัตกรรมอาหาร บอกว่า การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ เพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับเมืองนวัตกรรมอาหารในภูมิภาคอาเซียนและเวทีโลก โดยคาดหวังให้เกิดการลงทุนในกิจกรรมวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมของบริษัทในอุตสาหกรรมอาหารและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง นอกจากนี้ยังเป็นเวทีในการอัพเดทความรู้จากวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมอาหารจากอุตสาหกรรมอาหารทั้งของประเทศไทย ภูมิภาคอาเซียนและระดับสากล ส่งเสริมให้เกิดการจับคู่เจรจาธุรกิจและเชื่อมโยงความร่วมมือด้านการวิจัยพัฒนาระหว่างบริษัทอาหารของไทยกับบริษัทต่างชาติ ตลอดจนเชื่อมโยงและสร้างโอกาสเครือข่ายความร่วมมือระหว่างเมืองนวัตกรรมอาหารกับบริษัทและหน่วยงานต่างประเทศในระดับภูมิภาคอาเซียน เอเชียแปซิฟิก ยุโรป และคลัสเตอร์อาหารของอเมริกา ผลักดันให้เกิดกลไกความร่วมมือในการทำงานร่วมกันแบบรัฐร่วมเอกชน
ดร.อัครวิทย์ กล่าวอีกว่า อุตสาหกรรมอาหารเป็นรายได้สำคัญของประเทศไทย และเป็นอุตสาหกรรมที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมอาหารตอบสนองไลฟ์สไตล์ชีวิตของในยุคดิจิทัลอย่างต่อเนื่องจนถึงวันนี้ สามารถพูดได้เลยว่า ประเทศไทยพร้อมแล้วที่จะเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมอาหารของโลก ดูได้จากรางวัลอันดับ 1 ของโลกที่ทางบริษัทไทยยูเนียนได้รับ ซึ่งถือเป็นเครื่องการันตีได้ถึงความเป็นมาตรฐานสากลที่ประเทศไทยทำได้