นายทับขวัญ หอมจำปา Chief Strategy Officer บริษัท เอส ซีบี อบาคัส จำกัด
นายนิรันดร์ ประวิทย์ธนา CEO และ ผู้ก่อตั้งบริษัท มาร์เก็ตเอนี่แวร์
ดร.ธรรม์ธีร์ สุกโชติรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจไอบีซอฟต์จำกัด
ปัจจุบัน มีการนำเทคโนโลยี AI มาใช้กับการทำธุรกิจหลากหลายรูปแบบ รวมถึงธุรกิจการปล่อยสินเชื่อ โดยมีการนำมาใช้ในการกลั่นกรองความถูกต้องของข้อมูล การประมวลผล credit scoring การคำนวนอัตราดอกเบี้ย ระยะเวลาการกู้ที่เหมาะสมตามความเสี่ยงและความน่าเชื่อถือของบุคคลนั้น ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าว ช่วยให้ต้นทุนการระดมทุนของธุรกิจต่ำลง และสร้างโอกาสให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น (serve the underserved)
AI มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูล และประมวลผลข้อมูลในปริมาณมาก สามารถนำมาใช้ประโยชน์และช่วยทำงานบางอย่างแทนคนได้ เช่น การทำงานที่มีรูปแบบซ้ำ ๆ เดิม ๆ ซึ่งในฝั่งของการลงทุน เราสามารถนำ AI มาช่วยในการลงทุนแบบ day trade หรือมาช่วยในการจับ pattern ของการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เพื่อหาโอกาสทำกำไรจากการเทรดระยะสั้น ซึ่ง AI สามารถทำหน้าที่นี้ได้ดีกว่ามนุษย์ ขณะที่ คนเองจะต้องปรับตัวเองให้มีประโยชน์ และ productive มากขึ้น ซึ่งในอนาคตจะไปในลักษณะนี้ เห็นได้จากฝั่งประเทศอเมริกา 70% ของปริมาณการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ NYSE มาจาก robot high frequency trading (Robot HFT)
หากธุรกิจต้องการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับองค์กร สิ่งที่ควรพิจารณาเป็นลำดับแรก คือ ความคุ้มค่าในการลงทุน และประโยชน์ที่เกิดขึ้นจริง โดยก่อนที่ธุรกิจจะเริ่มนำ AI มาใช้ อาจเริ่มจากนำมาใช้กับกระบวนการภายในองค์กรก่อน และพอพัฒนาได้ในระดับหนึ่งแล้วถึงค่อยนำไปใช้ให้บริการกับลูกค้าจริง
สำหรับอนาคตกับการพัฒนา AI สิ่งที่ควรเร่งพัฒนา คือ ระบบนิเวศน์ของการพัฒนา AI ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ใช้งานทุกกลุ่ม รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลเพื่อนำมาต่อยอดในการทำธุรกิจ ควรเป็นในรูปแบบ democratization of data ซึ่งหมายถึง ทุกคนมีความเป็นเจ้าของข้อมูลของตนเอง และสามารถแชร์ข้อมูลของตนกับคนอื่นได้หากยินยอม ซึ่งในปัจจุบัน ธุรกิจมักไม่ยอมแชร์ข้อมูลของลูกค้าตนให้กับผู้ให้บริการรายอื่น ทั้งที่ลูกค้ายินยอม ทั้งนี้ หวังว่าในอนาคต หากกฎหมาย data privacy act มีผลบังคับใช้ จะช่วยแก้ไขอุปสรรคในเรื่องนี้ได้ และจะช่วยผลักดันให้เกิดการทำธุรกิจแบบ partnership มากขึ้น