“FinTech Challenge 2018: The Discovery” วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน 2561 เวลา 9.30 – 10.00 น. หัวข้อ “แนวทางการรับมือของภาคธุรกิจในตลาดทุนที่มีต่อการเข้ามาของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว”

พุธ ๐๗ พฤศจิกายน ๒๐๑๘ ๑๗:๔๐
ผู้ร่วมเสวนา:

นายธีรนันท์ ศรีหงส์ ที่ปรึกษา สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)

นายภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย (ASCO)

นายวศิน วณิชย์ธนันต์ สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC)

ปัจจุบันเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก ขณะที่ความเร็วในการก้าวให้ทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงในตลาดทุนไทยยังค่อนข้างช้า เห็นได้จากการเกิดนวัตกรรมในตลาดทุนไทยและการเข้ามาของผู้ประกอบธุรกิจฟินเทคน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่น่ากังวล และหากไม่แก้ไขอย่างเร่งด่วนจะสะสมความอ่อนแอไปเรื่อย ๆ และท้ายสุดอาจไม่สามารถรับมือได้ทันท่วงทีหากมีการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ดังนั้น ทุกภาคส่วนควรเร่งมือร่วมกันหาทางแก้ไขทำให้ระบบนิเวศน์ของฟินเทคเข้มแข็งขึ้น เช่น การให้เงินทุน หรือการสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจกับฟินเทค เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ร่วมเสวนายังเห็นว่าเทคโนโลยีที่ประเทศไทยควรเพิ่มพูนความรู้ให้มากยิ่งขึ้น คือ เรื่องการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ซึ่งยังเห็นว่าขาดคนที่มีทักษะในเรื่องดังกล่าวมาก ดังนั้น โจทย์สำคัญคือจะทำอย่างไรที่จะช่วยเพิ่มคนที่มีทักษะเหล่านี้ เช่น การสร้างพันธมิตรกับมหาวิทยาลัย เป็นต้น

ส่วนมุมมองของธุรกิจหลักทรัพย์ มองว่า เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ความต้องการของลูกค้าเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน ในฝั่งของธุรกิจหลักทรัพย์ ลูกค้าต้องการที่จะได้รับบริการที่เป็นเชิงลึกมากขึ้น มุ่งเน้นที่ผลตอบแทนจากการลงทุนเป็นหลัก ดังนั้น รูปแบบการทำธุรกิจของบริษัทหลักทรัพย์จะต้องปรับเปลี่ยนให้เท่าทันกับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป และมุ่งหน้าไปสู่อีกมิติที่เรียกว่าการให้บริการที่เหมาะสมกับลูกค้าของแต่ละคน และหากใครไม่ปรับตัว ยังอยู่กับรูปแบบธุรกิจเดิม ไม่เพิ่มมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้า ก็จะไม่สามารถอยู่รอดได้ในธุรกิจ

ธุรกิจหลักทรัพย์มีความต้องการที่จะพัฒนาตนเองให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี แต่อุปสรรคสำคัญของการไปสู่จุดนั้น คือ การไม่มีโครงสร้างพื้นฐานกลางที่เหมาะสมรองรับ ทำให้ต้นทุนในการพัฒนาสูง และยากที่ธุรกิจจะสามารถต่อยอดนวัตกรรมได้ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานเดิมที่ใช้อยู่ ไม่เอื้อต่อการทำให้เกิดนวัตกรรม และต้องใช้เวลานานในการแก้ไขระบบเพื่อรองรับผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่

ในมุมมองของธุรกิจหลักทรัพย์จัดการลงทุน เห็นว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา การเข้ามาของเทคโนโลยีส่งผลให้รูปแบบการทำธุรกิจหลักทรัพย์จัดการลงทุนเปลี่ยนแปลงไป เช่น รูปแบบการทำธุรกิจมุ่งไปสู่รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบเปิดมากขึ้น มีการสร้างโครงสร้างพื้นฐานกลางที่เรียกว่า FundConnext ทำให้การซื้อขายหน่วยลงทุนข้ามค่ายทำได้ง่ายขึ้น การเข้ามาของ machine readable ทำให้การเปรียบเทียบข้อมูลกองทุนง่ายขึ้น ขณะเดียวกัน การที่ธุรกิจหลักทรัพย์เริ่มมีการนำ AI มาใช้ หรือเพิ่มเครื่องมือการลงทุนให้กับผู้ลงทุนสามารถตัดสินใจลงทุนได้เอง เหมือนเป็นผู้จัดการกองทุน ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การแข่งขันในธุรกิจรุนแรงขึ้น ดังนั้น ผู้จัดการกองทุนเอง จะต้องเพิ่มคุณค่าให้กับตัวเอง และต้องมีความรู้เชิงลึกมากขึ้น ปรับตัวสู้กับนักลงทุน และนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นตัวช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๘:๑๘ รพ.ยันฮี และ ยันฮี วิตามิน วอเตอร์ ประสาน องค์กรทำดี มูลนิธิกระจกเงา และ กัน จอมพลัง มอบน้ำดื่มและยารักษาโรค มูลค่ากว่า 6
๐๘:๓๔ โรงพยาบาลยันฮี ฉลองความสำเร็จ 40 ปี ตอกย้ำผู้นำด้านสุขภาพและความงามครบวงจร พร้อมมอบสิ่งดี ๆ ให้กับสังคม ผ่าตัดรักษาต้อเนื้อฟรี 20 ราย
๐๘:๔๓ อบรมผู้ประกาศฯ ไทยพีบีเอส อัดแน่นคุณภาพ มุ่งเตรียมพร้อมผู้ประกาศหน้าใหม่สู่วงการสื่อ
๐๘:๓๘ โรงแรมเรเนซองส์ กรุงเทพฯ ราชประสงค์ ขอชวนร่วมงาน Global Day of Discovery และคอนเสิร์ตสุดพิเศษจาก บุรินทร์
๐๘:๔๔ คริสตี้ส์ เอเชีย: การประมูลศิลปะศตวรรษที่ 20/21 ในเดือนพฤศจิกายน
๐๘:๕๖ ไทยพีบีเอส จับมือ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ผลักดัน หม่อมเป็ดสวรรค์ สู่ตลาดคอนเทนต์ ระดับสากล ในงาน TIFFCOM
๐๘:๔๕ ครั้งแรกในไทย! ไร้ท์ รีแอคติเวชั่น ขยายธุรกิจโรงงานสกัดแยกโลหะมีค่าจากวัสดุใช้แล้ว ยกระดับสู่มาตรฐานสากล
๐๗:๒๔ Chappell Roan ตอกย้ำความปัง HOT TO GO! ส่งวิดีโอแดนซ์รวมแก๊ง Pink Pony Club จาก South East Asia
๐๗:๕๗ JPARK ร่วมพิธีเปิด Tops สาขา JPark Avenue Nonthaburi
๐๘:๔๓ การเคหะแห่งชาติจับมือสปสช.นำร่องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ให้ผู้อยู่อาศัยในชุมชนของการเคหะแห่งชาติ 5 ชุมชนฟรี