“FinTech Challenge 2018: The Discovery” วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน 2561 เวลา 11.00 – 11.30 น. หัวข้อ “Demystifying the Future of Tokenization”

พุธ ๐๗ พฤศจิกายน ๒๐๑๘ ๑๗:๔๑
ผู้ร่วมเสวนา:

ดร. การดี เลียวไพโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ICORA

นายจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท Bitkub

นายวัชระ เอมวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารร่วม SIX Network

สินทรัพย์ในรูปแบบดิจิทัลโทเคน (asset tokenization)

คุณจิรายุส กล่าวว่า อินเทอร์เน็ตได้ก่อให้เกิดความสามารถในการแบ่งปันข้อมูลโดยการสร้างสำเนาของข้อมูลเพิ่มได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ขณะที่ยุคใหม่ของเทคโนโลยีบล็อกเชนได้สร้าง digital scarcity หรือการที่ข้อมูลมีอยู่ในจำนวนจำกัด ทำให้ข้อมูลนั้นมีมูลค่าในตัวเอง และสามารถส่งข้อมูลที่มีมูลค่าให้กับผู้อื่นได้โดยที่ข้อมูลไม่ถูกเก็บเป็นสำเนาเพิ่มอีก ด้วยคุณลักษณะดังกล่าวของบล็อกเชนทำให้เราสามารถนำทรัพย์สินต่าง ๆ เช่น เพชร ทองคำ ตึก หรือแม้กระทั่งหลักทรัพย์ มาอยู่ในรูปแบบของสินทรัพย์ดิจิทัล สามารถนำมาแลกเปลี่ยนกันได้ไม่ต่างจากการส่งไฟล์ แต่จะมีเพียงฉบับเดียว นอกจากสินทรัพย์ที่จับต้องได้แล้ว ทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตนอย่าง ทรัพย์สินทางปัญญา หรือชื่อเสียงของบุคคล ก็สามารถนำมาแปลงเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีมูลค่าได้เช่นกัน

คุณวัชระ เสริมว่าสิ่งที่ตามมาจากการแปลงสินทรัพย์มาอยู่บนบล็อกเชน คือเศรษฐกิจของโทเคน (token economy) ปัจจุบันมีโครงการระดมทุนด้วยการเสนอขายโทเคนดิจิทัล หรือไอซีโอ มากมายที่พยายามจะนำสินทรัพย์หลากหลายประเภทมาอยู่ในรูปแบบดิจิทัล เช่น โครงการของ SIX Network ที่อยากจะนำลิขสิทธิ์ของผลงานเพลง หนัง การ์ตูน งานเขียน มาบันทึกในระบบบล็อกเชน ซึ่งจะทำให้ทรัพย์สินเหล่านี้สามารถนำมาซื้อขายแลกเปลี่ยนกันได้โดยไม่ต้องมีตัวกลางอีกต่อไป

ดร. การดี ให้ความเห็นว่าบล็อกเชนทำให้เกิดยุคของ internet of value และคุณสมบัติสำคัญที่จะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก คือ ความสามารถในการแบ่งหน่วยย่อยของสินทรัพย์ดิจิทัล ทำให้สามารถนำสินทรัพย์ขนาดใหญ่มาแบ่งเป็นหน่วยเล็ก ๆ ได้ เปิดโอกาสให้คนที่ไม่เคยเข้าถึงการลงทุนในสินทรัพย์เหล่านี้มีทางเลือกมากขึ้น และช่วยลดความเหลื่อมล้ำได้ นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ ที่ตัวกลางมีบทบาทลดลง

ความท้าทายและปัจจัยที่จะช่วยส่งเสริมการไปสู่เศรษฐกิจของโทเคนดิจิทัล

คุณวัชระ กล่าวว่า มีปัจจัยหลักสามด้าน ได้แก่ (1) กฎหมายกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระบวนการสร้างสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น กลไกการแสดงสิทธิ การนำไปใช้ในการค้ำประกัน เป็นต้น ซึ่งการเปิดให้สามารถทำได้ในกรอบของแซนบอกซ์อาจจะช่วยได้ (2) ความง่ายในการนำไปใช้ ซึ่งยังเป็นความท้าทายเพราะการที่จะให้คนทำความเข้าใจและคุ้นเคยกับการเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลด้วยตนเองไม่ใช่เรื่องง่าย และ (3) เศรษฐกิจของโทเคนที่มีคนเข้ามามีส่วนร่วมเพียงพอที่จะทำให้เกิดสภาพคล่องได้

คุณจิรายุ เห็นว่า การที่โลกของสินทรัพย์ดิจิทัลจะเกิดได้นั้น ในระยะแรกจะต้องมีผู้ที่ทำหน้าที่เป็นสะพานระหว่างโลกเก่ากับโลกใหม่ ซึ่งศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นหนึ่งในสะพานที่จะช่วยให้คนสามารถแลกสกุลเงินทั่วไปเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลได้โดยง่าย ในขณะเดียวกันจะต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ต่าง ๆ รวามทั้งทำหน้าที่สอดส่องดูแลในเรื่องของการป้องกันการฟอกเงินด้วย ในอนาคตเมื่อสินทรัพย์ดิจิทัลมีความแพร่หลาย การแลกเปลี่ยนมูลค่าจะทำได้ง่ายขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องอาศัยตัวกลาง

ดร. การดี กล่าวว่า กฎระเบียบจะต้องมีการปรับเปลี่ยน เพราะนี่เป็นโลกใหม่ สิ่งที่สำคัญในการปกป้องผู้ลงทุนคือการสร้างความรู้ความเข้าใจ ซึ่งไม่ใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง ทุกคนต้องเปิดใจศึกษาข้อมูล ช่วยกันแบ่งปันข้อมูลและเตือนซึ่งกันและกัน ไม่ให้ถูกหลอกลวงได้ง่าย

โดยสรุปผู้ร่วมเสวนาเห็นพ้องกันว่า บล็อกเชนเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาปฏิวัติการดำเนินชีวิตของทุกคน ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย ๆ และเป็นโอกาสของคนไทยที่จะผันตัวเองมาเป็นผู้สร้างเทคโนโลยี เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศได้ ทั้งนี้ เทคโนโลยีใหม่นี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ หากไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและมีบูรณาการกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ให้เปิดกว้าง เท่าทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๕ ดร.เอ้ สุดยอดผู้นำด้าน AI เชื่อมั่น รพ.พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร จะปฏิวัติการแพทย์ไทย ด้วย AI พร้อมความตั้งใจอันแน่วแน่
๐๙:๐๓ รมว.นฤมล ผลักดันกฎระเบียบว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EUDR)
๐๙:๑๖ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมกับ สภากาชาดไทย ชวนร่วมบริจาคโลหิต 26 ธันวาคมนี้ ชั้น 7 โซน A เพิ่มโลหิต เพิ่มชีวิต
๐๙:๔๗ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จัดเต็ม!! ลงพื้นที่เร่งลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาส สร้างชีวิตแก่ชาวหนองคายอย่างยั่งยืน
๐๙:๕๕ มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ ส่งมอบอาคารโรงอาหารอายิโนะโมะโต๊ะ ให้แก่ โรงเรียนบ้านดอนมะกอก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๐๙:๐๕ กทม. เข้มงวดโครงการก่อสร้างคอนโดฯ ในซอยสุขุมวิท 93 ปฏิบัติตามมาตรการ EIA
๐๙:๕๐ การเคหะแห่งชาติตั้งเป้าสร้างที่อยู่อาศัยรองรับสังคมผู้สูงอายุ
๐๙:๒๘ ทำอย่างไรจึงจะทำให้มีการใช้ generative AI มากขึ้น
๐๙:๔๐ NocNoc จับมือ กฟผ. ส่งความสุขปีใหม่ให้คนรักบ้าน มอบส่วนลดสินค้าประหยัดไฟเบอร์ 5 สูงสุด 500 บาท เมื่อช้อปผ่าน NocNoc Chat Shop ทัก-ช้อป-ลด เริ่ม 25 ธ.ค. 67
๐๙:๑๔ Warrior ตั้ม ศุภกิตติ์ หรือ ตั้ม โทมัส ทอม จากทีมมาสเตอร์ ดร.อั้ม อธิชาติ คว้าชัย The Social Warrior คนแรกของประเทศไทย