มูลนิธิวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศ (FRIT) ประกาศผลรางวัล “เจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ” ครั้งที่ 12

พฤหัส ๐๘ พฤศจิกายน ๒๐๑๘ ๑๖:๓๗
มูลนิธิวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศ (FRIT) ซึ่งก่อตั้งโดยธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมกับบริษัทเอกชนอีก 7 แห่งจัดงานประกาศผลรางวัล "เจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ" ครั้งที่ 12 เพื่อสนับสนุนงานพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศไทยให้มีความก้าวหน้าทัดเทียมระดับสากล สามารถนำมาพัฒนาเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับสังคมและประเทศหรือพัฒนาในเชิงธุรกิจ รวมถึงสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีอย่างกว้างขวาง โดยมี ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ประธานกรรมการมูลนิธิวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นประธานในพิธี และร่วมเสวนาพิเศษ หัวข้อ "ลู่ทางการระดมทุนมาสร้างนวัตกรรมของผู้สร้างสรรค์ทางดิจิทัล" ร่วมกับ คุณอรพงศ์ เทียนเงิน กรรมการมูลนิธิฯ และกรรมการและรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส Chief Digital Transformation Officer ธนาคารไทยพาณิชย์ และคุณฐิตาภา สมิตินนท์ รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ณ SCB Academy ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่

ในครั้งนี้มีผลงานส่งเข้าร่วมประกวด ทั้งสิ้น 188 ผลงาน แบ่งเป็น ประเภทบุคคลทั่วไปและนิติบุคคล 108 ผลงาน และ ประเภทนักเรียน นิสิต นักศึกษา 80 ผลงาน โดยผลงานมีทั้งที่เป็นผลงานวิจัยหรือผลงานเชิงประยุกต์ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) อาทิ Software, Application, Network, Communication หรือ Hardware รวมถึงผลงานที่ชนะเลิศและรองชนะเลิศอันดับ 1 จากการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 18 (NSC 2016) และการแข่งขัน Thailand ICT Awards ประจำปี 2560 (TICTA) ซึ่งล้วนเป็นผลงานของคนไทยที่น่าภาคภูมิใจ สามารถนำมาพัฒนาเป็นเชิงธุรกิจหรือพัฒนามาใช้จริงในเชิงปฏิบัติได้ อันจะเป็นประโยชน์แก่ประเทศไทยเป็นสำคัญ คณะกรรมการซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากทั้งภาครัฐและเอกชนได้พิจารณาอย่างเข้มข้น ผลการประกวดมีดังนี้

ประเภทบุคคลทั่วไปและนิติบุคคล

คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ในครั้งนี้ไม่มีผลงานที่มีความโดดเด่นเป็นพิเศษ จึงไม่มีการมอบรางวัลชนะเลิศ สำหรับผลงานที่ได้รับรางวัลดีเด่นมี 4 รางวัล ได้แก่

1) ผลงาน "Read for the blind" โดย คุณณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์ ร่วมกับมูลนิธิคนตาบอดไทย และ บริษัท ไทยซัมซุงอิเลคโทรนิคส์ จำกัด – แอปพลิเคชั่นที่ทำให้ทุกคนสร้างหนังสือเสียงให้คนตาบอดด้วยตนเองได้บนสมาร์ทโฟนหรือแทบเล็ต

2) ผลงาน "Arincare : The e-Pharmacy Platform" โดย บริษัท อรินแคร์ จำกัด - ระบบบริหารจัดการร้านขายยาออนไลน์ การทำงานที่หลากหลายและครบถ้วนตั้งแต่การบริหารคลังสินค้า การขาย ข้อมูลสินค้า ข้อมูลคนไข้

3) ผลงาน "Safe Sky" โดย กลุ่มผู้พัฒนาระบบ Safe Sky - ระบบงานเพื่อเพิ่มศักยภาพการพัฒนาเทคโนโลยีการจราจรทางอากาศในประเทศไทย

4) ผลงาน "GPS Kids Watch" โดย บริษัท โพโมะเฮาส์ จำกัด – นาฬิกาโทรศัพท์ป้องกันเด็กหาย มีระบบ GPS ติดตามโลเคชั่น รายงานอุบัติเหตุได้ทันท่วงที สามารถตั้งระบบปิดการใช้งานโทรศัพท์เวลาเข้าเรียน และเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนของผู้ปกครองผ่านแอปพลิเคชั่น

ประเภทนักเรียน นิสิต นักศึกษา

ผลงานชนะเลิศ โล่รางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์ประธานที่ปรึกษามูลนิธิฯ พร้อมทุนการศึกษา ได้แก่ ผลงาน "โจรสลัดลัดเลาะเกาะการย่อย" โดย โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จ.เชียงใหม่ เป็นโปรแกรมการศึกษาเกี่ยวกับระบบการย่อยในร่างกายมนุษย์ โดยจำลองกระบวนการทำงานของแต่ละอวัยวะด้วย Cartoon Animation ที่มีความสนุก เข้าใจง่าย ถ่ายทอดในรูปแบบของ VR (Virtual Reality) สามมิติ

รางวัลดีเด่น 4 รางวัล ได้แก่

1) ผลงาน "สิ่งเร้าในโลกเสมือน" โดย โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ซึ่งเป็นสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบ e-learning สำหรับเด็กประถมปลายเกี่ยวกับการตอบสนองสิ่งเร้าของพืชและสัตว์

2) ผลงาน "หุ่นยนต์ Bliss เพื่อบำบัดผู้ป่วยออทิสติก" โดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี -

เกมส์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กอายุ 1–5 ปี มีระบบติดตามความก้าวหน้าของพัฒนาการโดยเก็บข้อมูลจากการเล่นเกมส์ และประมวลผลด้วยการวิเคราะห์ทางสถิติ พร้อมมีระบบแนะนำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก

3) ผลงาน "UCARE" โดย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งเป็น Mobile Application ที่ให้บริการแนะนำในการดูแลตนเองเบื้องต้นฟรี โดยแอพจะให้ผู้ป่วยเลือกอาการของตนเอง หลังจากตอบแบบสอบถามซักประวัติแล้ว สามารถเลือกที่จะพูดคุยกับทีมหมอ และหากอาการเป็นสภาวะเร่งด่วน แอพจะขึ้นแผนที่โรงพยาบาลให้ด้วย

4) ผลงาน "AXI Physical Web" โดย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ เป็นการสร้างแพลตฟอร์มเพื่อให้บริการ Physical Web ที่รองรับการใช้งานปริมาณมาก

การจัดมอบรางวัลในครั้งนี้เพื่อเป็นการยกย่อง และสนับสนุนแก่ผู้ผลิตผลงานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในการคิดค้นนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ อีกทั้งเป็นการสนับสนุนให้มีการพัฒนาบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างกว้างขวางทั้งในภาครัฐและเอกชน รวมถึงเยาวชนของประเทศ อันจะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รองรับยุทธศาสตร์การเป็น Thailand 4.0 ต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๐๐ วว. จับมือจังหวัดสระบุรี/อบต.ตาลเดี่ยว ขับเคลื่อนลดก๊าซเรือนกระจก นำ วทน. พัฒนาศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีจัดการขยะชุมชน
๑๑:๐๐ วว.จับมือคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่งเสริมวิจัยนวัตกรรม พัฒนาบัณฑิตสมรรถนะสูง ด้วยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
๑๑:๓๗ เปลี่ยนธุรกิจคุณให้โตคูณร้อย กับหลักสูตร CMF เปิดรับสมัครรุ่นที่ 21 แล้ววันนี้ !!
๑๑:๒๖ GFC เสิร์ฟข่าวดีรับศักราชใหม่ปี 68 ดีเดย์ให้บริการคลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก GFC Ubon เต็มสูบ
๑๑:๐๐ โรงพยาบาลลานนา จัดอบรม ชาวลานนาร่วมใจ ต้านโรคภัยจากภาวะอ้วนลงพุง
๑๑:๑๕ ค้นหา รักแท้ ในมุมมองใหม่กับศูนย์ฯ สิริกิติ์ ในกิจกรรม ธรรมะในสวน ณ สวนเบญจกิติ 1 กุมภาพันธ์ 2568 นี้
๑๑:๑๐ เชฟรอน (ไทย) รุกเจาะตลาดน้ำมันเครื่อง เพื่ออุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
๑๑:๐๗ RML เปิดศักราชปี'68 มาแรง! หุ้นกู้มีหลักประกันขายหมดเกลี้ยง 100%
๑๑:๐๐ สมาคมดินโลก ร่วมกับ 4 หน่วยงาน ลงนามความร่วมมือเสริมสร้างการจัดการดินเพื่อเกษตรยั่งยืน
๑๐:๐๐ ศูนย์การค้าเครือเอ็ม บี เค ฉลองเทศกาลตรุษจีนสุดยิ่งใหญ่ CHINESE NEW YEAR 2025