กลุ่มตัวอย่างที่เกิดก่อนปี 2537 (กลุ่มที่อายุ 25 ปีขึ้นไป) และกลุ่มตัวอย่างที่เกิดระหว่างมกราคม 2539-2 มกราคม 2544 (กลุ่มที่อายุ 18 - 25 ปี) ส่วนใหญ่มีความเห็นพ้องกันในประเด็นคุณสมบัติบุคคลที่เหมาะสมเป็นนายกรัฐมนตรี คือต้องการนายกรัฐมนตรีที่เป็นผู้ชาย เป็นพลเรือน สังกัดพรรคการเมือง และมีอายุระหว่าง 40-65 ปี
สำหรับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยในการตัดสินใจลงคะแนนเลือกตั้ง กลุ่มตัวอย่างที่เกิดก่อนปี 2537 (กลุ่มที่อายุ 25 ปีขึ้นไป) ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับนโยบายพรรค เหนือกว่าตัวผู้สมัคร ขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่เกิดระหว่างมกราคม 2539-2 มกราคม 2544 (กลุ่มที่อายุ 18 - 25 ปี) โดยส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับนโยบายพรรคเป็นสำคัญสูงสุด แต่ให้ความสำคัญกับคณะผู้บริหารพรรค เป็นอันดับรอง และให้ความสำคัญกับตัวผู้สมัครต่ำที่สุด
ในประเด็นที่เห็นว่าเป็นปัญหาประเทศ 5 อันดับแรก กลุ่มตัวอย่างที่เกิดก่อนปี 2537 (กลุ่มที่อายุ 25 ปีขึ้นไป) ส่วนใหญ่เห็นว่าอันดับ 1 คือปัญหายาเสพติด อันดับ 2 คือปัญหาจราจร อันดับ 3 คือปัญหาเศรษฐกิจ อันดับ 4 คือปัญหากระจายรายได้ และอันดับ 5 คือปัญหาเด็กและวัยรุ่น ขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่เกิดระหว่างมกราคม 2539-2 มกราคม 2544 (กลุ่มที่อายุ 18 - 25 ปี) โดยส่วนใหญ่เห็นว่าปัญหาอันดับ 1 คือปัญหาเศรษฐกิจ อันดับ 2 คือปัญหายาเสพติด อันดับ 3 คือปัญหาการจราจร อันดับ 4 คือปัญหาการศึกษา และอันดับ 5 คือปัญหาขยะ
ในส่วนของประเด็นว่าด้วยการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง สส.ปี 2562 โดยส่วนใหญ่ของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มยืนยันจะไปใช้สิทธิแน่นอน แต่กลุ่มตัวอย่างที่เกิดระหว่างมกราคม 2539-2 มกราคม 2544 (กลุ่มที่อายุ 18 - 25 ปี) ซึ่งเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่จะมีโอกาสไปใช้สิทธิเลือกตั้ง สส.ปี 2562 เป็นครั้งแรก มีความรู้สึกไม่พอใจอย่างมาก หากมีการเลื่อนการเลือกตั้ง ขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่เกิดก่อนปี 2537 (กลุ่มที่อายุ 25 ปีขึ้นไป) ส่วนใหญ่รู้สึกเฉยๆ หากมีการเลื่อนการเลือกตั้ง
ข่าวฉบับเต็ม http://bit.ly/2zGPtlf