อุตฯ เปิดศูนย์นวัตกรรม “มิเอะ-ไทยแลนด์ อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์” ต่อยอดอุตฯอาหารไทย ก้าวไกลสู่ฐานการผลิตเทคโนโลยีขั้นสูงระดับโกลบอล

จันทร์ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๐๑๘ ๑๔:๓๖
กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมมือกับจังหวัดมิเอะ ประเทศญี่ปุ่น เปิดศูนย์นวัตกรรม "มิเอะ-ไทยแลนด์ อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ " (Mie- Thailand Innovation Center) ศูนย์ยกระดับอุตสาหกรรมอาหารไทยให้เป็นผู้นำสู่ระดับสากลด้วยเทคโนโลยีการผลิตระดับสูง ผ่านแนวทางในการขับเคลื่อน 3 ด้าน ได้แก่ 1.การถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมการแปรรูปอาหาร 2. การพัฒนาบุคลากร และ 3. การพัฒนาเครือข่ายผู้ประกอบการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของภาคการผลิต ทั้งในด้านคุณภาพและมาตรฐาน และการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยนวัตกรรมควบคู่ไปกับการขยายโอกาสทางการตลาดในประเทศให้กว้างขึ้นไปสู่ระดับโลกอีกด้วยและนวัตกรรม

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า จากที่กระทรวงอุตสาหกรรมและบีโอไอได้ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือกับจังหวัดมิเอะ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีความเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรม และเทคโนโลยีการผลิตระดับสูง รวมทั้งการวิจัยและพัฒนา ด้านเกษตรอาหาร เทคโนโลยีชีวภาพ การปรับปรุงพันธุ์ และบริการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ จึงได้ร่วมกันจัดตั้งศูนย์นวัตกรรม "มิเอะ-ไทยแลนด์ อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ " (Mie- Thailand Innovation Center)โดยมีวัตถุประสงค์ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมการแปรรูปอาหารเพื่อขับเคลื่อนยกระดับอุตสาหกรรมอาหารไทยให้เป็นผู้นำได้ในระดับสากล พร้อมสนับสนุนการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการผลิตมาผนวกกับเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยปฏิรูปอุตสาหกรรมอาหารทั้งระบบ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของภาคการผลิต ทั้งในด้านคุณภาพและมาตรฐาน และการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยนวัตกรรมควบคู่ไปกับการขยายโอกาสทางการตลาดในประเทศให้กว้างขึ้นไปสู่ระดับโลก

นายอุตตม กล่าวต่อว่า สำหรับแนวทางการขับเคลื่อนศูนย์นวัตกรรมดังกล่าว กระทรวงอุตสาหกรรมเตรียม 3 กรอบการดำเนินงานที่สำคัญไว้เพื่อขับเคลื่อนยกระดับภาคอุตสาหกรรมและการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างอุตสาหกรรมทั้ง 2 ฝ่าย ได้แก่

1. การถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมการแปรรูปอาหาร ประกอบไปด้วยการจัดกิจกรรมสัมมนา เวิร์คช็อป (Workshop) มุ่งเน้นการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีการแปรรูปอาหารของบริษัทจากจังหวัดมิเอะ การทำวิจัยและทำต้นแบบผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ผลักดัน SMEs ให้มีศักยภาพด้านเทคโนโลยีนวัตกรรมมากขึ้น นอกจากนี้ ยังนำร่องมุ่งเน้นใน 2 พื้นที่ ที่มีศักยภาพ คือ จังหวัดสงขลา เป็นศูนย์กลางในการแปรรูปอาหารในกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารทะเลหรือของสด ให้กับ 14 จังหวัดภาคใต้ และ จังหวัดเชียงใหม่ จะต่อยอดการดำเนินงานยุทธศาสตร์ Northern Food Valley ในพื้นที่ภาคเหนือ ผ่านโครงการร่วมมือเช่น เช่น Lanna Matsusaka Beef โดยอาศัยจุดเด่นของจังหวัดมิเอะที่มีชื่อเสียงในเรื่องของเนื้อ Matsusaka ให้ถ่ายทอดพันธ์เนื้อมาต่อยอดการเลี้ยงวัวในภาคเหนือ รวมถึงโครงการ Medical and Bio-Technology การถ่ายทอดเทคโนโลยีการสกัดสมุนไพรจากพืชชนิดต่างๆ และ ความร่วมมือเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรม ระหว่างจังหวัดเชียงใหม่กับจังหวัดมิเอะ ซึ่งจังหวัดทั้ง 2 มีจุดแข็งในด้านเดียวกัน

2. การพัฒนาบุคลากร ผ่านการพัฒนาหลักสูตรของ Mie Industry and Enterprise Support Center (MIESC) ซึ่งเป็นหลักสูตรการสร้างบุคลากรในระดับ "Leader" ของผู้ประกอบการ SMEs ที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างบุคลากรที่จะเข้ามาลดช่องว่างของกลุ่มแรงงานและผู้บริหาร เป็นหลักสูตรที่ได้รับผลตอบรับที่ดีมากจากบริษัทในจังหวัดมิเอะ ซึ่งจะมีการปรับหลักสูตรการฝึกอบรมให้ตรงต่อความต้องการของผู้ประกอบการไทย และให้มีเนื้อหาการฝึกอบรมที่เหมาะสมต่อวัฒนธรรมของประเทศไทย จากนั้นจะมีการกำหนดแผนการฝึกอบรมที่เป็นรูปธรรมร่วมกัน โดยได้คาดหวังว่าหลักสูตรนี้จะช่วยยกระดับให้กับภาคอุตสาหกรรมในประเทศ

3. การพัฒนาเครือข่ายผู้ประกอบการ (Business Networking) มุ่งหมายให้เกิดความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมและเกิดประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่ายต่อไปในอนาคต ซึ่งจะช่วยให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ ของประเทศไทยเติบโตได้ในระยะยาว

ด้าน นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่า ได้ร่วมมือกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และจังหวัดมิเอะ ในการผลักดันผู้ประกอบการเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตด้วยนวัตกรรม และการวิจัยและพัฒนาเพื่อสรรค์สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ควบคู่ไปกับการขยายโอกาสทางการตลาดในประเทศให้กว้างขึ้น โดยทั้งไทยและญี่ปุ่นได้ต่อยอดความร่วมมือที่ผ่านมาได้แก่ การวิจัยเกี่ยวกับ Thai snack จากข้าวหอมมะลิไทยที่มีลักษณะของการวิจัยเพื่อการผลิตสินค้าเชิงพาณิชย์ และการบริการในการทำตัวอย่างสินค้าให้กับกลุ่มผู้ประกอบการที่เป็น Start Up ที่ต้องการผลิตเพื่อทดลองสินค้าและตลาด พร้อมทั้งการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรเป็นสินค้าอาหารเจ ซึ่งได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวไทย นอกจากนี้จะได้รับสิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นเวลา 5 - 10 ปี ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดแล้ว ยังจะได้รับสิทธิเพิ่มเติมเป็นพิเศษ เช่น การลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50 เป็นเวลา 5 ปี

ทั้งนี้ การจัดตั้งศูนย์นวัตกรรม "มิเอะ-ไทยแลนด์ อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ " (Mie- Thailand Innovation Center) เป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือการที่จะช่วยยกระดับและพัฒนาบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม สร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยสามารถเข้าถึงเทคโนโลยี งานวิจัย และนวัตกรรมที่เหมาะสมที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ และยกระดับอุตสาหกรรมอาหารของประเทศให้เป็นผู้นำได้ในระดับสากล และที่สำคัญคือการเชื่อมโยงสร้างเครือข่ายระหว่างภาคอุตสาหกรรมของทั้ง 2 ประเทศ ที่จะช่วยให้เกิดความร่วมมือที่ขยายวงไปในด้านการค้า การลงทุน รวมถึงการท่องเที่ยวระหว่างกัน ได้ต่อไปในอนาคต นายยงวุฒิ กล่าวสรุป

สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจรายละเอียด สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โทรศัพท์ 022024414 - 17หรือ เข้าไปที่ www.dip.go.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม