ปส. สทน. ร่วมมือกรมศุลฯ เก็บกู้วัสดุกัมมันตรังสีปลอดภัยแล้ว หลังพบในตู้สินค้าท่าเรือแหลมฉบัง

จันทร์ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๐๑๘ ๑๗:๓๗
นางสาววิไลวรรณ ตันจ้อย รองเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เปิดเผยหลังทีมเจ้าหน้าที่จากสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทน.) ให้ความร่วมมือกับกรมศุลกากร ลงพื้นที่ท่าเรือแหลมฉบังเก็บกู้ซีเซียม - 137 (Cs-137) ในตู้สินค้าขาออก พร้อมยืนยันได้นำออกจากพื้นที่แล้วอย่างปลอดภัยตามหลักมาตรฐานสากล ตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน 2561 และนำไปเก็บไว้ ณ สถานที่ที่ปลอดภัยของ สทน. ขอให้ประชาชนมั่นใจ ไม่มีอันตรายตกค้างหรือแพร่กระจายในพื้นที่อย่างแน่นอน

นางสาววิไลวรรณ ตันจ้อย กล่าวว่า คุณสมบัติทางรังสีของซีเซียม-137 (Cs-137) เป็นไอโซโทปรังสี นิยมนำไปใช้ประโยชน์เป็นส่วนประกอบในเครื่องมือวัดทางอุตสาหกรรม เช่น เครื่องวัดความหนาของวัสดุ เครื่องวัดการไหลของของเหลว เป็นต้น และใช้เป็นต้นกำเนิดรังสีในการรักษามะเร็ง ซึ่งวัสดุกัมมันตรังสีที่พบคาดว่าจะเป็นส่วนประกอบของเครื่องมือวัดทางอุตสาหกรรม สำหรับอันตรายของวัสดุกัมมันตรังสีที่ตรวจพบนั้น เนื่องจากมีสภาพเป็นของแข็งจึงไม่มีการเปรอะเปื้อนหรือฟุ้งกระจาย จึงมีเพียงความเป็นอันตรายจากการแผ่รังสีออกมา (ความเป็นอันตรายขึ้นกับปริมาณรังสีที่ได้รับ) ซึ่งเมื่อดำเนินการเก็บกู้ออกไปก็จะไม่มีการแผ่รังสีและ รังสีตกค้างในพื้นที่ โดยทางเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานได้ตรวจสอบเพื่อยืนยันทั้งก่อน ระหว่าง และหลังดำเนินการพบว่าไม่มีการเปรอะเปื้อนหรือฟุ้งกระจายแต่อย่างใด ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่เข้าทำการเก็บกู้ไม่มีผู้ใดได้รับรังสีเกินกว่าเกณฑ์กำหนด (20 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง)

นางสาววิไลวรรณ ตันจ้อย กล่าวย้ำเพิ่มเติมว่า การดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับพลังงานนิวเคลียร์และรังสี ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. ๒๕๕๙ อย่างเช่นกรณีดังกล่าวนี้ มีประเด็นเกี่ยวข้องกับการจัดการกากกัมมันตรังสี ซึ่งตามมาตรา 79 ผู้ก่อให้เกิดกากกัมมันตรังสีมีหน้าที่ในการจัดการกากกัมมันตรังสีตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ก่อให้เกิดกากกัมมันตรังสีต้องส่งให้หน่วยงานของรัฐจัดการ ทั้งนี้สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้ดำเนินการจัดการกับซีเซียม – 137 ดังกล่าวแล้วอย่างปลอดภัยตามมาตรฐานสากล

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) ในฐานะที่เป็นหน่วยงานกำกับดูแลความปลอดภัยจากการใช้ประโยชน์พลังงานนิวเคลียร์และรังสีของประเทศ ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติตนของประชาชน เมื่อพบวัตถุต้องสงสัย รวมถึงวิธีการสังเกตและตรวจสอบลักษณะของสิ่งที่คาดว่าจะมีวัสดุกัมมันตรังสีอยู่ภายในเบื้องต้น คือ จดจำลักษณะรายละเอียดเบื้องต้นและห้ามแตะต้องวัสดุนั้นเป็นอันขาด โดยสังเกตลักษณะภายนอกว่ามีสัญลักษณ์ทางรังสี ประกอบด้วย ใบพัดสามแฉก สีม่วงแดงหรือสีดำบนพื้นสีเหลือง หรือมีตัวหนังสือที่อาจประกอบด้วย อักษรตามด้วยตัวเลขปรากฏอยู่ อาทิเช่น Co-60, Cs-137, Ir-192 หรือมีตัวอักษร Bq หรือ Ci ติดอยู่ ให้รีบดำเนินการแจ้งสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ที่สายด่วน 1296 หรือโทรศัพท์ 08 9200 6243, 0 2596 7699

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๕ ดร.เอ้ สุดยอดผู้นำด้าน AI เชื่อมั่น รพ.พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร จะปฏิวัติการแพทย์ไทย ด้วย AI พร้อมความตั้งใจอันแน่วแน่
๐๙:๐๓ รมว.นฤมล ผลักดันกฎระเบียบว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EUDR)
๐๙:๑๖ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมกับ สภากาชาดไทย ชวนร่วมบริจาคโลหิต 26 ธันวาคมนี้ ชั้น 7 โซน A เพิ่มโลหิต เพิ่มชีวิต
๐๙:๔๗ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จัดเต็ม!! ลงพื้นที่เร่งลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาส สร้างชีวิตแก่ชาวหนองคายอย่างยั่งยืน
๐๙:๕๕ มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ ส่งมอบอาคารโรงอาหารอายิโนะโมะโต๊ะ ให้แก่ โรงเรียนบ้านดอนมะกอก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๐๙:๐๕ กทม. เข้มงวดโครงการก่อสร้างคอนโดฯ ในซอยสุขุมวิท 93 ปฏิบัติตามมาตรการ EIA
๐๙:๕๐ การเคหะแห่งชาติตั้งเป้าสร้างที่อยู่อาศัยรองรับสังคมผู้สูงอายุ
๐๙:๒๘ ทำอย่างไรจึงจะทำให้มีการใช้ generative AI มากขึ้น
๐๙:๔๐ NocNoc จับมือ กฟผ. ส่งความสุขปีใหม่ให้คนรักบ้าน มอบส่วนลดสินค้าประหยัดไฟเบอร์ 5 สูงสุด 500 บาท เมื่อช้อปผ่าน NocNoc Chat Shop ทัก-ช้อป-ลด เริ่ม 25 ธ.ค. 67
๐๙:๑๔ Warrior ตั้ม ศุภกิตติ์ หรือ ตั้ม โทมัส ทอม จากทีมมาสเตอร์ ดร.อั้ม อธิชาติ คว้าชัย The Social Warrior คนแรกของประเทศไทย