'กฤษฎา’ หารือผู้ส่งออกยางพารารายใหญ่ พร้อมเตรียมเสนอมาตรการช่วยเหลือชาวสวนยาง ต่อครม.

พุธ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๐๑๘ ๑๗:๔๙
นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังหารือร่วมกับ 5 บริษัทเอกชนผู้ส่งออกยางรายใหญ่ของประเทศ ได้แก่ บริษัท ไทยฮั้วยางพารา จำกัด (มหาชน) บริษัท วงศ์บัณฑิต จำกัด บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) บริษัทยางไทยปักษ์ใต้ และบริษัท เซาท์แลนด์ รับเบอร์ จำกัดณ ห้องประชุม 124 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า การประชุมครั้งนี้เพื่อหาแนวทางร่วมกันในการแก้ไขปัญหาราคายางพารา ตามที่นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์หามาตรการแก้ไขยางพาราตกต่ำโดยเร่งด่วนภายใน 7วัน โดยที่ประชุมได้เห็นชอบร่วมกันในมาตรการช่วยเหลือชาวสวนยาง ดังนี้ 1.โครงการเสริมความเข้มแข็งของเกษตรกรชาวสวนยาง โดยให้ กยท.ไปพิจารณาจำนวนเงินสนับสนุน โดยมีเงื่อนไขต้องเป็นเกษตรกรที่ลงทะเบียนไว้กับ กยท. เบื้องต้นไม่ต่ำกว่าเดิมคือ 15 ไร่ ไร่ละ 1,500 บาทเพื่อพัฒนาอาชีพและเพิ่มรายได้ให้ชาวสวนยาง 2. โครงการรักษาเสถียรภาพราคายาง โดย กยท.กำหนดราคายางขั้นต่ำ 3 ชนิด ได้แก่ น้ำยางสด ไม่ต่ำกว่า กก. ละ 37 บาท ยางก้อนถ้วยไม่ต่ำกว่า กก.ละ 35 บาท และยางแผ่นรมควัน ไม่ต่ำกกว่า กก.ละ 40 บาท หากขายให้สถาบันเกษตรกรแล้วได้ราคาต่ำกว่าที่ประกาศไว้ ให้ใช้เงินจากกองทุนสงเคราะห์สวนยางช่วยเหลือรายบุคคล กก.ละ 2-3 บาท นอกจากนี้ บริษัทผู้ส่งออกได้แสดงความจำนงให้ความร่วมมือ โดยช่วงระหว่างรอ ครม.พิจารณาโครงการฯ จะช่วยรับซื้อยางเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายางไม่ให้ต่ำกว่าราคาที่กำหนด โดยจะเริ่มตั้งแต่พรุ่งนี้เป็นต้นไป และ 3. ทบทวนข้อกฎหมายการจัดซื้อจัดจ้างในการส่งเสริมการใช้ยางในประเทศ เพื่อทำถนน เนื่องจากเมื่อเปรียบเทียบราคากันกับแอสฟัลท์ติกแล้วยางพารามีราคาสูงกว่า แต่คงทนมากกว่า

"กระทรวงเกษตรฯ เตรียมเสนอนายกรัฐมนตรีให้เห็นชอบอีกแนวทางคือ ให้กยท.เป็นผู้ดูแลการผลิตเครื่องอุปกรณ์การนอนให้กับส่วนราชการ อาทิ โรงพยาบาล โรงเรียน ซึ่งขณะนี้กำลังสำรวจจำนวนความต้องการจากกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงกลาโหม จากนั้นมอบหมาย กยท.ติดต่อซื้อน้ำยางสดมาผลิตแจกจ่ายให้ทั้ง 4 หน่วย เพื่อช่วยดูดซับปริมาณยางในประเทศได้" รมว.เกษตรฯกล่าว

ทั้งนี้ ประเทศไทยผลิตยางพาราได้ปีละ 4.5 ล้านตัน ซึ่งในจำนวนนี้ใช้ในประเทศ 5แสนตัน และส่งออก 4 ล้านตัน ประกอบกับปัจจุบันกำลังประสบภาวะเศรษฐกิจ บางประเทศมีปัญหาการค้า ทำให้การส่งออกยางพาราไม่สามารถส่งออกได้มาก ดังนั้นต้องขยายฐานการแปรรูปการใช้ยางพาราในประเทศ จึงได้เชิญบริษัทผู้ประกอบการยางเข้ามาเจรจา ขอให้ขยายฐานการผลิตและแปรรูปน้ำยางในไทยโดยตรง ตลอดจนขอความร่วมมือกับเกษตรกรให้ลดปริมาณการปลูกยางไปปลูกพืชตัวอื่นอีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO