รมช.ลักษณ์ นำทีมตรวจเยี่ยมโครงการส่งเสริมการใช้ยางพาราในหน่วยงานภาครัฐ ณ จังหวัดนครพนม

พฤหัส ๑๕ พฤศจิกายน ๒๐๑๘ ๑๖:๓๖
นายลักษณ์ วจนานวัช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายสุพัฒน์ เอี้ยวฉาย ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตรวจเยี่ยมโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ตามแผนงานยุทธศาสตร์ปฏิรูปโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร โครงการส่งเสริมการใช้ยางพาราในหน่วยงานภาครัฐ ณ จังหวัดนครพนม โดยตรวจเยี่ยมการปรับปรุงถนนราดยางคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวา โดยใช้พาราซอยซีเมนต์ วิธีการทำงานแบบ Recycling ณ อ่างเก็บน้ำห้วยแคน ต.หนองฮี อ.ปลาปาก จ.นครพนม และตรวจเยี่ยมการปรับปรุงถนนลาดยางทำนบดิน อ่างเก็บน้ำห้วยกกคูณ ณ อ่างเก็บน้ำห้วยกกคูณ ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักงานชลประทานที่ 7 ได้รับจัดสรรงบประมาณเพื่อนำมาใช้ในโครงการส่งเสริมการใช้ยางพาราในหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 51 รายการ เช่น การปรับปรุงถนนราดยางบนคันคลองส่งน้ำของโครงการชลประทาน และการปรับปรุงถนนราดยางทำนบดินอ่างเก็บน้ำ เป็นต้น

ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2561 การดำเนินงานของสำนักงานชลประทานที่ 7 สามารถนำยางพารามาใช้ในโครงการฯ ได้ จำนวน 702 ตัน ระยะทาง 148,979 เมตร แบ่งเป็น นครพนม จำนวน 13 รายการ ปริมาณยาง 288.92 ตัน อุบลราชธานี จำนวน 25 รายการ ปริมาณยาง 321.05 ตัน ยโสธร จำนวน 11 รายการ ปริมาณยาง 28.03 ตัน อำนาจเจริญ จำนวน 1 รายการ ปริมาณยาง 50 ตัน และสกลนคร จำนวน 1 รายการ ปริมาณยาง 14 ตัน และในปีงบประมาณ 2562 มีแผนการนำยางพารามาใช้ในการดำเนินงานอีก 2,769.90 ตัน

สำหรับโครงการส่งเสริมการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐของกรมชลประทาน ในปีงบประมาณ 2561 มีจำนวน 317 รายการ ระยะทาง 999.656 กิโลเมตร มีการใช้ยางพารา 3,509.50 ตัน และพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2562 มีแผนการนำยางพารามาใช้ในการดำเนินงาน จำนวน 569 รายการ ระยะทาง 2,094.494 กม. โดยใช้ยางพารา จำนวน 30,521.42 ตัน

อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมชลประทาน ได้มีการนำยางพารามาใช้ได้อย่างเหมาะสมกับการใช้ยางในประเทศ รวมถึงการดำเนินงานต่าง ๆ ตรงตามมาตรฐานและระเบียบของกรมทางหลวง ซึ่งคาดว่าจะมีการขยายผลการใช้งานถนนพาราซอยซีเมนต์ และส่งเสริมการใช้ยางพาราภายในประเทศต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ จากการพูดคุยกับชาวบ้านในพื้นที่ พบว่าชาวบ้านรู้สึกพอใจที่ภาครัฐได้มีการนำยางพารามาใช้เป็นส่วนผสมในการทำถนน และเห็นว่าพื้นถนนมีความแข็งแรง คงทน อีกทั้งยังช่วยลดปริมาณฝุ่นละอองในอากาศเมื่อเทียบกับถนนลูกรังธรรมดา จึงอยากให้ภาครัฐเข้ามาช่วยสนับสนุนให้มีการนำยางพารามาใช้ทำถนนของหมู่บ้าน ซึ่งนอกจากจะช่วยในเรื่องคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแล้ว ยังเป็นเป็นการช่วยสนับสนุนการใช้ยางพาราในประเทศอีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๓:๕๑ กสิกรไทย คว้า 6 รางวัล จากงาน TMA Excellence Awards 2024
๑๑:๓๗ บลจ. เอ็กซ์สปริง ผนึกกำลังพันธมิตรระดับโลก GlobalData TS Lombard ยกระดับข้อมูลการลงทุนให้กับลูกค้า ติดอาวุธครบทุกมิติ
๑๑:๒๘ เคนยากุจัดประชุมแผนกลยุทธ์ประจำปี 2568
๑๑:๔๙ ASIMAR ส่งมอบ เรือพิทักษ์ธารา สนับสนุนกรุงเทพมหานคร เดินหน้าแก้ปัญหาขยะในคลองอย่างยั่งยืน
๑๑:๑๒ LE ส่งซิก Q4 โตต่อเนื่องมีแรงส่งยาวไปถึงปี 68 ล่าสุด ชนะประมูลงานโคมไฟถนน LED 60,000 ชุด จากการไฟฟ้านครหลวง
๑๑:๒๕ UMI DEEPTECH ส่งผลิตภัณฑ์น้องใหม่โฟมล้างหน้า Radiant GABA Renewal Cleanser สูตรช่วยลดการอุดตันในรูขุมขนโดยวิจัยและพัฒนาร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๑๑:๓๗ ซินเน็คฯ ร่วมกับ RAZER จัดกิจกรรมสุดเอ็กซ์คลูซีฟ ยกระดับประสบการณ์เกมมิ่งในงาน RAZER FANMEET 2024
๑๑:๕๗ วี ธนาศิวณัฐ แชมป์ Honda One Make Race 2024 สร้างชื่อนักแข่งไทย คว้ารองชนะเลิศรายการ ซูเปอร์ ไทคิว สนามสุดท้ายที่ญี่ปุ่น
๑๑:๔๗ 'สสจ.นครพนม' กวาด 16 รางวัล ร่วมเปิด 'มหกรรมวิชาการ 1 ทศวรรษ ศูนย์อนามัยที่ 8 อุดรธานี สิ่งแวดล้อมดีสุขภาพดี
๑๑:๒๔ วว. ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง Research consortium: Probiotics ผลักดันงานวิจัยโพรไบโอติกไทยสู่อุตสาหกรรม