"ล่าสุด เพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมของคนไทยที่มีอัตราการใช้งาน Smart Phone ที่ Support 4G มากขึ้น และการใช้งาน Data เพิ่มขึ้นกว่า 70% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว หรือ ประมาณ 10 กิกะไบต์ต่อคนต่อเดือน เราจึงได้มีความร่วมมือเป็นพันธมิตรกับ TOT ในการ ใช้โครงข่ายร่วม บนความถี่ 2100 MHz เพื่อเริ่มนำมาให้บริการ 4G เพิ่มเติม ซึ่งจะมอบประสบการณ์คุณภาพให้แก่การใช้งาน Data ในภาพรวมให้มีความเร็วเพิ่มขึ้น 20-30% สามารถรองรับการใช้งานเพิ่มขึ้นถึง 25% ซึ่งเมื่อเทียบกับผู้ให้บริการรายอื่นแล้ว เอไอเอสจึงเป็นผู้นำเครือข่ายในประเทศที่มีคลื่นความถี่เพื่อให้บริการ 4G มากที่สุด จำนวน 100 MHz จากจำนวนความถี่ทั้งหมด 120 MHz ที่เอไอเอส สามารถนำมาใช้งานได้ โดยการพัฒนาดังกล่าว จะทยอยเริ่มต้นในพื้นที่ซึ่งมีการใช้งานหนาแน่นก่อน"
นายวสิษฐ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า "นอกจากการพัฒนาเครือข่ายปัจจุบันข้างต้นแล้ว เรายังอยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อเตรียมรองรับเทคโนโลยีในอนาคตเช่น 5G อย่างต่อเนื่อง เพราะแม้ว่าจะยังไม่มี business case ที่ชัดเจน แต่ก็เชื่อว่า 5G จะช่วยยกระดับขีดความสามารถของอุตสาหกรรมต่างๆ ที่จะร่วมขับเคลื่อนประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพจากคุณสมบัติ 3 ส่วน
ยกระดับความเร็วการใช้ดาต้า (Enhanced Mobile Broadband-EMBB) เน้น "ความเร็ว(Speed)"
ขยายขีดความสามารถการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่ออุปกรณ์ (Massive machine type communications-mMTC) เน้น สนับสนุน IoT ที่จะถูกนำมาใช้อย่างมหาศาล
เพิ่มคุณภาพเครือข่ายให้สามารถตอบสนองได้รวดเร็วและเสถียรที่สุด (Ultra-reliable and low latency communications) เน้น ประสิทธิภาพความเร็วในการตอบสนอง หรือ Low Latency ที่จะตอบโจทย์รูปแบบการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางการแพทย์ หรือ อุตสาหกรรมยานยนต์อย่าง Self Driving Car อย่างมีประสิทธิภาพ
"เอไอเอสจึงเตรียมวางรากฐานเครือข่ายในทั้ง 3 แกนมาอย่างต่อเนื่อง อย่างในแกน Speed ได้เปิดตัว 4.5G ที่เร็วระดับกิกะบิท และ เปิดตัว Massive MIMO 32T 32R ครั้งแรกในโลก รวมถึงการเปิดให้บริการ NEXT G พร้อมผนึกกำลังพาร์ทเนอร์ผู้ผลิตชิปและสมาร์ทโฟน ให้ลูกค้าได้สัมผัสประสบการณ์เร็วแรงระดับกิกะบิทครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนในแกน IoT นอกจากการพัฒนาเครือข่ายทั้ง NB IoT และ EMTC แล้ว ยังเป็นรายแรกในไทยที่เปิดให้บริการ IoT เชิงพาณิชย์อีกด้วย ส่วนในแกน การตอบสนอง หรือ Latency เอไอเอสก็ได้เริ่มศึกษาและเป็นรายแรกที่เริ่มต้นปรับโครงสร้างเครือข่ายหลักที่กระจายอยู่ในแต่ละภูมิภาค (AIS Core Network Architecture Ready for 5G) ให้สามารถสื่อสารตรงไปยังเซิร์ฟเวอร์บริการต่างๆได้ทันที โดยไม่ต้องย้อนกลับมาผ่านศูนย์กลางเครือข่ายในส่วนกลาง ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลให้อัตราการตอบสนองได้เร็วขึ้น เพราะค่า Latency ต่ำ ทำให้เมื่อประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมต่างๆ แล้วจะได้ประสิทธิภาพสูงสุด"
นายวสิษฐ์ ย้ำตอนท้ายว่า "ดังนั้นหลังจากที่ กสทช. อนุญาตให้นำคลื่นความถี่เพื่อทดลอง ทดสอบ เทคโนโลยี 5G เอไอเอสก็พร้อมที่จะนำประสบการณ์ความเร็ว แรง ของ 5G มาให้คนไทยได้สัมผัส ภายในเดือนพฤศจิกายน ศกนี้ เพื่อให้เห็นภาพประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นอย่างชัดเจนต่อไป