หลังจากนั้นที่ประชุมเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ได้พิจารณาและรับรองหลักสูตรอาชีวะของรัฐบาลอังกฤษคือ BTEC ให้เป็นหลักสูตรแรกนำร่อง เพราะมีความพร้อมและมีโครงสร้างที่มีความยืดหยุ่นและมีจำนวนวิชาที่จะสร้างสมรรถนะในการทำงานได้ถึง 5,000 กว่าวิชาในทุกอุตสาหกรรมวิศวะยานยนต์การบิน บริการด้านโรงแรม การกีฬาและ เกษตรกรรมในระดับต่างๆตั้งแต่มัธยมต้น ปลายและอุดมศึกษาถึงปริญญาตรีและโท ซึ่งทางประธานสภานายจ้างคือประธานสภาอุตสาหกรรม ประธานสภาหอการค้าได้มาหารือกับท่านรมว. และได้ตกลงที่จะไปลงนามในสัญญาสี่ฝ่ายซึ่งได้กำหนดไว้ในวันที่ 21พฤศจิกายนนี้ที่กรุงลอนดอน
นอกจากนั้นรัฐมนตรีฯ ยังได้รับความร่วมมือจากด้านผู้สอนคือมหาวิทยาลัยราชมงคล ทั้ง 9 แห่ง 34 สาขาและสถาบันวิทยาลัยอาชีวะ 23 แห่งต่างสนใจที่จะคัดเลือกครูอาจารย์ที่มีความพร้อมและสนใจในการสอนรูปแบบใหม่ที่ไม่มีการท่องและไม่มีการสอบแต่เน้นการเรียนรู้จากกรณีศึกษาจากการแก้ไขปัญหาจริงโดยมีการควบคุมคุณภาพจากผู้ตรวจจาก Pearson ประเทศอังกฤษในการสอนและการประเมินผลและการให้คะแนน
ดร.วีระชัย เตชะวิจิตร์ ในฐานะกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาอาชีวะไทยสู่สากล และเป็นประธานวิทยาลัยนานาชาติรีเจันท์วิทยาลัยอาชีวะแห่งเดียวที่ได้รับอนุญาตให้เปิดสอน BTEC มานานกว่าสองปี จึงได้รับมอบหมายให้เป็นผู้บรรยายนโยบายการพัฒนาอาชีวะไทยสู่สากลนี้ให้ผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวะของรัฐและเอกชนทั้ง 913 แห่งฟังเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ในที่ประชุมใหญ่จัดโดยสำนักงานการอาชีวะศึกษา
วิทยาลัยใดสอนเป็นภาษาอังกฤษได้ก็จะได้ใบ certificates หรือ diplomas เป็น International qualifications สามารถไปทำงานได้ทั่วโลกใน 75 ประเทศ
แต่ถ้าเรียนเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หรือภาษาไทยล้วนๆ ก็จะได้ Local qualifications ซึ่งก็จะเหมาะที่จะทำงานเงินเดือนดีๆ แต่ในประเทศไทยเท่านั้น