เซียนหุ้นส่อง GUNKUL ปี’62 สดใส อานิสงส์โรงไฟฟ้าพลังลมผลิตเต็มปี -โซลาร์ฟาร์มญี่ปุ่นเดินเครื่องผลิต เชียร์ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 5 บ.

อังคาร ๒๐ พฤศจิกายน ๒๐๑๘ ๐๙:๒๘
กูรูหุ้นจาก บล. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ แนะนำ "ซื้อ" หุ้น บมจ. กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง (GUNKUL) ประเมินธุรกิจปี'62 สดใส ได้รับแรงหนุนจากโรงไฟฟ้าพลังงานลมที่ผลิตได้เต็มปี บวกกับโซลาร์ฟาร์มที่ประเทศญี่ปุ่นเริ่มผลิตในไตรมาส4/61-ไตรมาส1/62 ขณะที่ธุรกิจก่อสร้างฟื้นตัว ชี้เป้าราคาพื้นฐานไว้ที่ 5 บาท

บริษัทหลักทรัพย์ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) เผยแพร่บทวิเคราะห์ แนะนำ "ซื้อ" หุ้นบริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) (GUNKUL) เพื่อการลงทุนในระยะยาว โดยมีปัจจัยหนุน คือ กำไรปี 2561-2562 เติบโตสูง,โรงไฟฟ้าพลังงานลมในประเทศไทยจะสร้างกำไรให้เติบโตต่อเนื่องและมั่นคงในระยะยาว, มีโอกาสชนะประมูลโครงการเคเบิ้ลใต้ทะเล และ/หรือวางสายไฟฟ้าลงใต้ดิน ซึ่งคาดว่าจะเปิดประมูลในไตรมาส 4/2561 – ไตรมาส 1/2562 ขณะเดียวกันราคาหุ้นยังมี Upside gain ถึง +62% จากราคาเป้าหมาย 5 บาท (SOTP) เทียบเท่า 19F P/B = 3.5 เท่า ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 4 ปีที่ 4.5 เท่า

ทั้งนี้ทางฝ่ายประเมินปี 2562 กำไรจะเติบโตต่อเนื่อง จากการรับรู้กำไรเต็มปีของโรงไฟฟ้าพลังงานลมทั้ง 3 โครงการ กำลังการผลิตรวม 170 เมกะวัตต์ (WED+GNP+KWE=60+60+50 MW) และโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ประเทศญี่ปุ่น จำนวน 2 โครงการ (Sendai,Kimitsu) ขนาด 31.8+33.5=65.3 เมกะวัตต์ (78.5 เมกะวัตต์ติดตั้ง) โดยโซลาร์ฟาร์ม เซนได (GK Sendai) ได้เริ่มผลิตแล้วเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2561 ส่วนโซลาร์ฟาร์ม คิมิสึ จะเริ่มผลิตในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 และรายได้ของธุรกิจก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น จากการซื้อกิจการ FEC ทำให้บริษทสามารถเข้าร่วมประมูลโครงการขนาดใหญ่ทั้งภาครัฐและเอกชนได้ โดยคาดว่าจะเปิดประมูลในไตรมาส4/2561-ไตรมาส1/2562

อย่างไรก็ตาม บทวิเคราะห์ของ บล. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ คาดว่ากำไรปี 2561 จะเท่ากับ 1,014 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 60% และขยับขึ้นเป็น 1,161 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 14% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา (YoY) ซึ่งบริษัทได้รายงานผลประกอบการงวดไตรมาส 3/2561 สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีกำไรสุทธิ 716 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 835% เมื่อเทียบกับปีทีผ่านมา และเพิ่มขึ้น 492% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา สาเหตุหลักมาจาก รายได้ค่าไฟฟ้าและส่วนเพิ่มค่าไฟฟ้า เพิ่มขึ้น 211% เมือเทียบกับปีที่ผ่าน และเพิ่มขึ้น 113% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา เป็น 1,134 ล้านบาท โดยได้แรงหนุนจากรายได้ของโรงไฟฟ้าพลังงานลมผลิตครบทั้ง 3 โครงการ (170 เมกะวัตต์) ในไตรมาส3/2561 ซึ่งเป็นช่วงที่มีกระแสลมแรง ทำให้มีปริมาณแรงลมสูงต่อเนื่อง ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้น(Gross Profit Margin:GPM) สูงขึ้นเป็น 57% ตามการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนรายได้จากโรงไฟฟ้าพลังงานลมที่มีอัตรากำไรสูง บวกกับ GPM ของธุรกิจก่อสร้างเพิ่มเป็น 35% ในไตรมาส3/2561 จากไตรมาส3/2560 และ ไตรมาส2/2561 ที่ 14% และ 29% ทำให้งวด 9 เดือน ของปี61 มีกำไรปกติอยู่ที่ 867 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 730 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 96% เมื่อเทียบกับปีทีผ่านมา

สำหรับเป้าหมายในระยะยาว การเติบโตของกำไรมาจากธุรกิจพลังงานทดแทน โดยบริษัท ตั้งเป้าหมาย 1,000 เมกะวัตต์ภายในปี 2563 ปัจจุบันมีโครงการในมือ 546.1 เมกะวัตต์ ประกอบด้วยโรงไฟฟ้าที่เปิดผลิตแล้ว 282.7 เมกะวัตต์ ณ ไตรมาส2/2561 และคาดหวังว่าจะได้โครงการใหม่ราว 454 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น โครงการ Private PPA ในประเทศไทย ปัจจุบันมีโครงการติดตั้ง Solar rooftop ให้กับกลุ่ม CP ระยะที่ 1 กำลังการผลิต 40 เมกะวัตต์ มูลค่า 1.4 พันล้านบาท คาดว่าจะเริ่มผลิตในต้นปี 62 และในต่างประเทศ (300 เมกะวัตต์) มุ่งเน้นที่ประเทศญี่ปุ่นและประเทศใน AEC (มาเลเซีย เวียดนาม พม่า)

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ