"กรมวิทย์" จับมือเอกชนวิจัย มอสด๊อบ ทีบี (MOSDOP TB) กำจัดยุง

อังคาร ๒๐ พฤศจิกายน ๒๐๑๘ ๑๕:๒๓
ปัญหาโรคระบาดที่เกิดจากยุงลาย กลายเป็นปัญหาด้านระบาดวิทยาระดับโลก ซึ่ง ผลงานนวัตกรรมป้องกันกำจัดลูกน้ำยุงชนิดเม็ดจากสารไดฟลูเบนซูรอน ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับการประกาศในบัญชีนวัตกรรมไทย ฉบับเพิ่มเติมเดือนตุลาคม 2561

ล่าสุด ผู้สื่อข่าวเว็บไซต์เมดฮับนิวส์ดอทคอม (MEDHUBNEWS.COM) และ เพจ sasook รายงานว่า นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึง ท่านปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย กำหนดนโยบายที่จะใช้ความรู้วิทยาศาสตร์นวัตกรรมมาแก้ปัญหาโรคติดต่อสำคัญของประเทศ

เช่น ไข้เลือดออก ได้มอบหมายให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ร่วมวิจัยกับภาคเอกชนไทย คือ บริษัท โปรเจ็คฟิลด์ จำกัด พัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ป้องกันกำจัดลูกน้ำยุงชนิดเม็ด มอสด๊อบ ทีบี (MOSDOP TB)

โดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากโครงการ ITAP กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จนได้รับการจดทะเบียนในบัญชีนวัตกรรมไทย และประกาศสู่สาธารณะโดยสำนักงบประมาณ เมื่อเดือนตุลาคม 2561

ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้ดำเนินการภายใต้การสนับสนุนวิชาการในการพัฒนานวัตกรรมโดย นายแพทย์สมชาย แสงกิจพร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข และนายอภิวัฏ ธวัชสิน ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพิษวิทยาและสิ่งแวดล้อม

สำหรับ มอสด๊อบ ทีบี (MOSDOP TB) เป็นผลิตภัณฑ์ป้องกันกำจัดลูกน้ำยุงชนิดเม็ดจากสารไดฟลูเบนซูรอน (diflubenzuron)

ซึ่งเป็นสารที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้ในการกำจัดลูกน้ำยุงโดยออกฤทธิ์ในการยับยั้งการสังเคราะห์สารไคติน (chitin) ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในโครงสร้างผนังลำตัวแมลง ทำให้ลูกน้ำยุงไม่สามารถเจริญเป็นยุงตัวเต็มวัยได้และตายในที่สุด

ทั้งนี้ได้ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพในการกำจัดลูกน้ำยุงลายโดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อใช้ในการป้องกันและควบคุมลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะ 3 โรคที่สำคัญ ได้แก่ ไข้เลือดออก ไข้ซิกา และไข้ชิคุนกุนยา

มอสด๊อบ ทีบี มีอัตราการใช้ 1 เม็ด ต่อ น้ำ 200 ลิตร โดยสารออกฤทธิ์ไดฟลูเบนซูรอน จะค่อยๆ ถูกปลดปล่อยออกมาอย่างช้าๆ ทำให้ป้องกันและกำจัดลูกน้ำยุงลายได้นาน 3 เดือน

ผลการศึกษาวิจัยประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์นี้ ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ ในวารสารวิชาการนานาชาติด้าน สุขภาพ และสาธารณสุขแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

หรือ Southeast Asian Journal of Tropical Medicine and Public Health  (The Southeast Asian journal of tropical medicine and public health 44(5):753-60 - September 2013) และได้รับการขึ้นทะเบียนจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เรียบร้อยแล้ว สิ่งที่สำคัญคือเป็นนวัตกรรมที่คิดค้นโดยคนไทยและมีภาครัฐ ให้การสนับสนุนวิชาการจนพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์จำหน่ายในเชิงพาณิชย์ได้

ทั้งนี้เพื่อเพิ่มโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการควบคุมและกำจัดลูกน้ำยุงลายด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย

จึงได้มีการจัดจำหน่ายโดย บริษัท โปรเจ็คฟิลด์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ริเริ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ดังกล่าว โดยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-791-2999

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๒ เม.ย. แจกจริง! แบรนด์ซุปไก่สกัดส่งมอบรถเทสล่า มูลค่า 1.649 ล้านบาท ให้ผู้โชคดี ในแคมเปญ ดื่มแบรนด์ สแกนเลขในขวด ปี
๐๒ เม.ย. GFC ตอบโจทย์ทุกความปลอดภัยเรื่องอาคาร - ถังแช่แข็งตัวอ่อน เปิดให้บริการสำหรับผู้มีบุตรยากตามปกติครบ 3
๐๒ เม.ย. KJL ลุยภาคใต้! จัดใหญ่สัมมนา 'รวมพลคนไฟฟ้า ON TOUR' ที่ภูเก็ต
๐๒ เม.ย. แว่นท็อปเจริญ จับมือ กรมกำลังพลทหารบก แนะแนวการศึกษาและอาชีพ สร้างโอกาสแก่ทหารกองประจำการและครอบครัว
๐๒ เม.ย. AnyMind Group คว้ารางวัล Gold ในงาน Martech Innovation Awards 2025
๐๒ เม.ย. โชว์พลังดีไซน์ไทยในงาน STYLE Bangkok 2025 รวมแบรนด์ดาวรุ่งจาก Talent Thai และ Designers' Room ที่คุณไม่ควรพลาด
๐๒ เม.ย. ธนาคารกสิกรไทย จัดสัมมนาใหญ่ K WEALTH Forum: เจาะลึก 5 ปัจจัยเปลี่ยนเกมการลงทุนโลก
๐๒ เม.ย. PSP ปิดดีลทุ่ม 409.5 ลบ. ถือหุ้นใน รีไซเคิล เอ็นจิเนียริ่ง (RE) ปักหมุดธุรกิจสู่ศูนย์กลางรีไซเคิลสารเคมีแห่งภูมิภาค
๐๒ เม.ย. กลุ่มซีไอเอ็มบี เปิดรับสมัครสอบชิงทุน CIMB ASEAN Scholarship 2025 ทุนเรียนต่อปริญญาตรี - ปริญญาโท พร้อมโอกาสร่วมงานกับกลุ่มซีไอเอ็มบี
๐๒ เม.ย. ศูนย์การค้าเครือเอ็ม บี เค เปิดพิกัดจุดสรงน้ำพระ เสริมสิริมงคลกับเทศกาล สงกรานต์อิ่มบุญ