ปส.จับมือ IAEA หนุนเครือข่ายเอเชีย เสริมสมรรถนะการประเมินความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสี

จันทร์ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๐๑๘ ๑๕:๕๒
สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) และเครือข่ายความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชีย (ANSN) เป็นเจ้าภาพจัด 2 การประชุมระดับภูมิภาคต่อเนื่อง มุ่งเสริมสมรรถนะการประเมินความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีให้กับประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชีย ตั้งแต่วันที่ 26 - 30 พฤศจิกายน 2561 ณ โรงแรมแคนทารี เบย์ ภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

นางวราภรณ์ วัชรสุรกุล ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ ได้รับมอบหมายจาก นางสาววิไลวรรณ ตันจ้อย รองเลขาธิการสานักงานปรมาณูเพื่อสันติ รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เป็นประธานเปิดงานประชุมระดับภูมิภาค "การเสริมสมรรถนะการประเมินความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสี" (Expert Meeting on How to Develop Capacity Building of Safety Assessment) และการประชุมประจำปีของกลุ่มประเมินความปลอดภัยภายใต้เครือข่าย ANSN (Topical Group on Safety Assessment : SATG) โดยมีผู้แทนจาก IAEA และประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชีย อาทิ บังกลาเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และไทย เข้าร่วมจำนวน 24 คน ตั้งแต่วันที่ 26 - 30 พฤศจิกายน 2561 ณ โรงแรมแคนทารีย์ เบย์ ภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ซึ่งการประชุมครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจาก IAEA ในการส่งผู้เชี่ยวชาญร่วมเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ผ่านกิจกรรมบรรยาย การฝึกปฏิบัติ การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งอภิปรายแนวทางและแผนการดำเนินงานความร่วมมือทางวิชาการด้านการประเมินความปลอดภัยสถานประกอบการทางนิวเคลียร์และรังสีร่วมกับประเทศสมาชิก เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและความพร้อม ในการกำกับดูแลความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีในแต่ละประเทศให้สามารถปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบและประเมินความปลอดภัยตามมาตรฐานสากลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นางวราภรณ์ กล่าวต่อไปว่า ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีการนำพลังงานนิวเคลียร์และรังสีมาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย โดยมีสถานประกอบการทางนิวเคลียร์และรังสีกระจายอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งตลอดระยะเวลากว่า 57 ปีที่ผ่านมา ปส. ให้ความสำคัญในการทำหน้าที่ประเมินและกำกับดูแลให้เกิดความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีต่อผู้ปฏิบัติงาน ประชาชน และสิ่งแวดล้อมภายในประเทศมาอย่างต่อเนื่อง และจะยังคงมุ่งมั่นเดินหน้าควบคุมความปลอดภัยในสถานประกอบการทางนิวเคลียร์และรังสีต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ ปส. เชื่อว่าการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับภูมิภาคในครั้งนี้ นอกจากจะส่งเสริมการบูรณาการและสร้างเครือข่ายความรู้และการทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรในประเทศสมาชิกอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อบุคลากรของไทยในการนำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้ในกำกับดูแลความปลอดภัยของประเทศ โดยเฉพาะในสถานประกอบทางนิวเคลียร์ ได้แก่ เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัยซึ่งใช้สำหรับงานวิจัยและพัฒนาทางนิวเคลียร์และรังสี โดยปัจจุบันประเทศไทยมีเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัยอยู่ 1 เครื่อง และ กำลังจะมีเพิ่มขึ้นอีก 2 เครื่อง ในอนาคตอันใกล้นี้ อันจะนำมาซึ่งประโยชน์ต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศได้อย่างหลากหลาย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองตรวจสอบทางนิวเคลียร์และรังสี โทรศัพท์ 0 2596 7600 ต่อ 1520

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version