"สำหรับคณะที่จะลดจำนวนการรับนักศึกษาลด 5 อันดับแรก ประกอบด้วย คณะศิลปกรรมศาสตร์ลดลง 48% วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย 24% คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ 22% คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 14% และคุรุศาสตร์อุตสาหกรรม 13% การลดจำนวนรับนักศึกษาลงในครั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่ายอดผู้สมัครเข้าเรียนลดลง เพราะแต่ละปีมีตัวเลขเด็กมาสมัครเข้าเรียนกับ มทร.ธัญบุรี เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันก็ไม่ได้หมายความว่านักศึกษาที่รับเข้ามาเรียนก่อนหน้านี้จะไม่ได้คุณภาพ มหาวิทยาลัยเล็งเห็นความสำคัญเรื่องคุณภาพนักศึกษาเป็นเรื่องหลัก และการที่เรายกเลิก 42 หลักสูตร ยิ่งจะทำให้มหาวิทยาลัยสามารถเข้ามาดูแลนักศึกษาได้มากขึ้น คนที่เป็นอาจารย์ก็ได้ลงมือทำงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมกับภาคเอกชนมากขึ้น แต่หาก มทร.ธัญบุรี ยังคงรับนักศึกษาเป็นจำนวนมากก็จะทำให้ภาระงานของอาจารย์มากเกินไป" อธิการบดี มทร.ธัญบุรี กล่าวและว่า ตนยืนยันว่าการลดจำนวนการรับนักศึกษาลงในปีการศึกษาหน้าจะไม่ส่งผลกระทบต่อรายได้ของมหาวิทยาลัย เพราะปัจจุบันรายได้ของ มทร.ธัญบุรี ไม่ได้นำค่าเล่าเรียนมาใช้ในการบริหาร แต่เราได้ส่วนหนึ่งมาจากงานวิจัย การบริการทางวิชาการ การฝึกอบรม และการขายผลงานนวัตกรรม ดังนั้นนักศึกษาจึงไม่ต้องกังวลว่าจะส่งผลกระทบไปถึงเรื่องค่าเล่าเรียน.
- ๒๒ พ.ย. มทร.ล้านนาตั้งเป้าผลิตนักวิจัยหน้าใหม่ หวังของบวิจัยเพิ่ม 30-40%
- ๒๒ พ.ย. คนไทยไม่ทิ้งกัน มทร.ล้านนามอบถุงยังชีพ
- ๒๒ พ.ย. "มทร.ล้านนา" ไม่รอช้าวางแผนแก้ปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5 พื้นที่ภาคเหนือ