ดร.สุวิทย์ฯ กล่าวว่า การปรับเปลี่ยนโครงสร้างครั้งใหญ่จะออกมาเป็น 3 อุตสาหกรรมสำคัญ คือ 1)การไปสู่ เทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือเอไอ(AI) และ เศรษฐกิจข้อมูล (Data Economy) 2)BCG Economy/BCG โมเดล ประกอบด้วย 3 เศรษฐกิจหลัก คือ B Bio Economy ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่า เชื่อมโยงกับ C Circular Economy ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่คำนึงถึงการนำวัสดุต่างๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และทั้ง 2 เศรษฐกิจนี้ อยู่ภายใต้ G Green Economy ระบบเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งมุ่งแก้ไขปัญหามลพิษ เพื่อลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน และ 3)Sharing economy หรือ gig economy แนวคิดนี้สะท้อนถึงความสามารถในการสร้างรายได้ที่มาจากการแลกเปลี่ยนการบริโภคสินค้าหรือบริการที่มีมูลค่าเชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรที่ไม่ได้ใช้แล้วระหว่างบุคคลและกลุ่มคนผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มรูปแบบต่างๆ โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้แนวคิดนี้ได้รับการยอมรับมากขึ้นมาจาก 2 ปัจจัย คือ 1)สภาพเศรษฐกิจที่อ่อนแอภายหลังจากวิกฤติการเงินโลกในปี 2008 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีอัตราการว่างงานสูง และ 2)การเข้าถึงข้อมูลบนเครือข่ายสังคมออนไลน์และการประมวลผลแบบ cloud computing ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้เข้าถึงข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณซึ่งเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการและพฤติกรรมผู้บริโภคได้ดีขึ้น
ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการเก็บและบริหารจัดการข้อมูลหรือที่เรียกกันว่า Big data ทั้งข้อมูลในเชิงเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งหากทำสำเร็จและสามารถบูรณาการกันได้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกันจะทำให้ในอนาคตประเทศไทยจะมี "ระบบการบริหารข้อมูลที่ดี และมีประสิทธิ์ภาพ" มีความ "ถูกต้อง ครบถ้วน โปร่งใส และ ทันต่อการใช้งาน" โอกาสก้าวสู่ Thailand 4.0 ก็จะไม่ไกลเกินเอื้อม